svasdssvasds

ม.เกษตร พบต้นกล้าข้าวสาลี ต้านอนุมูลอิสระได้ผลดี

ม.เกษตร พบต้นกล้าข้าวสาลี ต้านอนุมูลอิสระได้ผลดี

รศ. ดร. วีรชัย พุทธวงศ์ ภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือ อ.อ๊อด ม. เกษตรฯ เผยผลวิจัยล่าสุด ต้นกล้าข้าวสาลี (Wheat grass) พบสารตั้งต้นในการผลิตวิตามินอีและวิตามิน K1 สมบัติต้านอนุมูลอิสระได้ดี

วันพฤหัสบดีที่ 26 มี.ค. 63 ผู้สื่อข่าวได้รับรายงานว่า ห้องปฏิบัติการวิจัยเคมีของสารสกัดธรรมชาติ ของ รศ. ดร. วีรชัย พุทธวงศ์ ภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เปิดเผยผลวิจัยล่าสุดเกี่ยวกับ การศึกษาสารสกัดจากต้นกล้าข้าวสาลี (Wheat grass) เพื่อเพิ่มมูลค่า โดย รศ.ดร. วีรชัย ระบุว่า

Wheat grass หรือ ต้นกล้าข้าวสาลี ซึ่งเป็นต้นอ่อนหรือต้นกล้าที่เจริญมาจากเมล็ดข้าวสาลี มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Triticum aestivum มีสีเขียวเข้ม ในระยะต้น มีสารอาหาร เช่น vitamin แร่ธาตุ และโปรตีน มากกว่าในช่วงที่เป็นเมล็ด โดยต้นกล้าข้าวสาลี สามารถใช้เพื่อการดูแลสุขภาพและพบว่ามีใช้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลากหลายมาก่อนในต่างประเทศ โดยผลของการศึกษาครั้งนี้ พบว่าต้นกล้าข้าวสาลี มีคลอโรฟิลล์สูงถึง 70 % โดยคลอโรฟิลล์มีฤทธิ์ต้านและชะลอการเจริญเติบโตของแบคทีเรียช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น ซึ่งธาตุแม็กนีเซียมในคลอโรฟิลล์ เป็นกลไกหลักในการใช้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับผู้ที่ต้องการธาตุนี้เพิ่มเติมได้ นอกจากนี้จากการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค แก๊สโครมาโทกราฟี-แมสสเปคสเปคโทรมิเตอร์ (Gas Chromatograph-Mass Spectrometer ,GC-MS) พบกรดอะมิโน 17 ชนิด และวิตามิน 13 ชนิด อีกทั้งมีกรดแอบไซซิค (Abscisic) ที่พบได้ในพืชซึ่งมีคุณสมบัติในการต่อต้านมะเร็งอีกด้วย นอกจากนี้ ยังตรวจพบสารสำคัญที่ทำการสกัดด้วยตัวทำละลายเฮกเซน (Hexane) และ เอทานอล (EtOH) ได้แก่ Neophytadiene ซึ่งใช้เป็นยาแก้ปวด (analgesic) ลดไข้ (antipyretic) รวมถึงมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ (anti-inflammatory) ต้านจุลชีพ (antimicrobial) และต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) นอกจากนี้ยังพบ 3,7,11,15-Tetramethylhexadec-2-en-1-yl acetate หรือ Phytol เป็นแอลกอฮอล์แบบ diterpene ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตวิตามินอีและวิตามิน K1 โดย phytol เป็นส่วนประกอบส่วนหางที่มีไฮโดรคาร์บอนสายยาวของคลอโรฟิลล์

ม.เกษตร พบต้นกล้าข้าวสาลี ต้านอนุมูลอิสระได้ผลดี

ขณะที่ ได้นำสารสกัดหยาบของต้นกล้าข้าวสาลี (Wheat grass) ทำการสกัดด้วยตัวทำละลายเฮกเซน (Hexane) และ เอทานอล (EtOH) ทำการตรวจวัดสารต้านอนุมูลอิสระในเชิงปริมาณ ทำได้โดยทำการเตรียมสารละลายมาตรฐานโทรล๊อค (Trolox) ที่ความเข้มข้น 0.390, 0.195, 0.098, 0.049, 0.024  และ 0.012 mg/ml และ ทำการเตรียมสารตัวอย่าง ที่ความเข้มข้น 100, 80, 60, 30, 15, 7.5, 3.75, 1.88, 0.94 และ 0.47 mg/ml ใน absolute ethanol เพื่อทดสอบกับสารละลาย DPPH ที่ความเข้มข้น 2.4 × 10-4 M โดยเมื่อวัดค่าการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น 515 nm จากนั้นนำสารสกัดตัวอย่าง 50 ไมโครลิตร ใส่ใน 96 well-plate และทำการเติม 2.4 × 10-4 M DPPH ลงไป และเก็บในที่มืดเป็นเวลา 30 นาที พบว่า ประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดทั้งสองชนิดโดยวิธี DPPH radical scavenging ability พบว่า ต้นกล้าข้าวสาลี (Wheat grass) ที่ทำการสกัดด้วยเอทานอล ให้ค่าความเข้มข้นของสารสกัดที่สามารถทำให้ความเข้มข้นของ DPPH ลดลงร้อยละ 50 (IC50) เท่ากับ 46.90 mg/mL ซึ่งสามารถต้านได้มากกว่าที่ทำการสกัดด้วย Hexane ที่ให้ค่า IC50 เท่ากับ 104.96 mg/mL ตามลำดับ

ม.เกษตร พบต้นกล้าข้าวสาลี ต้านอนุมูลอิสระได้ผลดี

ม.เกษตร พบต้นกล้าข้าวสาลี ต้านอนุมูลอิสระได้ผลดี

โครงการศึกษาวิจัยต้นกล้าข้าวสาลี (Wheat grass) ในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรและภาคอุตสาหกรรม ในการใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มมูลค่าจากต้นกล้าข้าวสาลี (Wheat grass) ตามลำดับ โดยโครงการวิจัยนี้ ทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้มอบหมายให้ตนเองดำเนินการ หลังจากที่ได้มีความร่วมมือด้านทุนวิจัยกับภาคเอกชนคือของ บริษัทป้อมเพชร 999 ที่ได้ส่งมอบทุนวิจัย ไปเมื่อ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563 ณ บริเวณห้องอธิการบดี อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน มาก่อนหน้านี้ตามลำดับ

ม.เกษตร พบต้นกล้าข้าวสาลี ต้านอนุมูลอิสระได้ผลดี