อนาคตประเทศไทย นวัตกรรมขับเคลื่อนประเทศ ในหัวข้อ Innovation Megatrend 2023 โดย สุวรรณี สิงห์ฤาเดช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซีเมนส์ ประเทศไทย ได้พูดถึงการเปลี่ยนผ่านของนวัตกรรมต่างๆ จนถึงยุคดิจิทัลในปัจจุบัน
อนาคตประเทศไทย นวัตกรรมขับเคลื่อนประเทศ ซึ่งได้มีหัวข้อ Innovation Megatrend 2023 โดย สุวรรณี สิงห์ฤาเดช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซีเมนส์ ประเทศไทย ได้พูดถึงแนวโน้มของนวัตกรรมต่างๆที่จะเข้ามาช่วยขับเคลื่อนประเทศ และมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมอะไรบ้างที่จะเข้ามาช่วยพัฒนาชีวิตคนไทยให้ดียิ่งขึ้น
สุวรรณี สิงห์ฤาเดช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซีเมนส์ ประเทศไทย ได้กล่าวว่า
การเปลี่ยนผ่านของนวัตกรรมต่างๆในอดีต จนปัจจุบันมาเป็นสมาร์ทโฟน และยังนวัตกรรมอื่นๆอีกมากมาย ทำให้ปัจจุบันกลายเป็น 'โลกไร้พรมแดน' เราสามารถซื้อของด้วยนิ้วมือจากที่ไหนก็ได้ทั่วโลก
ซึ่งมีนวัตกรรมอยู่เบื้องหลังและนวัตกรรมเหล่านี้ถูกคิดค้นต่อยอดเพื่อขับเคลื่อน ซึ่งในวันนี้เรื่องสำคัญก็คือเรื่องของนวัตกรรมการขับเคลื่อนพัฒนาประเทศ และการแก้ปัญหาเรื่องความท้าทายหรือแนวโน้มที่เราต้องการในชีวิตประจำวันในโลกยุคใหม่ โดยความท้าทายในวันนี้ ดร.สุวรรณี ได้ลองถามเข้าไปใน ChatGPT ว่า วันนี้ในเรื่องของความท้าทายของโลกเราในวันนี้มีอะไรบ้าง และได้คำตอบดังนี้
1.ภาวะโลกร้อน
2.สภาพแวดล้อม
3.การเมืองระหว่างประเทศ
4.สุขภาพโรคภัย
5.การเปลี่ยนแปลงของโลกเทคโนโลยี
โดยทั้ง 5 ข้อนี้ มีผลต่อชีวิตของผู้คนในการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงาน และนี่คือความท้าทายที่เกิดขึ้นกับพวกเราในปีนี้ ซึ่งในปีข้างหน้าความท้าทายก็อาจจะเปลี่ยนไปจากคำตอบของ ChatGPT
หากจะพูดถึงเทรนด์ที่จะเกิดขึ้นในอาเซียน รวมถึงในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น Sustainablity ซึ่งกลายเป็นหัวข้อหลักสำหรับประเทศเนื่องจากมีการไปเซ็นอนุสัญญากับทาง UN ในตัว COP26
ทำให้ตอนนี้เองก็มีริเริ่มหลายๆเรื่องที่ออกมาจากทางภาครัฐ ซึ่งจะช่วยให้พวกเราสามารถบรรลุเป้าหมายที่ไดเ้ทำสัญญาเอาไว้ ในปี 2050 หรือในการปล่อยแก๊สเรือนกระจกที่เป็น 0 ก็ยังมีภาครัฐและเอกชนสนับสนุนกันในหัวข้อนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ปัจจุบันยังมีความท้าทายในเรื่องของ 'การอพยพโยกย้ายถิ่นฐานของคนที่เข้ามาในเมือง' ซึ่งจะเห็นได้ชัดเนื่องจากคนมักย้ายเข้ามาอยู่ในเมืองที่ให้ความสะดวกสบายกว่าอยู่แล้ว จากสถิติในประเทศไทยปัจจุบันมีผู้คนเข้ามาอยู่ในเมืองสูงถึง 50% ไม่ว่าจะเป็นเมืองหลวงหรือเมืองใหญ่ๆ
ในปี 2050 เราจะมีผู้คนสูงถึง 72% ที่ย้ายเข้ามาอยู่ในเมือง ซึ่งเราต้องเตรียมรับสาธารณูปโภคให้กับคนที่จะอพยพเข้ามาในเมือง
ในส่วนของการเติบโตการผลิตและภาคอุตสาหกรรม อาเซียนเองเป็นภูมิภาคที่มีความเป็นกลางในขณะเดียวก็มีการลงทุนจากนาๆประเทศ ในด้านแรงงานต่างๆ ในปี 2022 มีนักลงทุนเข้ามาในภาคการผลิตยานยนต์หรือชิ้นส่วนๆต่างในปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นจากปีก่อนๆถึง 39%
นวัตกรรมจะเข้ามาช่วยสิ่งที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้ได้อย่างไรบ้าง?
Sustainbility จะต้องมีการใช้ Green Technology เข้ามาช่วย ส่วนใหญ่พลังงานส่วนใหญ่ที่เราใช้อยู่คือฟอสซิล จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงเป็นการใช้พลังงานสะอาด เช่น พลังงานลม ,แสงแดด และน้ำ ซึ่งภาครัฐก็มีวางแผนที่จะส่งเสริมการผลิต Green Power ให้สูงขึ้น 50% ในปี 2050
ซึ่งการผลิต Green Power เป็นแหล่งพลังงานที่มีขนาดเล็กลง และปัจจุบันยังมีการจัดการแหล่งพลังงานที่ไม่เสถียร ยังไม่สามารถควบคุมได้ การบริหารจัดการไฟฟ้าหรือสร้างความเสถียรให้กับระบบจ่ายไฟฟ้า จำเป็นต้องมี 'เครือข่ายอัจฉริยะ' ในการบริหารจัดการพลังงานใหม่นี้ และจะสามารถต่อยอดไปสู่ Green Hydrogen และพัฒนาต่อไปได้อีกมากมาย
ซึ่งยังมีนวัตกรรมของ Green Building คือตึกที่มีความฉลาดที่สามารถกักเก็บพลังงานและแลกเปลี่ยนพลังงานได้ หรือในด้านของรถยนต์ไฟฟ้า (รถ EV) ที่ไม่ผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งในปัจจุบันรถทั่วไปหรือรถสันดาปมีการปล่อยคาร์บอนประมาณ 25% จากมลภาวะทั้งหมด
ดร.สุวรรณี ยังได้ย้อนกลับมาพูดถึงคนอพยพเข้าเมือง ซึ่งควรจะต้องมี Smart City Technology รองรับเนื่องจากคนที่อพยพเข้ามาอยู่ในเมืองคาดหวังถึงชีวิตที่ดีขึ้นความสะดวกสบายที่มากขึ้น
เริ่มจากสาธารณูปโภคที่จะต้องมีในเรื่องของ สัญญาณโทรศัพท์มือถือ, WiFi ซึ่งกลายเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานไปแล้ว หรือความปลอดภัย ไม่ใช่เพียงแค่กล้องวงจรปิด แต่จะต้องมีระบบความปลอดภัยที่สามารถส่งความช่วยเหลือได้ทันที เชื่อมต่อกับโรงพยาบาล , การจราจรต่างๆภายในเมือง สามารถควบคุมได้ทันท่วงที
อีกหนึ่งจุดสำคัญคือส่วนของการเดินทาง ซึ่งถ้าหากว่าเราสามารถจะไปถึงป้ายรถโดยสารหรือสถานีรถไฟฟ้าด้วยการเดินภายใน 10-15 นาที และสามารถดูตารางของรถได้ด้วย การเดินทางภายในเมืองจะอำนวยความสะดวกให้กับคนจำนวนมากได้ และสามารถลดคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ทางอ้อมได้ด้วย
คนที่อพยพเข้ามาในเมืองยังคาดหวังการรักษาพยาบาลหรือการได้พบแพทย์พยาบาล และการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่สามารถให้คำแนะนำได้ใน 24 ชม. ซึ่งนี่เห็นได้ชัดว่าต้องมีเทคโนโลยีที่จะอยู่เบื้องหลัง
ในด้านของการลงทุนทางภาคการผลิตที่สูงขึ้นในอนาคต นวัตกรรมที่จะเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่จะตอบโจทย์คือ Digital Native Plant หากถ้าเราจะสร้างโรงงานในการสร้างโดยใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบคงเป็นเรื่องเก่าไปแล้ว แต่เราจะสร้างโรงงานระบบคู่ขนาน (Digital Twins) ซึ่งสามารถจำลองหรือแทรกรายละเอียดต่างๆ หรือกำหนดสเปคให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงได้หมด
ไม่ว่าจะเป็นสายการผลิต, การทดลองผลิต ซึ่งนี่คือนวัตกรรมอีกนวัตกรรมหนึ่งที่จะช่วยลดการต้นทุนในการออกแบบ การจำลองที่ให้เหมาะสมได้มากที่สุด ซึ่งจะเพิ่มทั้งประสิทธิภาพและลดต้นทุนได้อีกด้วย
นอกจากโรงงานจำลองหรือคู่แฝด (Digital Twins) ยังมีขั้นกว่าของการออกแบบจะทำอย่างไรให้การผลิตมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น คือ 'Industrial Metaverse' เข้ามาต่อยอดใน Digital Twins ซึ่งโลกเสมือนจริงจะทำให้เราสามารถทำโปรเจคต่างๆ และสามารถเดินในโรงงานที่ถูกออกแบบไว้ในโลกเสมือนจริง และยังสามารถเรียกผู้เชี่ยวชาญ อีกสองหรือสามประเทศเข้ามาแก้ปัญหาในโลกเสมือนจริง ด้วยภาพเดียวกันที่ไม่ใช่แค่ 3D
สามารถเชื่อมต่อทุกได้มุมโลกและทุกๆเวลา และการลองแก้ปัญหานั้นๆด้วยการจำลอง ซึ่งเทคโนโลยีนี้เราคงต้องการความเร็วของอินเทอร์เน็ตที่มากกว่า 6G ที่จะทำให้โลกเสมือนจริงเชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์แบบ
และไม่ใช่เฉพาะในส่วนขของโรงงานหรือการผลิต สามารถใช้กันส่วนอื่นๆได้ด้วย เช่น ตึกอาคาร, โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ หรือการคมนาคมต่างๆ เช่น รถไฟฟ้าใต้ดิน ได้อีกด้วย
ดร.สุวรรณี กล่าวเสริมว่า
Metaverse คือหนึ่งในอนาคตที่จะเกิดขึ้น สำหรับนวัตกรรมที่จะขับเคลื่อนประเทศไทย การที่จะนำเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาต่อยอดและพัฒนาประเทศ เพื่อประชากร การขับเลคื่อนในประเทศไทย นวัตกรรมเป็นส่วนหนึ่ง และการนำมาใช้ในถูกวิธีและถูกทาง และทัดเทียมกับทั่วโลกได้