svasdssvasds

รู้จัก เทคโนโลยี กรรไกรตัด DNA หนึ่งในความหวังของผู้ติดเชื้อ HIV

รู้จัก เทคโนโลยี กรรไกรตัด DNA หนึ่งในความหวังของผู้ติดเชื้อ HIV

ทำความรู้จักเทคโนโลยีตัดต่อยีน ‘Crispr’ หรือ เรียกง่ายๆ ว่า กรรไกรตัด DNA หนึ่งในความหวังของผู้ติดเชื้อ HIV ที่ได้รับรางวัลโนเบล เมื่อปี 2020 ซึ่งจะตัดดีเอ็นเอ (DNA) เพื่อเอาชิ้นส่วนที่ "ไม่ดี" ออกหรือทำให้หมดฤทธิ์ได้

SHORT CUT

นักวิทยาศาสตร์ใช้เทคโนโลยีตัดต่อยีน ‘Crispr’ ที่ได้รับรางวัลโนเบล เมื่อปี 2020  ซึ่งจะตัดดีเอ็นเอ (DNA) เพื่อเอาชิ้นส่วนที่ ‘ไม่ดี’ ออกหรือทำให้หมดฤทธิ์ได้ 

นี่อาจจะเรียกว่าเป็น กรรไกรตัด DNA  ซึ่งถืออาจจะเป็น ความหวังของการกำจัดไวรัสในร่างกายให้หมดไปในที่สุด แม้ว่าจะมีกระบวนการอีกมากเพื่อตรวจสอบว่าเทคนิคนี้จะปลอดภัยและมีประสิทธิภาพหรือไม่

ในปัจจุบันยา HIV ที่มีอยู่นั้นสามารถหยุดยั้งไวรัสได้แต่ไม่สามารถกำจัดไวรัสได้

 

ทำความรู้จักเทคโนโลยีตัดต่อยีน ‘Crispr’ หรือ เรียกง่ายๆ ว่า กรรไกรตัด DNA หนึ่งในความหวังของผู้ติดเชื้อ HIV ที่ได้รับรางวัลโนเบล เมื่อปี 2020 ซึ่งจะตัดดีเอ็นเอ (DNA) เพื่อเอาชิ้นส่วนที่ "ไม่ดี" ออกหรือทำให้หมดฤทธิ์ได้

เรื่องราวของประเด็น โรค HIV มีอยู่ในประเทศไทยมาแล้วเป็นเวลานานเกินกว่า 30 ปี ครั้งหนึ่งโรคนี้เคยเป็นโรคที่ทั่วโลกให้ความตระหนัก และขีดเส้นใต้ให้ความสำคัญ เพราะมันเป็นโรคเชื้อไวรัส ที่อาจจะเกาะกินชีวิตให้เสื่อมโทรมและไวรัสจะค่อยๆกัดกินชีวิตลงได้  

• HIV กับ เอดส์ต่างกันอย่างไร?

หลายๆคนอาจจะยังมีข้อสงสัยว่า HIV กับ โรคเอดส์ มีความแตกต่างกันหรือไม่ เพราะเหตุใดเวลาพูดถึงคำคำหนึ่ง และ คำอีกคำจะต้องเข้ามาเกี่ยวกันพันตลอด โดยหากจะแยก 2 คำนี้ออกมาให้เห็นความชัดเจนขึ้น 

HIV : เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่โจมตีเซลล์ในร่างกายของเรา ไวรัสชนิดนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะไปยึดจับและทำลายเม็ดเลือดขาวที่คอยทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันต่างๆ ในร่างกาย ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลง ซึ่งหากปล่อยไว้ไวรัสตัวนี้จะทำให้ป่วยเป็นโรคเอดส์ (AIDS) ได้ในอนาคต

โรคเอดส์ (AIDS) : เป็นระยะสุดท้ายของการติดเชื้อ HIV ซึ่งเกิดจากการปล่อยให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกทำลายไป หรือเรียกว่า “ภูมิคุ้มกันบกพร่อง” ส่งผลให้ร่างกายไม่มีภูมิคุ้มกันเพียงพอที่จะปกป้องร่างกายจากเชื้อโรคภายนอก จึงมีโอกาสติดเชื้อหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้ง่าย เช่น วัณโรค ปอดบวม หรือเชื้อราขึ้นสมอง เป็นต้น และเชื้อจะพัฒนาไปสู่โรคเอดส์ได้ในที่สุด โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 8-10 ปีนับตั้งแต่ได้รับเชื้อ

เทคโนโลยี กรรไกรตัด DNA  แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ รักษาผู้ติดเชื้อ HIV  
 

ทำความรู้จัก เทคโนโลยี กรรไกรตัด DNA 

ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา , นักวิจัยกำลังอยู่ในช่วงเวลาแห่งการทดสอบเทคโนโลยีใหม่ที่ อาจจะกำจัดเชื้อเอชไอวี (HIV) ออกจากร่างกายได้  โดย CRISPR-Cas9 จะทำหน้าที่คล้าย "กรรไกร" เข้าไปตัดดีเอ็นเอ DNA ส่วนที่ไม่ดีออกจากเซลล์ หรือทำให้เอชไอวี หมดฤทธิ์ แต่ตอนนี้ยังอยู่ระหว่างการทดสอบว่าวิธีนี้มีประสิทธิภาพและปลอดภัยต่อร่างกายของมนุษย์จริงหรือไม่

เทคโนโลยีนี้มีชื่อว่า คริสเปอร์-แคสไนน์ (CRISPR-Cas9) ถูกพัฒนาขึ้นในปี 2555 หรือเมื่อปี 2012   โดย ศ.เอ็มมานูเอล ชาร์เพนทิเยร์ ชาวฝรั่งเศส และ ศ.เจนนิเฟอร์ เดาด์นา ชาวอเมริกัน นักชีวเคมีและพันธุศาสตร์ ทั้งคู่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีประจำปี 2020 

หลักการของ  เทคโนโลยี กรรไกรตัด DNA   คือการตัดต่อข้อมูลพันธุกรรมหรือจีโนม โดยใช้คริสเปอร์ ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่สามารถเลียนแบบสารพันธุกรรมในระบบภูมิคุ้มกัน ร่วมกับแคสไนน์ ซึ่งเป็นโปรตีนที่สามารถตัดสาย DNA โดยคริสเปอร์จะทำหน้าที่เป็นตัวนำทางแคสไนน์ ไปยังดีเอ็นเอส่วนที่ไม่ดี เพื่อให้แคสไนน์ตัดสายดีเอ็นเอออกจากเซลล์ หรือทำให้หมดฤทธิ์

เทคโนโลยี กรรไกรตัด DNA กับ ยาต้านไวรัส HIV นั้น มีข้อแตกต่างกันตรงที่  ยาต้านเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (HIV) ที่มีอยู่ในปัจจุบันสามารถหยุดการแพร่กระจายของเชื้อได้ แต่ยังไม่สามารถกำจัดเชื้อออกไปได้หมด แต่กรรไกรตัด DNA นั้น เป็นการตัด ส่วนที่ไม่ดี ออกจากเซลล์

เทคโนโลยี กรรไกรตัด DNA  แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ รักษาผู้ติดเชื้อ HIV

เทคโนโลยีนี้คือการตัดต่อยีนที่มีความแม่นยำสูง ที่ผ่านมา คริสเปอร์-แคสไนน์ (CRISPR-Cas9)  ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางและสามารถรักษาโรคทางพันธุกรรมบางโรคได้แล้ว เช่น โรคธาลัสซีเมีย โรคตาบอดจากพันธุกรรม

แต่ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัมส์ ซึ่งรายงานเรื่องโครงการทดสอบในครั้งนี้ระบุว่าสิ่งที่พวกเขากำลังทำอยู่ในตอนนี้เป็นเพียง "ข้อพิสูจน์ของแนวคิด" เท่านั้น ยังไม่ใช่วิธีการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีในวงกว้าง

ทั้งนี้ ผลการทดสอบเบื้องต้นกับอาสาสมัคร 3 คน ที่ติดเชื้อเอชไอวีและเข้ารับการทดสอบด้วยเทคโนโลยี "คริสเปอร์ - แคสไนน์" มาแล้ว 48 สัปดาห์ พบว่าไม่มีผลข้างเคียงที่ร้ายแรง 

ณ เข็มนาฬิกาปัจจุบัน ผู้ป่วย HIV ส่วนใหญ่ต้องการยาต้านเชื้อไวรัสตลอดชีวิต หากหยุดรับประทานยา เชื้อที่อยู่ในสภาวะแน่นิ่งสามารถตื่นขึ้นอีกครั้งและก่อปัญหาได้

มีผู้ติดเชื้อเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่ได้รับ "การรักษาจนหาย" หลังจากที่พวกเขาเข้ารับการรักษามะเร็งแบบรุนแรงจนกำจัดเซลล์ที่ติดเชื้อบางส่วนออกไป แต่การรักษาแบบนี้ไม่ใช่วิธีการที่แนะนำสำหรับการรักษา HIV

ที่มา bbc paolohospital

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related