svasdssvasds

สหรัฐฯ ตั้งผู้บริหารบิ๊กเทค เป็นกรรมการให้คำแนะนำและรับมือการโจมตีด้วย AI

สหรัฐฯ ตั้งผู้บริหารบิ๊กเทค เป็นกรรมการให้คำแนะนำและรับมือการโจมตีด้วย AI

รัฐบาลสหรัฐฯ มีความพยายามในการจัดการกับผลกระทบจากปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ที่มีต่อความมั่นคงและความปลอดภัย โดยการตั้งคณะกรรมการที่ประกอบด้วยผู้นำจากบริษัท AI ชั้นนำ เพื่อให้คำแนะนำในประเด็นสำคัญๆ

SHORT CUT

  • สหรัฐฯ ตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย AI ประกอบด้วยผู้นำจากบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ ผู้เชี่ยวชาญหลายสาขา และเจ้าหน้าที่รัฐ 
  • คณะกรรมการจะมุ่งเน้นแนวทางปฏิบัติในการนำ AI มาใช้อย่างปลอดภัยในอุตสาหกรรมสำคัญ เพื่อป้องกันผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ
  • การจัดตั้งคณะกรรมการนี้เป็นผลมาจากคำสั่งของประธานาธิบดี โจ ไบเดน ในปี 2023 เพื่อรับมือภาวะวิกฤติ

รัฐบาลสหรัฐฯ มีความพยายามในการจัดการกับผลกระทบจากปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ที่มีต่อความมั่นคงและความปลอดภัย โดยการตั้งคณะกรรมการที่ประกอบด้วยผู้นำจากบริษัท AI ชั้นนำ เพื่อให้คำแนะนำในประเด็นสำคัญๆ

กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิของสหรัฐฯ ประกาศว่าคณะกรรมการที่ปรึกษาแนะนำวิธีป้องกันการโจมตีด้วยปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ที่กำลังจัดตั้งขึ้นใหม่นี้ จะประกอบด้วยผู้นำระดับสูงจากบริษัทเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้แก่

  1. ซุนดาร์ พิชาย (Sundar Pichai) ซีอีโอของ Google
  2. ซัตยา นาเดลลา (Satya Nadella) ซีอีโอของ Microsoft
  3. แซม อัลท์แมน (Sam Altman) ซีอีโอของ OpenAI

นอกจากนี้ยังมีผู้บริหารจากบริษัทคู่สัญญาด้านกลาโหม เช่น Northrop Grumman และสายการบิน Delta Air Lines ร่วมอยู่ในคณะกรรมการชุดนี้ด้วย 

สหรัฐฯ ตั้งผู้บริหารบิ๊กเทค เป็นกรรมการให้คำแนะนำและรับมือการโจมตีด้วย AI

โดยคณะกรรมการชุดนี้ จะจัดทำคำแนะนำสำหรับภาคการขนส่ง ผู้ให้บริการท่อส่งและโครงข่ายไฟฟ้า ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ระบบสาธารณูปโภค และอื่นๆ

เพื่อป้องกันและเตรียมความพร้อมรับมือกับการหยุดชะงักที่เกี่ยวข้องกับ AI ในบริการที่มีความสำคัญต่อประเทศ ซึ่งอาจส่งผลกระทบในวงกว้างต่อความมั่นคง เศรษฐกิจ สาธารณสุข และความปลอดภัยของประชาชน

สหรัฐฯ ตั้งผู้บริหารบิ๊กเทค เป็นกรรมการให้คำแนะนำและรับมือการโจมตีด้วย AI

Alejandro Mayorkas รัฐมนตรีกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า คณะกรรมการจะช่วยรับประกันการนำเทคโนโลยี AI ไปใช้อย่างปลอดภัย และวิธีจัดการกับภัยคุกคามที่เกิดจากเทคโนโลยีนี้ต่อบริการที่สำคัญ เช่น พลังงาน สาธารณูปโภค การขนส่ง การป้องกัน เทคโนโลยีสารสนเทศ อาหารและการเกษตร และบริการทางการเงิน

“คณะกรรมการจะไม่ได้มุ่งเน้นไปที่ทฤษฎี แต่เป็นแนวทางการแก้ปัญหาเชิงปฏิบัติสำหรับการนำ AI ไปใช้ในชีวิตประจำวันของประเทศ การนำนักพัฒนาที่มีความสำคัญของเครื่องมืออันทรงพลังอย่าง AI มาร่วมงานเป็นสิ่งสำคัญและตรงจุดอย่างมาก"

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมืออย่างใกล้ชิดของรัฐบาลสหรัฐฯ กับภาคเอกชน ในขณะที่กำลังเร่งจัดการกับทั้งความเสี่ยงและประโยชน์ของ AI ในกรณีที่ไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับ AI ที่ชัดเจน

สหรัฐฯ ตั้งผู้บริหารบิ๊กเทค เป็นกรรมการให้คำแนะนำและรับมือการโจมตีด้วย AI

นอกจากผู้นำจากบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่แล้ว คณะกรรมการความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย AI ยังประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากภาคส่วนที่หลากหลาย ซึ่งจะช่วยให้สามารถพิจารณาประเด็นด้าน AI ได้อย่างรอบด้าน ทั้งในแง่ของเทคโนโลยี ผลกระทบต่อสังคม กฎหมาย และนโยบายสาธารณะ

  1. ผู้ให้บริการเทคโนโลยี เช่น Amazon Web Services, IBM และ Cisco
  2. ผู้ผลิตชิปอย่าง AMD 
  3. นักพัฒนาโมเดล AI อย่าง Anthropic
  4. กลุ่มสิทธิพลเมือง เช่น คณะกรรมการทนายความเพื่อสิทธิพลเมืองภายใต้กฎหมาย
  5. เจ้าหน้าที่จากรัฐบาลกลาง รัฐ และท้องถิ่น
  6. นักวิชาการชั้นนำด้าน AI อย่าง ศาสตราจารย์ Fei-Fei Li จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

สหรัฐฯ ตั้งผู้บริหารบิ๊กเทค เป็นกรรมการให้คำแนะนำและรับมือการโจมตีด้วย AI

คณะกรรมการความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย AI ที่มีสมาชิก 22 คนจัดตั้งขึ้นตามคำสั่งของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ในปี 2023 ซึ่งเรียกร้องให้องค์กรข้ามอุตสาหกรรมจัดทำ

“คำแนะนำสำหรับการปรับปรุงความปลอดภัย การปรับตัว และการตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานการใช้งาน AI ในภาวะวิกฤติ”

คำสั่งนี้ยังนำไปสู่การสร้างกฎระเบียบทั่วไปสำหรับหน่วยงานรัฐบาลกลาง ในการจัดซื้อและใช้งาน AI ในระบบของตนเองได้ ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลสหรัฐฯ ได้นำ AI และ machine learning ไปใช้งานในกว่า 200 วัตถุประสงค์แล้ว เช่น การติดตามภูเขาไฟ ไฟป่า และการระบุสัตว์ป่า ผ่านภาพถ่ายดาวเทียม

คณะกรรมการชุดนี้มีกำหนดประชุมครั้งแรกในเดือนหน้า และจะประชุมเป็นประจำทุกไตรมาสในอนาคต เพื่อจัดทำและเสนอแนะนโยบายด้าน AI ที่สำคัญต่อประเทศ

ที่มา

related