svasdssvasds

สตาร์ทอัพเยอรมันส่งจรวดใช้เชื้อเพลิง “ขี้ผึ้งเทียนไข” ขึ้นสู่อวกาศสำเร็จ

สตาร์ทอัพเยอรมันส่งจรวดใช้เชื้อเพลิง “ขี้ผึ้งเทียนไข” ขึ้นสู่อวกาศสำเร็จ

พาราฟิน หรือขี้ผึ้งเทียนไข เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการกลั่นปิโตรเลียม ถูกนำมาใช้ประโยชน์หลากหลายตั้งแต่ในอุตสาหกรรม เครื่องสำอาง รวมถึงทำเทียนไข ล่าสุด ถูกนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงจรวดส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศ

SHORT CUT

  • สตาร์ทอัพเยอรมันประสบความสำเร็จในการปล่อยจรวดขับเคลื่อนด้วยพาราฟินขึ้นสู่อวกาศครั้งแรก ซึ่งสามารถบรรทุกดาวเทียมเชิงพาณิชย์เพื่อทดสอบการบินใต้วงโคจร
  • พาราฟินเป็นเชื้อเพลิงจรวดทางเลือกใหม่ที่ถูกและปลอดภัยกว่าเชื้อเพลิงแบบเดิม
  • ช่วยลดต้นทุนการส่งดาวเทียมได้ถึง 50% ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อภารกิจอวกาศและธุรกิจดาวเทียมเชิงพาณิชย์

พาราฟิน หรือขี้ผึ้งเทียนไข เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการกลั่นปิโตรเลียม ถูกนำมาใช้ประโยชน์หลากหลายตั้งแต่ในอุตสาหกรรม เครื่องสำอาง รวมถึงทำเทียนไข ล่าสุด ถูกนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงจรวดส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศ

บริษัทสตาร์ทอัพของเยอรมันชื่อ HyImpulse ได้สร้างประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ เมื่อสามารถปล่อยจรวดที่ขับเคลื่อนด้วยขี้ผึ้งเทียนไข หรือพาราฟิน ขึ้นสู่อวกาศสำเป็นครั้งแรกเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ซึ่งจรวดลำนี้มีความสามารถในการบรรทุกดาวเทียมเชิงพาณิชย์เพื่อทดสอบการบินใต้วงโคจร

มาริโอ โคบอลด์ ผู้บริหารระดับสูงของ HyImpulse ได้กล่าวในแถลงการณ์ว่า "เรากำลังส่งสัญญาณให้เห็นถึงความกล้าหาญของเยอรมนีในฐานะประเทศที่เดินทางในอวกาศและขยายการเข้าถึงอวกาศของยุโรป"

สตาร์ทอัพเยอรมันส่งจรวดใช้เชื้อเพลิง “ขี้ผึ้งเทียนไข” ขึ้นสู่อวกาศสำเร็จ

จรวดทดสอบ"SR75" มีขนาดความยาว 12 เมตร น้ำหนัก 2.5 ตัน ถูกปล่อยขึ้นจากฐานปล่อยจรวดในเมืองคูนิบบา รัฐเซาท์ออสเตรเลีย โดยสามารถบรรทุกดาวเทียมขนาดเล็กน้ำหนัก 250 กิโลกรัม (551 ปอนด์) ไปที่ระดับความสูงสูงสุด 250 กิโลเมตร (155 ไมล์)

ตามข้อมูลของ HyImpulse ระบุว่า การใช้พาราฟินเป็นเชื้อเพลิงทดแทนสำหรับจรวดนั้นมีราคาถูกกว่าและปลอดภัยกว่า ซึ่งสามารถช่วยลดต้นทุนในการขนส่งผ่านดาวเทียมได้สูงถึง 50%

สตาร์ทอัพเยอรมันส่งจรวดใช้เชื้อเพลิง “ขี้ผึ้งเทียนไข” ขึ้นสู่อวกาศสำเร็จ

เชื้อเพลิงจรวด แบ่งได้ 2 ประเภท

1. เชื้อเพลิงแบบแข็ง (Solid propellant)

เป็นเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของสารออกซิไดซ์ เช่น Ammonium nitrate, Ammonium dinitramide, Potassium nitrate ผสมกับผงเชื้อเพลิง เช่น Aluminium, Beryllium, RDX และ HMX เมื่อจุดระเบิดแล้วจะไม่สามารถดับได้ ต้องปล่อยให้เผาไหม้จนหมด

2. เชื้อเพลิงแบบเหลว (Liquid propellant)

เป็นเชื้อเพลิงที่อยู่ในรูปของเหลว ที่นิยมใช้กันได้แก่ น้ำมันก๊าด Kerosene (RP-1), ไฮโดรเจนเหลว และมีเทนเหลว ข้อดีคือสามารถควบคุมการจุดระเบิดและดับเครื่องยนต์ได้

สตาร์ทอัพเยอรมันส่งจรวดใช้เชื้อเพลิง “ขี้ผึ้งเทียนไข” ขึ้นสู่อวกาศสำเร็จ

บริษัท  HyImpulse สตาร์ทอัพด้านอวกาศที่แยกตัวออกมาจากหน่วยงานอวกาศ DLR ของเยอรมนี ปัจจุบันมีพนักงานทั้งหมด 65 คน ได้รับเงินทุนสนับสนุนหลักจากภาคเอกชน ควบคู่ไปกับ "การสนับสนุนจากสาธารณะบางส่วน"

HyImpulse เปิดเผยว่าได้รับคำสั่งจองให้จัดส่งดาวเทียมคิดเป็นมูลค่ากว่า 100 ล้านยูโร (ราว 105 ล้านดอลลาร์) แล้ว โดยทางบริษัทมีแผนที่จะขยายการดำเนินงานเพื่อรองรับความต้องการดาวเทียมเชิงพาณิชย์ที่เพิ่มสูงขึ้น โดยตั้งเป้ายอดขายประจำปีให้แตะระดับ 700 ล้านยูโรภายในปี 2575

สตาร์ทอัพเยอรมันส่งจรวดใช้เชื้อเพลิง “ขี้ผึ้งเทียนไข” ขึ้นสู่อวกาศสำเร็จ

นอกจากนี้ ภายในสิ้นปีหน้า HyImpulse ยังมีแผนเปิดตัว "SL-1" จรวดหลายขั้นตอนขนาดใหญ่กว่าเดิม ซึ่งสามารถส่งดาวเทียมหนักถึง 600 กิโลกรัมขึ้นสู่วงโคจรโลกระดับต่ำได้อีกด้วย

ดังนั้นการค้นพบเชื้อเพลิงจรวดชนิดใหม่อย่างพาราฟินจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะมีต้นทุนต่ำกว่า ปลอดภัยกว่า และอาจนำไปสู่การเข้าถึงอวกาศที่ง่ายขึ้นในอนาคต ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อภารกิจอวกาศและธุรกิจดาวเทียมเชิงพาณิชย์

ที่มา

related