svasdssvasds

ทำความรู้จัก ลำดวน ไม้ประจำชาติกัมพูชา และไม้คู่เมืองศรีสะเกษ

ทำความรู้จัก ลำดวน ไม้ประจำชาติกัมพูชา และไม้คู่เมืองศรีสะเกษ

ทำความรู้จัก ลำดวน ไม้ประจำถิ่นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม้ประจำชาติ จังหวัด สถาบันการศึกษา สัญลักษณ์ของผู้สูงอายุ ฯลฯ อีกทั้งยังถูกกล่าวถึงในวรรณคดีไทยมากมาย และยังมีสรรพคุณทางการแพทย์อีกด้วย

ดอกลำดวน กลายเป็นดราม่าล่าสุด จากภาพและโพสต์โปรโมตภาพยนตร์ “บุพเพสันนิวาส ๒” ในเพจ GDH ที่มีการเอ่ยถึงดอกลำดวน ต่อมาหญิงสาวชาวกัมพูชาก็เข้ามาคอมเม้นต์ประมาณว่า “ลำดวนเป็นไม้ประจำชาติของตน และควรให้เครดิตด้วย ไทยน่าจะโพสต์ดอกคูนมากกว่า เพราะเป็นไม้ประจำชาติของไทย...” จนเกิดการตอบโต้กันไปมา และมีทีท่าว่าจะไม่จบง่ายๆ

ล่าสุดโพสต์ดังกล่าวมีคอมเม้นต์กว่า 1.5 หมื่น แต่สิ่งที่กำลังจะนำเสนอ ไม่ได้ต้องการขยี้ประเด็นข้างต้นให้ร้อนระอุยิ่งขึ้นไปอีก จึงขอนำท่านผู้อ่านไปทำความรู้จักดอกลำดวน ในแง่มุมต่างๆ ที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

ทำความรู้จัก ลำดวน ไม้ประจำชาติกัมพูชา และไม้คู่เมืองศรีสะเกษ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ลำดวน ไม้ประจำถิ่นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม้ประจำประเทศ จังหวัด สถาบันการศึกษา รวมถึงผู้สูงอายุ ฯลฯ

ลำดวน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Melodorum fruticosum Lour. อยู่ในวงศ์ ANNONA-CEAE เช่นเดียวกับนมแมว จึงมีลักษณะหลายอย่างคล้ายคลึงกัน โดยภาษาถิ่นของไทย ภาคกลางและอีสาน เรียกไม้ชนิดนี้ว่า “ลำดวน” ภาษาถิ่นภาคเหนือ เรียกว่า “หอมนวล” ส่วนกัมพูชาเรียกว่า “ผการ็อมดวล”

และด้วยความที่ลำดวนมีดอกที่งดงามและกลิ่นที่หอมเป็นยิ่งนัก พร้อมสรรพคุณต่างๆ มากมาย จึงได้รับการจัดให้เป็นไม้มงคล ที่ไม่เพียงเป็นไม้ประจำชาติกัมพูชาเท่านั้น แต่ยังเป็นไม้มงคลประจำจังหวัดศรีสะเกษ และยังเป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง  มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ อีกด้วย

นอกจากนั้น ดอกลำดวนเป็นยังตราสัญลักษณ์ของคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ อันเนื่องมาจากลำดวนเป็นไม้ยืนต้น อายุยืน เปรียบเสมือนกับผู้สูงอายุที่เป็นที่พึ่งให้ความร่มเย็นแก่ลูกหลาน กลีบของลำดวนมีกลิ่นหอม กลีบแข็งไม่ร่วงง่าย เปรียบกับผู้ทรงคุณธรรมพร้อมไปด้วยวัยวุฒิ คุณวุฒิ และความดีงามเป็นแบบอย่างการประพฤติให้แก่ลูกหลาน

ทำความรู้จัก ลำดวน ไม้ประจำชาติกัมพูชา และไม้คู่เมืองศรีสะเกษ

ลำดวนในวรรณคดีไทย

ในส่วนของวรรคดีไทย ก็ได้มีการกล่าวถึงดอกลำดวนมาอย่างยาวนาน อาทิ ลิลิตพระลอ เป็นต้น ที่คาดกันว่ามีที่มาจากตำนานพื้นเมืองทางภาคเหนือ ก่อนมีการนำมาเรียบเรียงจนกลายเป็นวรรคดีไทยอมตะที่ยังทรงคุณค่าตราบจบทุกวันนี้

ยามไร้เด็ดดอกหญ้า           แซมผม พระเอย

หอมบ่หอมทัดดม                ดั่งบ้า

สุกรมลำดวนชม                   เชยกลิ่น พระเอย

หอมกลิ่นเรียมโอ้อ้า             กลิ่นแก้ว ติดใจ

อีกทั้งดอกลำดวนยังปรากฏในนิราศเมืองแกลง ของสุนทรภู่ มหากวีเอกแห่งยุค ในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ที่รำพึงรำพันถึงหญิงอันเป็นที่รัก ดังต่อไปนี้

เหมือนกลิ่นปรางนางปนสุคนธ์รื่น

คิดถึงคืนเคียงน้องประคองสม

ถอนสะอื้นยืนเด็ดลำดวนดม

พี่นึกชมต่างนางไปกลางไพร

นอกจากนั้นก็มีการกล่าวถึงดอกลำดวนในวรรณคดีอีกมากมาย สะท้อนให้เหนถึงความผูกพันของคนไทยกับลำดวนได้อย่างลึกซึ้ง และคาดว่าน่าจะเป็นไม้ที่ป๊อบปูล่าร์มากๆ เพราะ “ลำดวน” ถือได้ว่าเป็นชื่อยอดฮิตของหญิงไทยในอดีตเลยทีเดียว

ทำความรู้จัก ลำดวน ไม้ประจำชาติกัมพูชา และไม้คู่เมืองศรีสะเกษ

สรรพคุณทางการแพทย์ของดอกลำดวน

ดอกลำดวนแห้ง ถูกจัดให้อยู่ใน พิกัดเกสรทั้งเก้า" ซึ่งเป็นตำรับยาแก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ช่วยชูกำลัง แก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยบำรุงหัวใจ แก้พิษโลหิต แก้ลมวิงเวียน ฯลฯ ซึ่งประกอบไปด้วย

1. เกสรดอกบัวหลวง

2. ดอกกระดังงา

3. ดอกจำปา

4. ดอกพิกุล

5. ดอกบุนนาค

6. ดอกมะลิ

7.ดอกสารภี

8. ดอกลำเจียก

9. ดอกลําดวน

นอกจากนั้นดอกลำดวนก็ยังมีประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย ส่วนในด้านความเชื่อนั้น หากบ้านใดปลูกต้นลำดวนจะช่วยดึงดูดความรัก ช่วยเสริมดวงทางเสน่ห์เมตตา มีแต่คนคิดถึง (ในทางที่ดี) เป็นคนที่น่าจดจำ ใครๆ ก็ไม่อาจลืม

ทำความรู้จัก ลำดวน ไม้ประจำชาติกัมพูชา และไม้คู่เมืองศรีสะเกษ

อ้างอิง

FB : GDH

ลำดวน (Wikipedia)

ตราสัญลักษณ์คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ

ลำดวน : สัญลักษณ์แห่งไม้ใกล้ฝั่ง (หมอชาวบ้าน)

related