กฟผ. ส่งเสริมภาพลักษณ์เวที APEC 2022 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ ด้วยการสนับสนุนคาร์บอนเครดิต 6,000 ตันคาร์บอนจากโรงไฟฟ้ากังหันลมลำตะคอง ชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากเวที APEC
วันนี้ (21 พฤศจิกายน 2565) นายทิเดช เอี่ยมสาย รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า ในช่วงระหว่างการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือ APEC 2022 ครั้งที่ 29 ซึ่งเป็นหนึ่งในเวทีระดับโลกด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้าขาย โดยมีสาระสำคัญในการวางแนวทางให้สมาชิกเขตเศรษฐกิจทั้งหมด ร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน และสร้างความสมดุล รวมถึงการส่งเสริมความมั่นคงด้านอาหาร ความมั่นคงด้านพลังงานร่วมกัน อันจะนำไปสู่สังคมเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ระหว่างวันที่ 18 - 19 พ.ย. 2565 ที่ผ่านมา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
10 คำถามน่ารู้เกี่ยวกับ APEC ไทยได้อะไร? ช่วยเพิ่มการแข่งขันในระยะยาว
นิสสันจับมือกฟผ. นำร่องศึกษาทดลองดึงไฟจากรถอีวีสู่ไฟบ้าน ใช้ยามฉุกเฉิน
กฟผ.อินเตอร์ฯ จับมือเอกชน พัฒนาเครือข่ายการชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะ USA
กฟผ. ในฐานะองค์กรที่มุ่งส่งเสริมการลดก๊าซเรือนกระจกในทุกมิติ ได้มีส่วนช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์อันดีสำหรับความมุ่งมั่นในการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย โดยให้การสนับสนุนกระทรวงการต่างประเทศ ผ่านกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน))
ด้วยการสนับสนุนการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายใต้การจัดประชุม APEC 2022 ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมมากกว่า 2,000 คน จาก 21 ประเทศ โดยใช้คาร์บอนเครดิตจากโครงการโรงไฟฟ้ากังหันลมลำตะคอง ของ กฟผ. ปริมาณ 6,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (คิดเป็นมูลค่า 720,000 บาท)
นอกจากนี้ ยังได้รับการสนับสนุนการทวนสอบปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการจัดประชุม APEC 2022 ดังกล่าว จาก บริษัท บูโรเวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อให้การประชุม APEC 2022 ในครั้งนี้ ได้รับการรับรอง “คาร์บอนนิวทรัลอีเว้นท์” (Carbon Neutral Event) จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)