svasdssvasds

รู้จัก ! "พายุงวงช้าง" เกิดได้อย่างไร ทำอันตรายแค่ไหน ? หลังพัดเรือจม

รู้จัก ! "พายุงวงช้าง" เกิดได้อย่างไร ทำอันตรายแค่ไหน ? หลังพัดเรือจม

หลังจากเกิดปรากฏการณ์ "พายุงวงช้าง" พัดเรือนักท่องเที่ยวจมทะเล จ.เพชรบุรี เมื่อวานนี้ 12 ส.ค.66 วันนี้จะพามารู้จัก ! "พายุงวงช้าง" เกิดได้อย่างไร ทำอันตรายได้แค่ไหน ?

หลังจากเกิดปรากฏการณ์ "พายุงวงช้าง"  เมื่อช่วงเย็นวันที่ 12 ส.ค.66 ที่ผ่านมา โดยพายุดังกล่าวได้สร้างความรุนแรงพาให้เรือของนักท่องเที่ยวลอยจากน้ำและพลิกคว่ำทันที โดยเหตุเกิดที่ปากอ่าวบางตะบูน ต.บางตะบูน อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี ความคืบหน้าล่าสุด ชุดกู้ภัยมูลนิธิสว่างสรรเพชญธรรมสถาน จ.เพชรบุรี รายงานว่า พบศพนักท่องเที่ยวที่เรือถูกพายุงวงช้างพัดจมปากอ่าวบางตะบูนแล้ว 1 ศพ หลังผ่านไปกว่า 16 ชั่วโมง ลอยขึ้นผิวน้ำ

ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ประชาชนหลายคนเริ่มมีความหวาดกลัวพายุงวงช้าง โดยวันนี้ #สปริงนิวส์ จะพาไปทำความรู้จัก ! "พายุงวงช้าง" เกิดได้อย่างไร และมันทำอันตรายได้แค่ไหน?  ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์ (LESA) เปิดเผยข้อมูลว่า พายุลมงวง หรือพายุงวงช้าง เป็นอากาศร้ายรุนแรงที่สุดซึ่งเกิดจากพายุฝนฟ้าคะนอง เมื่อลมร้อนและลมเย็นมาเจอกันและก่อตัวให้เกิดลมหมุนด้วยความเร็วประมาณ 500 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้พายุงวงช้างจึงมีลักษณะการหมุนบิดเป็นเกลียว เป็นลำเหมือนงวงช้างยื่นออกมาจากฐานเมฆคิวมูโลนิมบัส มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 300 เมตร  โดยที่เมฆคิวมูโลนิมบัส 1 ก้อน อาจทำให้เกิดลมงวงได้พร้อมๆ ทีละหลายงวงลม งวงสามารถดึงดูดทุกสิ่งที่อยู่ตามเส้นทางที่พายุเคลื่อนที่ไป พายุลมงวงมักจะเกิดในที่ราบกว้างใหญ่ ถ้าเกิดขึ้นในพื้นที่ราบตอนกลางประเทศสหรัฐอเมริกาเรียกว่า"พายุทอร์นาโด" (Tornado)  ซึ่งแบ่งระดับความรุนแรงตามความเร็วลม 5 ลำดับโดยยึดตาม Fujita scale ดังนี้

  • พายุ F0 ความเร็วลม 64 - 116 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • พายุ F1 ความเร็วลม 117 - 180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • พายุ F2 ความเร็วลม 181 - 253 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • พายุ F3 ความเร็วลม 254 - 332 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • พายุ F4 ความเร็วลม 333 - 418 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • พายุ F5 ความเร็วลม 419 - 512 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

 

อย่างไรก็ตามพายุลมงวงที่เกิดขึ้นในประเทศไทย มีลักษณะเป็นพายุลมงวงขนาดเล็กเกิดขึ้นเหนือพื้นน้ำเรียกว่า "นาคเล่นน้ำ" (Water sprouts) เกิดจากเมฆพายุฝนฟ้าคะนองรุนแรงที่มีฐานเมฆต่ำและมีกระแสอากาศไหลลงรุนแรง จนเกิดเมฆเป็นลำพวยพุ่งลงมาจนใกล้ผิวทะเล และดูดน้ำจนเป็นลำพุ่งขึ้นไปรวมตัวกับก้อนเมฆในอากาศ เช่นเดียวกับพายุทอร์นาโด นาคเล่นน้ำมักเกิดขึ้นหลายๆ งวงพร้อมๆ กันจากฐานเมฆคิวมูโลนิมบัสก้อนเดียวกัน

ซึ่งพายุงวงช้างจะคล้ายกับพายุทอร์นาโด แต่จะมีความแตกต่างที่พายุทอร์นาโด มักเกิดขึ้นเหนือพื้นดินที่ร้อนถึงร้อนจัด ส่วนพายุงวงช้างที่เกิดเหนือพื้นน้ำ ซึ่งมีความรุนแรงน้อยกว่าพายุทอร์นาโดมาก โดยมักเกิดบ่อยบนพื้นน้ำในเขตโซนร้อน โดยประเทศไทยขณะที่ช่วงเวลาที่เกิดปรากฏการณ์นี้กินเวลาไม่นานมากส่วนใหญ่ประมาณ 10-100 เมตร แต่บางครั้งยาวมากถึง 600 เมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง พบได้ตั้งแต่ 1 เมตร ไปจนถึงหลายสิบเมตร ซึ่งพายุงวงช้างมีระยะเวลาเพียง 2-30 นาที และจะสลายตัวอย่างรวดเร็วเมื่อขึ้นไปสู่ฝั่ง

related