svasdssvasds

"โลกเดือด" ส่งผลอย่างไรกับ "ทะเลไทย" และมีอะไรบ้างที่เราต้องเฝ้าระวัง

"โลกเดือด" ส่งผลอย่างไรกับ "ทะเลไทย" และมีอะไรบ้างที่เราต้องเฝ้าระวัง

เมืองไทยอากาศร้อนทะลุ 43 องศา บนบกก็ว่าร้อนตับจะแตกแล้ว ดำลงน้ำก็ร้อนพอกัน อ.ธรณ์ เปิดเผยว่า วัดอุณหภูมิท้องทะเลช่วง 7 โมงเช้า ได้ 32 องศาเข้าไปแล้ว มารีเช็กกันหน่อยว่า ทะเลไทยในยุคโลกเดือดได้รับผลกระทบยังไงบ้าง?

SHORT CUT

  • อ.ธรณ์ เผย “สวัสดีวัน Earth Day ด้วยความร้อน 43 องศา ทะเลร้อนเกิน 32 องศา ตั้งแต่ 7 โมงเช้า ไม่รักโลกตอนนี้ ก็ไม่เหลือเวลาให้รักแล้วครับ”
  • อ่าวไทยร้อนเกิน 32 องศา, เกิดปรากฏการณ์ "หญ้านึ่ง", แพลงก์ตอนบลูม, ไข่เต่ามะเฟืองไม่มีเชื้อ, ปะการังเกาะยา จ.ตรัง ฟอกขาวแล้ว
  • พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มอบหมายให้ ทช. รับมือปะการังฟอกขาว 

เมืองไทยอากาศร้อนทะลุ 43 องศา บนบกก็ว่าร้อนตับจะแตกแล้ว ดำลงน้ำก็ร้อนพอกัน อ.ธรณ์ เปิดเผยว่า วัดอุณหภูมิท้องทะเลช่วง 7 โมงเช้า ได้ 32 องศาเข้าไปแล้ว มารีเช็กกันหน่อยว่า ทะเลไทยในยุคโลกเดือดได้รับผลกระทบยังไงบ้าง?

โลกเดือด ทะเลเดือดยิ่งกว่า!

องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ หรือ NOAA ประกาศออกมาอย่างเป็นทางการแล้วว่า โลกกำลังเจอกับปะการังฟอกขาวระดับหายนะ (Global Coral Bleaching Event) ซึ่งถือเป็นครั้งที่ 4 ของโลก และถือเป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 10 ปี ซึ่งแน่นอนว่าเป็นผลมาจากอุณหภูมิน้ำที่สูงขึ้น

เป็นเหตุให้ขณะนี้ กว่า 53 ประเทศทั่วโลกกำลังเจอกับปะการังฟอกขาว ซึ่งไม่ใช่เรื่องดีเลย เพราะปะการังเหล่านี้ถือเป็นที่อิงอาศัยให้กับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ และคอยมอบความอุดมสมบูรณ์ให้กับประเทศต่าง ๆ แต่ดูเหมือนว่า “The Giverแห่งท้องทะเล” กำลังถูกทะเลเดือดเล่นงานแบบไม่ให้พักยก 

\"โลกเดือด\" ส่งผลอย่างไรกับ \"ทะเลไทย\" และมีอะไรบ้างที่เราต้องเฝ้าระวัง

\"โลกเดือด\" ส่งผลอย่างไรกับ \"ทะเลไทย\" และมีอะไรบ้างที่เราต้องเฝ้าระวัง

“สวัสดีวัน Earth Day ด้วยความร้อน 43 องศา ทะเลร้อนเกิน 32 องศา ตั้งแต่ 7 โมงเช้า ไม่รักโลกตอนนี้ ก็ไม่เหลือเวลาให้รักแล้วครับ”

นี่คือประโยคสั้น ๆ จาก ผศ.ดร. ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ หรือ อ.ธรณ์ ในแบบที่เรารู้จัก แสดงให้เห็นว่า แม้แต่เวลาที่เช้ามาก ๆ ท้องทะเลก็มิได้เย็นตามความเข้าใจ เราต้องยอมรับและตื่นตัวกันอย่างจริงจังได้แล้ว เพื่อหาวิธี “ทุเลา” ทะเลไทย เพราะสายเกินไปแล้วที่จะกลับไปแก้...

\"โลกเดือด\" ส่งผลอย่างไรกับ \"ทะเลไทย\" และมีอะไรบ้างที่เราต้องเฝ้าระวัง

เนื่องในโอกาสวันคุ้มครองโลก (Earth Day) หรือวันที่ 22 เมษายนของทุกปี สปริงนิวส์ถือโอกาสรวบรวมปัญหาโลกเดือดกับทะเลไทยมาให้อ่านกัน เอาแค่เฉพาะปี 2024 ทะเลไทยเจอวิกฤตจากโลกเดือดไปแล้วกี่กระทง

  • อ่าวไทยร้อนเกิน 32 องศา

ประเดิมด้วยอุณหภูมิน้ำ ขณะนี้โลกเดือด แดดจัด ผนึกกำลังกันทำให้ท้องทะเลอ่าวไทยกลายเป็น “หม้อไฟ” โดยพบว่าตอนนี้อ่าวไทยอุณหภูมิพุ่งทะลุ 32.5 องศาไปแล้ว ที่ร้ายไปกว่านั้นคือ แม้ในตอนกลางคืน ช่วงที่ไม่มีแดด ต้องแต่แสงพระจันทร์ อุณหภูมิน้ำทะเลอ่าวไทยก็ยังแตะ 32 องศา โดยรวมแล้ว อุณหภูมิอ่าวไทยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยจากปีที่แล้วประมาณ 1.5 องศา ซึ่งสิ่งนี้ไม่ใช่เรื่องปกติเอาเสียเลย

  • เกิดปรากฏการณ์ "หญ้านึ่ง" อันดามันใต้ ตรัง-กระบี่

เบื้องต้น หญ้าทะเลที่อันดามันใต้ จังหวัดตรัง – กระบี่ (ตอนล่าง) ลากลามไปจนถึงพื้นที่บางส่วนของจังหวัดสตูล เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “หญ้านึ่ง” นอกจากนี้ น้ำที่ลดต่ำลง ผนวกกับแดดแรงทำให้หญ้าทะเลไหม้และตายไปหมด ส่งผลโดยตรงให้พะยูนในพื้นที่กระจายกันไปหาอาหารในแหล่งอื่น

  • บางแสน จ.ชลบุรี เกิดแพลงก์ตอนบลูม เปลี่ยนน้ำทะเลเป็นสีเขียว

จำข่าวทะเลบางแสนสีเขียวกันได้ไหม แม้จะได้รับการยืนยันแล้วว่าไม่เป็นอันตราย และยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน อย่างไรก็ดี แพลงก์ตอนบลูมถือเป็นอีก 1 เหตุการณ์ที่มีต้นตอมาจากโลกเดือด

เพราะเดิมที แพลงก์ตอนบลูมจะเกิดเฉพาะช่วงหน้าฝนเท่านั้น แต่ในยุคโลกเดือด แพลงก์ตอนบลูมโผล่ให้เห็นกันตั้งแต่ต้นปีเลยทีเดียว และในหนึ่งปีมักเกิดแค่ 15 ครั้ง แต่ปีที่ผ่านมาเกิดไปทั้งสิ้น 70 ครั้ง แม้จะไม่เป็นอันตรายต่อคน แต่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

  • ไข่เต่ามะเฟืองไม่มีเชื้อ และมีเต่าตัวผู้น้อยลง

แม่เต่ามะเฟือง 14 กุมภา จำนวน 120 ฟอง ที่ตั้งไว้ริมชายหาด พบว่าไข่ทุกใบไม่ได้รับการผสม ไม่มีลูกเต่าเกิดแม้แต่ตัวเดียว สิ่งนี้เป็นเพียงหนึ่งตัวอย่าง แต่สิ่งที่น่ากังวลมากกว่านั้นคือ อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น ทำให้เต่ามะเฟืองตัวผู้หายากขึ้นทุกวัน ๆ

สาเหตุเพราะว่า เพศของเต่าจะขึ้นตรงกับอุณหภูมิในรัง หากโลกร้อนจะเกิดเป็นเต่าเพศเมีย หากอุณหภูมิต่ำจะเป็นเพศผู้ จึงไม่แปลกใจเลยที่เราเหลือเต่าตัวผู้เพียงน้อยนิด

  • ปะการังเกาะยา จ.ตรัง ฟอกขาวแล้ว 1%

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ได้ติดตามสถานการณ์ปะการังฟอกขาวด้วยวิธีสุ่มตรวจ และติดเครื่องวัดอุณหภูมิน้ำทะเลที่บริเวณเกาะยา จังหวัดตรัง เบื้องต้นพบว่า ปะการังในบริเวณดังกล่าวเริ่มมีสีซีดเซียว คิดเป็น 1% ของพื้นที่สำรวจ และน้ำทะเลมีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 31.8 องศา 

 

เฝ้าระวังปะการังฟอกขาวอ่าวไทย-อันดามัน

เบื้องต้น พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มอบหมายให้ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เตรียมรับมือสถานการณ์ปะการังฟอกขาว และเดินหน้าสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ "ภาวะโลกเดือด" ให้กับประชาชน

นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เผยว่า ได้เตรียมความพร้อมในการรับมือและดำเนินการวางแผนเฝ้าระวังสถานการณ์ปะการังฟอกขาว ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในฤดูร้อนช่วงเดือนเมษายน ถึงพฤษภาคม โดยในปีนี้ได้คาดการณ์ว่าจะเกิดปะการังฟอกขาวเป็นวิกฤตโลก

 

ที่มา: Thorn Thamrongnawasawat

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related