svasdssvasds

ไทยเร่ง "ลดคาร์บอน" ดันธุรกิจเนื้อหอม ต่างชาติสนใจธุรกิจรักษ์โลก

ไทยเร่ง "ลดคาร์บอน" ดันธุรกิจเนื้อหอม ต่างชาติสนใจธุรกิจรักษ์โลก

ความพยายาม ไม่เคยทรยศใคร ! หลังไทยพยายามลดคาร์บอนสู่ความยั่งยืน อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะภาคธุรกิจที่มีความพยายามทำธุรกิจแบบรักษ์โลก รับเทรนด์นักลงทุน ลูกค้าสายกรีน ล่าสุดพบว่าความพยายามของไทยเป็นผลสำเร็จมีนักลงทุนต่างชาติสนใจมากขึ้น

ดร.ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวปาฐกถาพิเศษ "ตลาดหุ้นไทย.. เชื่อมตลาดหุ้นโลก" ในงานสัมมนา Investment Forum : New Chapter, New Opportunity จัดโดยกรุงเทพธุรกิจ ว่า เศรษฐกิจไทยปี2566 มีโอกาสเติบโต 3.2%  และคาดว่าปี2567 จะเติบโตราว 3.4%  จากปัจจัยบวกการบริโภคในประเทศของภาคเอกชนที่ขยายตัวขึ้น รวมถึงการลงทุนภาคเอกชน นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการท่องเที่ยวที่จะช่วยหนุนธุรกิจไทย ซึ่งปี2566 คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทยถึง 28 ล้านคน จากปี2565 ที่มีนักท่องเที่ยวเพียง 11 ล้านคน

นักลงทุนต่างชาติสนใจธุรกิจเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ส่วนแนวโน้มนักงลงทุนต่างชาติสนใจเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยมากขึ้น โดยส่วนใหญ่ชื่นชอบการทำธุรกิจของบริษัทในไทยที่ให้ความสนใจความยั่งยืนมากขึ้น จึงทำให้เห็นว่าจากนี้ไปจุดแข็งการลงทุนไทย คือ ความยั่งยืน ที่ต่างชาติให้ความสำคัญ ดังนั้นภาคธุรกิจจะต้องเดินหน้าสร้างความยั่งยืน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมต่อเนื่องจะดึงดูดนักลงทุนในอนาคตอย่างมาก สำหรับตลาดทุนไทยในปีนี้ยังคงมีความเสี่ยง จากภาวะเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง ที่เริ่มส่งผลกระทบทำให้สภาพคล่องในตลาดโลกปรับตัวลดลง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ในส่วนโอกาสในตลาดหุ้นไทยหลังจากนี้ไปยังคงมีโอกาสในส่วนของภาคการท่องเที่ยวการบริการ สอดกับรองรับการเปิดประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจ Well-Being เพราะฉะนั้นธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว การค้าในประเทศ การขนส่ง ภาคอาหาร และการเกษตร ยังมีโอกาสเติบโตได้หลังจากนี้ไป

ด้านดร.กิริฎา เภาพิจิตร ผู้อำนวยการวิจัยนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศและการพัฒนา และผู้อำนวยการโครงกาวิเคราะห์เศรษฐกิจเชิงลึก สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่า ธุรกิจไทยเดินหน้า“เป็นกลางทางคาร์บอน” (Carbon Nuetrality) ตามนานาชาติที่ได้กำหนดเป็นเป้าหมายร่วมกันว่าควรทำสำเร็จเพื่อรักษาอุณหภูมิโลก เรื่องนี้ทำให้ธุรกิจไทยมีความโดดเด่นมากยิ่งขึ้นในสายตานักลงทุนต่างชาติ และได้รับการลงทุนจากต่างชาติมากขึ้น หากธุรกิจไทยปรับตัวรักษ์โลกมากกว่านี้ ส่วนเศรษฐกิจไทยในปีนี้อาจขยายตัวอยู่ที่ 3.5% จากรายรับในภาคการท่องเที่ยวที่เป็นตัวขับเคลื่อนหลักให้เศรษฐกิจเติบโต ขณะที่การส่งออกจะลดลงจากปีที่แล้ว แม้การส่งออกไทยอาจได้ประโยชน์จากการเปิดเศรษฐกิจจีน แต่ยังมีความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจของตลาดส่งออกหลักที่ถดถอย

 

นักลงทุนรอความชัดเจนรัฐบาลใหม่

ส่วนสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่มีเสถียรภาพ การจัดตั้งรัฐบาลอาจล่าช้าออกไป จะส่งผลให้งบประมาณปี 2567 ล่าช้าทำให้การใช้จ่ายของภาครัฐในปี 2566 จะไม่เพิ่มขึ้นจากปี 2565 มากนัก รวมถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่รอความชัดเจนของนโยบายรัฐบาลใหม่ก่อนตัดสินใจเข้ามาลงทุน นอกจากนี้ เรื่องการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำที่แกนนำจัดตั้งรัฐบาลมีนโยบายจะปรับขึ้นที่จะกระทบต้นทุนของผู้ประกอบการ แม้เงินในกระเป๋าของแรงงานจะเพิ่มขึ้น แต่จะเป็นความเสี่ยงให้เกิดภาวะเงินเฟ้อตามมา

เอกชนลุยลงทุนโรงไฟฟ้าสีเขียว รับเทรนด์โลก

ขณะที่นายภัคพล เลี่ยวไพรัตน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ หรือ TPIPP กล่าวในเวทีสัมมนา Investment Forum : New Chapter, New Opportunity หัวข้อ "ล้วงลึก หุ้นมหาชน แผนธุรกิจรับบริบทใหม่ประเทศไทย ว่า ริษัทถือเป็นผู้ผลิตโรงไฟฟ้าจากขยะขนาดใหญ่สุดในประเทศไทย และอาเซียน และถือว่าเป็นโรงงานรับกำจัดขยะที่ใหญ่ที่สุดในโลก อย่างไรก็ตามบริษัทมี 2 ธุรกิจหลัก คือ โรงไฟฟ้า และสถานีบริการน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ  มีโรงไฟฟ้ารวมทั้งหมด 8 แห่ง มีกำลังการผลิตไฟฟ้าอยู่ที่ 440 เมกะวัตต์ ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2564 โรงไฟฟ้าแห่งที่ 1

และโรงไฟฟ้าแห่งที่ 2 ไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เนื่องจากเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนทิ้ง ส่วนโรงไฟฟ้าแห่งที่ 7 ไม่ได้มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เนื่องจากที่ผ่านมาบริษัทแม่ ซึ่งเป็นโรงงานปูนอยู่ระหว่างการปรับปรุงโรงไฟฟ้าค่อนข้างมาก ทำให้บริษัทไม่ได้มีการผลิตไฟฟ้า ขณะที่โรงไฟฟ้าแห่งที่ 8 มีการผลิตไฟฟ้าอย่างเต็มที่ ทำให้มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 1.5 ล้านตัน 

ส่วนโรงไฟฟ้าแห่งที่ 3 โรงไฟฟ้าแห่งที่ 6 ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าขยะที่ใช้พลังงานทดแทนถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และพลังงานฟอสซิล เพื่อผลิตไฟฟ้า ทำให้ทั้ง 4 โรงไฟฟ้า ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 7.5 ล้านตัน หากมีการปล่อยทิ้งขยะไปเฉยๆ จะก่อให้เกิดก๊าซมีเทน น่ากลัวกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 21 เท่า ซึ่งการใช้ขยะจะช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทนได้ อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันแน่นอนว่าเมกะเทรนด์คือ เรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บริษัทจึงต้องเปลี่ยนโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งหมดเป็นโรงไฟฟ้าขยะ โดยแบ่งเป็น 6 เฟส เสร็จแล้ว 2 เฟส เฟส 3-6 เสร็จกลางปี 2568 และปี 2569 บริษัทจะมีโรงไฟฟ้า 8 โรงไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานสะอาดทั้งหมด 582 เมกะวัตต์ 

โออาร์'  ชูปั๊มน้ำมันสีเขียว รับเทรนด์ลูกค้า

นายดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR กล่าวว่า โออาร์ มีธุรกิจมากมายนอกจากจะทำงานร่วมกับกลุ่มปตท. และพาสเนอร์แล้ว โออาร์ยังมีอีโคซิสเต็ม ทำให้มีเสนห์ และการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนผ่าน SDG ประกอบด้วย 1. S:SMALL โอกาสเพื่อคนตัวเล็กผ่านการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนตามเป้าหมาย 1.5 หมื่นชุมชน 2. D:DIVERSIFIED โอกาสเพื่อการเติบโตทุกรูปแบบ ผ่านศักยภาพของ OR ที่จะเป็น Platform ในการกระจายโอกาสทางธุรกิจที่หลากหลายและครอบคลุม พร้อมเติบโตไปด้วยกัน สามารถกระจายรายได้ไปสู่ประชาชนกว่า 1 ล้านราย และ  3. G:GREEN โอกาสเพื่อสังคมสะอาดผ่านการส่งเสริม ธุรกิจทุกประเภทของ OR ให้เป็นธุรกิจสีเขียว เพื่อสนับสนุนให้เกิดสังคมคาร์บอนต่ำ อย่างยั่งยืน

สำหรับการดำเนินธุรกิจโลคาร์บอน โออาร์เตรียมเปิดสถานีบริการน้ำมันสีเขียว ที่วิภาวดี 62 ในอีก 2 เดือน ใหญ่สุดในไทย โดยนำเอาพลังงานสะอาดจากบริษัทในเครือปตท.มาใช้ อีกทั้ง ผลิตภัณฑ์ทั้งแก้ว ขวดน้ำ จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรีไซเคิลขึ้นรูปใหม่ เป็นต้น ทั้งนี้ จากการสำรวจพบว่า ลูกค้า 60% เข้ามาในสถานีบริการน้ำมันพีทีที สเตชั่น เน้นทำกิจกรรมอื่นที่ไม่ได้แค่เต็มน้ำมันอย่างเดียว เมื่อมีข้อมูลลูกค้าโออาร์ได้มองเห็นบริการเพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงง่ายขึ้น

อย่างไรก็ตามธุรกิจบริการน้ำมันได้ถูกดริสทรัปซึ่งอีก 5-10 ปี การใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) จะเข้ามามากขึ้น ซึ่งขณะนี้มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้น โออาร์ได้ทรานฟอร์มธุรกิจและตั้งเป้า EBITDA 70% จะมาจากธุรกิจไลฟ์สไตล์ โดยโออาร์มีเป้าหมายติดตั้งหัวจาร์จ 1 หมื่นหัวทั่วประเทศในไทย เพราะสถานีอีวีของโออาร์สามารถเข้าถึงง่ายสุด ไม่ซ้ำซ้อน อีกทั้ง อนาคตจะมีผลิตภัณฑ์กลุ่มเป้าหมายที่เป็นเฮลท์ แอนด์ เวลเนส มากขึ้น โดยจะเปิดตัวเร็วนี้ นอกจากนี้ จากการที่กลุ่มปตท.มีบริษัทและธุรกิจในเครือจำนวนมาก จึงมีแผนจะทำแอพพลิเคชั่นใช้ร่วมกันอาจเรียกว่า ซูเปอร์แอพ ซึ่งโออาร์เองมีสมาชิก บลูการ์ด  8 ล้านราย จะนำข้อมูลนี้มาใช้ประโยชน์ ร่วมกันโดยนำเอาผลิตภัณฑ์กลุ่มปตท.มาขายโดยเฉพาะอุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่สุดท้ายต้องดูแลสังคม และชุมชน

 

 

 

 

 

 

related