svasdssvasds

สรุปให้ ฮ่องกงออกกฎหมายแบนพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง ฝ่าฝืนปรับเกือบ 5 แสน!

สรุปให้ ฮ่องกงออกกฎหมายแบนพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง ฝ่าฝืนปรับเกือบ 5 แสน!

สปริงพาไปสำรวจความคิดเห็นผู้ประกอบการ - ผู้บริโภคชาวฮ่องกง หลังมีการออกกฎหมายแบนพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง พวกเขามีความคิดเห็นอย่างไร เกิดผลกระทบอะไรบ้าง ติดตามได้ที่นี่

SHORT CUT

  • ฮ่องกงออกกฎหมายแบนพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง ฝ่าฝืนปรับเกือบ 500,000 บาท ให้เวลาผู้ประกอบการ 6 เดือน ในการปรับตัว
  • ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการยังไม่ได้เปลี่ยนไปใช้ภาชนะชนิดอื่นแบบฉับพลัน เพราะมีต้นทุกที่ต้องแบกรับ และพร้อมคิดค่า add-on ในรายที่เปลี่ยนแล้ว
  • ผู้บริโภค เปิดเผยว่า เห็นด้วยกับกฎหมายนี้ แต่ในแง่ของปฏิบัติยังไม่สะดวกนัก เนื่องจากติดปัญหาเรื่องเวลา (กรณีต้องพกกล่องอาหารมาเอง)

สปริงพาไปสำรวจความคิดเห็นผู้ประกอบการ - ผู้บริโภคชาวฮ่องกง หลังมีการออกกฎหมายแบนพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง พวกเขามีความคิดเห็นอย่างไร เกิดผลกระทบอะไรบ้าง ติดตามได้ที่นี่

เริ่มแล้ว! ฮ่องกงออกกฎหมายแบนพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง

เชื่อว่าตอนนี้หลายประเทศในเอเชียต่างมุ่งความสนใจไปที่ “ฮ่องกง” เพราะเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา รัฐบาลฮ่องกงบังคับใช้กฎหมายฉบับใหม่เพื่อหยุดการจำหน่าย-แจกจ่ายผลิตภัณฑ์และภาชนะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-used Plastic)

โดยกรมคุ้มครองสิ่งแวดล้อมฮ่องกงเปิดเผยว่า ร้านค้า ร้านอาหาร มีเวลาทั้งหมด6 เดือน ในการยกเลิกใช้ผลิตภัณฑ์ หรือภาชนะจากพลาสติก และให้ธุรกิจหาทางปรับตัว ซึ่งหมายความว่าหลังจากเดือนตุลาคมเป็นต้นไป จะเริ่มมีการลงโทษทางกฎหมาย

ฮ่องกงแบนพลาสติกใบ้ครั้งเดียวทิ้ง Credit ภาพ Packaging South Asia / Steven Depolo

สำหรับธุรกิจ หรือลูกค้าที่ฝ่าฝืนกฎหมายดังกล่าว มีบทลงโทษเป็นค่าปรับสูงสุด100,000 ดอลลาร์ฮ่องกง หรือประมาณ 472,000 บาท

แน่นอนว่าเมื่อมีกฎหมายลักษณะนี้ออกมา “ร้านค้า-ร้านอาหาร” น่าจะเป็นกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคสมัยที่ผู้บริโภคนิยมสั่งซื้ออาหารแบบเดลิเวอรี่ ซึ่งสร้างขยะพลาสติกเป็นจำนวนมาก

ผู้ประกอบการฮ่องกงปรับตัวต่อกฎหมายแบนพลาสติกอย่างไร?

คำถามถัดมาคือ ผู้ประกอบการคิดเห็นอย่างไรกับกฎหมายนี้ เพราะพวกเขาเป็นกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบโดยตรง Simon Wong Ka-wo ประธานสมาพันธ์ร้านอาหารและธุรกิจเกี่ยวเนื่องแห่งฮ่องกง เปิดเผยว่า

“กว่า 70% ของร้านอาหาร 18,000 ร้านภายใต้สมาพันธ์ ยังใช้อุปกรณ์-ภาชนะที่เป็นพลาสติกอยู่”

ร้านค้าส่วนใหญ่ยังใช้แพคเกจเดิมไม่หมด Credit ภาพ Jakub Kapusnak  / Raw Pixel

เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่า ธุรกิจร้านอาหารส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดเล็ก จึงจำเป็นต้องเคลียร์อุปกรณ์พลาสติกที่ซื้อตุนไว้ในร้านให้หมดเสียก่อน และเมื่อหมดสต๊อกจึงจะเริ่มสั่งอุปกรณ์ชุดใหม่ได้ สรุปคือ ร้านค้ามีต้นทุนที่ต้องแบก ยังไม่สามารถเปลี่ยนแบบฉับพลันทันใดได้

เฮลีย์ ชาน หนึ่งในผู้ประกอบการร้านอาหารในฮ่องกง เปิดเผยว่า “ระยะเวลา 6 เดือนไม่พอหรอก ร้านเราสั่งถ้วยพิมพ์ลายเฉพาะของทางร้านหลายหมื่นใบ ยากมากที่จะใช้หมดในครึ่งปี”

ขณะเดียวกัน ก็มีร้านอาหารบางส่วนที่เริ่มเปลี่ยนไปใช้อุปกรณ์ชนิดอื่น ๆ กันแล้ว เว็บไซต์ South China Morning Post ระบุว่า ร้านค้า ร้านอาหารในย่านธุรกิจเริ่มเปลี่ยนมาใช้กล่องกระดาษ และช้อนส้อมที่ทำจากไม้กันแล้ว

แต่...

เพื่อหักลบต้นทุนที่ต้องแบก ร้านอาหารจะคิดเงินเพิ่ม 1 ดอลลาร์ฮ่องกง หรือประมาณ 4.7 บาท สอดรับกับความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรม ที่ออกมากล่าวถึงประเด็นนี้ว่า การที่ร้านค้าต่าง ๆ ต้องปรับมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอาจเพิ่มค่าใช้จ่ายประมาณร้อยละ 30

ผู้บริโภคคิดเห็นอย่างไร?

กฎหมายหนึ่งฉบับทำสะเทือนทั้งห่วงโซ่ อย่างที่กล่าวไปด้านบน เมื่อธุรกิจต้องแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ภาระตุ้นทุนนั้นจะถูกส่งผ่านมายังผู้บริโภคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

สำนักข่าว AFP ได้สัมภาษณ์ชาวฮ่องกงรายหนึ่ง โดยระบุว่า ในฐานะผู้บริโภค เขายินดีอย่างยิ่งที่จะจ่ายเงินให้กับภาชนะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ผลิตภัณฑ์รักษ์โลกราคาแพงขึ้น 30% Credit ภาพ Flickr / The Bag N Box Man LTD

หรือผู้บริโภคบางรายก็มองว่า กฎหมายแบนพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งเป็นเรื่องดี แต่ถึงกระนั้น เวลาพักกลางวันแค่ 1 ชม. คงไม่ตอบโจทย์หรอกจะพกอุปกรณ์รับประทานอาหารมาเอง ไหนจะต้องชำระล้างอีก การซื้อใช้แล้วทิ้งสะดวกมากกว่า

อุปกรณ์พลาสติกชนิดใดบ้างที่ถูกแบน?

หลัก ๆ แล้วแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ ยุติการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งในร้านอาหาร และแบนการขายหรือแจกพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งอื่น ๆ

พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งในร้านอาหาร ได้แก่

  • กล่องใส่อาหาร EPS หรือกล่องโฟม
  • หลอด
  • ชุดช้อนส้อม
  • จาน
  • แก้ว
  • กล่องใส่อาหารและฝา

พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งอื่น ๆ ได้แก่

  • คัดตอนบัต
  • ถุงพลาสติกใส่ร่ม
  • อุปกรณ์ปาร์ตี้ อาทิ ไม้ลูกโป่ง ของประดับหน้าเค้ก ลูกโป่ง หมวกปาร์ตี้
  • ไม้จิ้มฟันพลาสติก แปลงสีฟัน หวี ขวดน้ำ (ในโรงแรม)

รู้หรือไม่? ในปี 2565 ฮ่องกงจัดการขยะมูลฝอย 11,128 ตันต่อวัน โดยในจำนวนดังกล่าว เป็นขยะพลาสติก 2,369 ตัน แต่ต้องบอกว่าพันธมิตรชานมมีอัตรารีไซเคิลอยู่แค่ 32% เท่านั้น

ตัดกลับมาที่ไทย เรายังไม่มีกฎหมายควบคุมพลาสติก (ในประเทศ) อย่างจริงจัง แม้จะมี Roadmap ที่ประกาศออกมาตั้งแต่ปี 2561 ทว่า ในแง่ของการปฏิบัติยังพึ่งพาอาศัยความสมัครใจอยู่ มิได้มีการบังคับเชิงกฎหมาย

เพื่อน ๆ ล่ะ คิดเห็นอย่างไร หากประเทศไทยออกกฎหมายในลักษณะนี้มาใช้บ้าง คิดว่าจะสามารถลดปัญหาขยะพลาสติกได้หรือเปล่า แล้วประชาชน หรือผู้ประกอบการจะให้ความร่วมมือแค่ไหน

 

ที่มา: South China Morning Post, Green Peace, AP News

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related