svasdssvasds

เปิดความสำเร็จ “ลมหายใจเพื่อน้อง” ปตท. เบื้องหลังโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมของเด็กไทย

เปิดความสำเร็จ “ลมหายใจเพื่อน้อง” ปตท. เบื้องหลังโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมของเด็กไทย

การศึกษาคือหนึ่งในรากฐานสำคัญในการนำพาประเทศไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งในแต่ละปีเด็กไทยที่หลุดจากระบบการศึกษามีจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะช่วงการระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา ปตท. ได้เล็งเห็นความสำคัญของการศึกษา และเพื่อนำเด็กที่หลุดจากระบบการศึกษา ให้กลับมามีโอกาสในการเรียนอีกครั้ง จึงได้จัดตั้งโครงการ “ลมหายใจเพื่อน้อง” ขึ้น เพื่อลดช่องว่างและมอบโอกาสทางการศึกษาที่เสมอภาคให้กับเด็กและเยาวชนไทย

เปิดความสำเร็จ “ลมหายใจเพื่อน้อง” ปตท. เบื้องหลังโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมของเด็กไทย การศึกษาที่ดีเป็นส่วนสำคัญในการสร้างอาชีพที่มั่นคงในอนาคต และเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า ซึ่งปัจจุบันช่องว่างด้านการศึกษา เป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทย ซึ่งการศึกษาของเยาวชนไทยต้องสะดุดเนื่องจากการขาดแคลนทุนทรัพย์ อยู่ในครอบครัวที่มีรายได้น้อย จึงเสี่ยงต่อการหลุดจากระบบการศึกษาก่อนเวลาอันสมควร และจากการสำรวจของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) พบว่ามีนักเรียนในครอบครัวที่ยากจน มีจำนวนราว 60,000 คน ที่มีความเสี่ยงหลุดออกจากระบบ ซึ่งการหลุดออกจากระบบการศึกษาก่อนวัยอันควรจะทำให้พวกเขาติดอยู่ในกับดักความยากจน และมีโอกาสสูงมากที่ความยากจนจากรุ่นพ่อแม่จะถูกส่งต่อไปยังรุ่นสู่รุ่น ปรากฎการณ์นี้เรียกว่า ปัญหาความยากจนข้ามชั่วคน (Intergenerational Poverty)

เปิดความสำเร็จ “ลมหายใจเพื่อน้อง” ปตท. เบื้องหลังโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมของเด็กไทย ปตท. ตั้งเป้าหมายมอบทุนการศึกษากว่า 150 ล้านบาท ผ่านกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ กสศ. ให้แก่เด็กและเยาวชนจากครอบครัวที่มีรายได้น้อยและได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากโควิด-19 จำนวนกว่า 60,000 คนทั่วประเทศ ซึ่ง กสศ. มุ่งใช้ฐานข้อมูล ผลงานวิจัย และผลการพัฒนานวัตกรรมต้นแบบการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เหนี่ยวนำทรัพยากรและความร่วมแรงร่วมใจจากหน่วยงานภาคีทุกภาคส่วน ให้เข้ามามีส่วนร่วมเป็นพลังขับเคลื่อนการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิด All for Education เพื่อนำไปสู่ Education for all

เปิดความสำเร็จ “ลมหายใจเพื่อน้อง” ปตท. เบื้องหลังโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมของเด็กไทย “ลมหายใจเพื่อน้อง” เติมเต็มช่องว่างทางการศึกษาให้กับเด็กไทย

โครงการ “ลมหายใจเพื่อน้อง” เฟสแรก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินกิจกรรม PTT Virtual Run เดินวิ่งระดมทุนการศึกษาเพื่อเยาวชน และจากการระดมทุนจำนวน 150 ล้านบาท ที่ประชาชนทุกภาคส่วนทั่วประเทศ ได้ร่วมสร้างสถิติใหม่สะสมระยะทาง 600,000 กิโลเมตร ด้วยเวลาเพียง 6 วัน ทำให้สามารถช่วยเด็กและเยาวชนที่มีความเสี่ยงหลุดออกจากระบบการศึกษา 60,000 คนได้กลับเข้าเรียนอีกครั้งในภาคเรียนปีการศึกษา 2565 ที่ผ่านมา โดยระดับชั้น ป.6 สามารถเรียนต่อ ม.1 จำนวน 14,500 คน และระดับชั้น ม.3 เรียนต่อ ม.4 หรืออื่นๆ จำนวน 45,500 คน

ต่อมาได้มีการสานต่อ “โครงการลมหายใจเพื่อน้อง” เฟส 2 เดินวิ่ง 20 ล้านก้าวก๊อดจิ เพื่อระดมทุน 20 ล้านบาท จัดตั้ง “กองทุนแรกเริ่มศูนย์ช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในวิกฤตการศึกษา” ผ่าน กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ กสศ. เพื่อช่วยเด็กๆ ที่เสี่ยงจะหลุดออกจากระบบการศึกษา เนื่องจากผลกระทบจากเหตุไม่คาดคิด เช่น อุบัติเหตุ อาชญากรรม ทั้งต่อตัวเองและครอบครัว

เปิดความสำเร็จ “ลมหายใจเพื่อน้อง” ปตท. เบื้องหลังโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมของเด็กไทย ทุนนี้ของ ปตท. ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการทำงานกับโรงเรียน 17,432 แห่งใน 4 สังกัด ได้แก่ สพฐ. ตชด. สถ. และ สช. ในการสำรวจสถานะนักเรียน 'ทุนเสมอภาค' กสศ. จำนวน 60,000 คน ที่มีความเสี่ยงหลุดจากระบบ เพราะต้องเปลี่ยนผ่านช่วงชั้นการศึกษา ในช่วงเปิดเทอมการศึกษาแรกปี 2565 ด้วยข้อมูลเชิงลึกจากครูในพื้นที่ ที่ดูแลเด็กๆ อย่างใกล้ชิดตลอดระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปีการศึกษา ทำให้สามารถพบเด็กกลุ่มเสี่ยงและนำไปสู่การจัดสรรเงินทุน 151 ล้านบาทจากโครงการลมหายใจเพื่อน้องของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และพลังของคนไทยให้กระจายลงไปถึงมือของเด็กๆ อย่างทันท่วงที ช่วยให้เด็กๆ กลุ่มนี้ไปต่อในระบบการศึกษาได้ โดยแบ่งเป็นภูมิภาคดังนี้

เปิดความสำเร็จ “ลมหายใจเพื่อน้อง” ปตท. เบื้องหลังโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมของเด็กไทย

เปิดความสำเร็จ “ลมหายใจเพื่อน้อง” ปตท. เบื้องหลังโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมของเด็กไทย ภาคเหนือ จำนวน 17 จังหวัด ประกอบด้วย กำแพงเพชร, ตาก, นครสวรรค์, น่าน, พะเยา, พิจิตร, พิษณุโลก, ลำปาง, ลำพูน, สุโขทัย, อุตรดิตถ์, อุทัยธานี, เชียงราย, เชียงใหม่, เพชรบูรณ์, แพร่, แม่ฮ่องสอน

จำนวนนักเรียนที่ได้รับทุนการศึกษาแล้ว 6,206 คน

ภาคกลาง จำนวน 25 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร, กาญจนบุรี, จันทบุรี, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ชัยนาท, ตราด, นครนายก, นครปฐม, นนทบุรี ปทุมธานี, ประจวบคีรีขันธ์, ปราจีนบุรี, พระนครศรีอยุธยา, ระยอง, ลพบุรี, สมุทรปราการ, สมุทรสงคราม, สมุทรสาคร, สระบุรี, สระแก้ว, สิงห์บุรี, สุพรรณบุรี, อ่างทอง, เพชรบุรี

จำนวนนักเรียนที่ได้รับทุนการศึกษาแล้ว 11,592 คน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 20 จังหวัด ประกอบด้วย กาฬสินธุ์ ขอนแก่น, ชัยภูมิ, นครพนม, นครราชสีมา, บึงกาฬ, บุรีรัมย์ มหาสารคาม, มุกดาหาร, ยโสธร, ร้อยเอ็ด, ศรีสะเกษ, สกลนคร, สุรินทร์,หนองคาย, หนองบัวลำภู,อำนาจเจริญ, อุดรรธานี, อุบลราชธานี, เลย

จำนวนนักเรียนที่ได้รับทุนการศึกษาแล้ว 9,758 คน

ภาคใต้ จำนวน 14 จังหวัด ประกอบด้วย กระบี่, ชุมพร, ตรัง, นครศรีธรรมราช, นราธิวาส, ปัตตานี, พังงา, พัทลุง, ภูเก็ต, ยะลา, ระนอง, สงขลา, สตูล, สุราษฎร์ธานี

จำนวนนักเรียนที่ได้รับทุนการศึกษาแล้ว 32,444 คน

จาก 76 จังหวัดทั่วประเทศ มีจำนวนนักเรียนที่ได้รับทุนการศึกษารวมทั้งหมด 60,000 คน โดยระดับชั้น ป.6 สามารถเรียนต่อชั้น ม.1 ได้ จำนวน 14,500 คน และระดับชั้น ม.3 สามารถเรียนต่อชั้น ม.4 หรืออื่นๆ จำนวน 45,500 คน ซึ่ง 100% ยังคงอยู่ในระบบการศึกษา และมีอัตราการมาเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 85

เปิดความสำเร็จ “ลมหายใจเพื่อน้อง” ปตท. เบื้องหลังโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมของเด็กไทย

เปิดความสำเร็จ “ลมหายใจเพื่อน้อง” ปตท. เบื้องหลังโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมของเด็กไทย เด็กและเยาวชนที่มีปัญหาได้รับความช่วยเหลือภายใต้ศูนย์ช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในภาวะวิกฤตทางการศึกษา

 ตามที่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาได้ดำเนินโครงการศูนย์ช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในภาวะวิกฤตทางการศึกษา เพื่อช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่ได้รับผลกระทบ ให้สามารถกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาและป้องกันการหลุดออกนอกระบบการศึกษา โดยมีพื้นที่ดำเนินงาน 4 จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก ยะลา ขอนแก่น และกรุงเทพมหานคร  กสศ. ได้ดำเนินการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ แล้ว จำนวน 302 คน โดยจังหวัดพิษณุโลก 120 คน, จังหวัดยะลา 84 คน, จังหวัดขอนแก่น 77 คน และกรุงเทพฯ 21 คน โดยเด็กและเยาวชนที่มีภาวะวิกฤตทางการศึกษา ประกอบด้วย

1) เด็กและเยาวชนที่กำลังศึกษาอยู่ในระบบการศึกษา อายุไม่เกิน 25 ปีบริบูรณ์ ที่มีความเสี่ยงหลุดออกจากระบบการศึกษา

2) เด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา อายุไม่เกิน 25 ปี ที่หลุดจากระบบการศึกษาไม่เกิน 1 ปีการศึกษา ที่ได้รับการสนับสนุน จากโครงการศูนย์ช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในภาวะวิกฤตทางการศึกษาในพื้นที่ต้นแบบ

เปิดความสำเร็จ “ลมหายใจเพื่อน้อง” ปตท. เบื้องหลังโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมของเด็กไทย สาเหตุที่เด็กและเยาวชนเสี่ยงหลุดออกจากระบบการศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ โดยจำแนกตามประเภทสาเหตุ ดังนี้

ผลการวิเคราะห์ระดับสาเหตุเสี่ยงหลุดออกจากระบบการศึกษาของเด็กและเยาวชนที่กำลังศึกษาอยู่ จำแนกตามประเภทสาเหตุ พบว่า เด็กและเยาวชนที่กำลังศึกษาอยู่มีสาเหตุเสี่ยงหลุดออกจากระบบการศึกษา

-ด้านปัญหาเศรษฐกิจสูงสุด จำนวน 280 คน คิดเป็นร้อยละ 92.71 ของเด็กและเยาวชนทั้งหมด

-สาเหตุจากปัญหาครอบครัว จำนวน 186 คน คิดเป็นร้อยละ 61.60  ของเด็กและเยาวชนทั้งหมด

- สาเหตุจากอุบัติเหตุ/โรคภัย จำนวน 95 คน  คิดเป็นร้อยละ 31.45 ของเด็กและเยาวชนทั้งหมด

- สาเหตุจากปัญหาสาธารณภัย  21 คน คิดเป็นร้อยละ  6.95

เปิดความสำเร็จ “ลมหายใจเพื่อน้อง” ปตท. เบื้องหลังโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมของเด็กไทย การวิเคราะห์ภาพรวมสาเหตุที่ทำให้เด็กและเยาวชนจะเสี่ยงหลุดออกจากระบบการศึกษา

1. เด็กและเยาวชนในภาวะวิกฤตการศึกษาส่วนใหญ่อาศัยอยู่กับญาติหรือครอบครัวแหว่งกลาง (อาศัยอยู่กับพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่ง) มีจำนวนกว่าร้อยละ 70 ซึ่งสอดคล้องกับการระบุสาเหตุของการเสี่ยงหลุดจากระบบการศึกษาที่ส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากปัญหาครอบครัว

2. ครอบครัวผู้ได้รับทุนมีหนี้สินโดยเฉลี่ยมากกว่า 50,000 บาท ในขณะที่รายได้ของครอบครัวอยู่ที่ 1,135.58 บาท/คน/เดือน สะท้อนให้เห็นถึงภาวะเรื้อรังวิกฤตทางเศรษฐกิจของครอบครัวผู้รับทุน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการสนับสนุนการศึกษาของบุตรหลานในระยะยาว ต้องมีมาตรการคู่ขนานในการบริหารจัดการหนี้สินครัวเรือนและเพิ่มรายได้ของครอบครัว เพื่อให้ผู้อุปการะมีความสามารถในการสนับสนุนการศึกษาของบุตรหลานได้

เปิดความสำเร็จ “ลมหายใจเพื่อน้อง” ปตท. เบื้องหลังโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมของเด็กไทย 3. เด็กเสี่ยงหลุดมีทุกระดับการศึกษา ตั้งแต่ระดับปฐมวัย จนถึงระดับอุดมศึกษา ระดับที่เสี่ยงหลุดมากที่สุด คือ ระดับประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 41.39 รองลงมาคือระดับมัธยมศึกษาตอนต้น คิดเป็นร้อยละ 30.79 เด็กกลุ่ม 302 คนนี้ หากไม่ได้รับการช่วยเหลือใด ๆ จะมีโอกาสหลุดจากระบบการศึกษาในเทอมถัดไป (เทอมที่ 2) ถึงร้อยละ 85.14

4. เด็กและเยาวชนในภาวะวิกฤตทางการศึกษาส่วนใหญ่ประสบสาเหตุที่มีโครงสร้างซับซ้อน กล่าวคือมีสาเหตุของการหลุดจากระบบการศึกษามากกว่า 1 สาเหตุ แสดงให้เห็นถึงกระบวนการแก้ปัญหาที่ต้องอาศัยความร่วมมือแบบสหวิชาชีพในการแก้ปัญหารวมถึงความร่วมมือของหน่วยงานทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมออกแบบแนวทางการรับมือกับปัจจัยเสี่ยงต่างโดยมุ่งเน้นผลลัพธ์หลักคือ ป้องกันการเสี่ยงหลุดจากระบบการศึกษาของเด็กและเยาวชน