svasdssvasds

ทำไมต้องอยู่ให้เป็น? ในสมรภูมิ "การเมือง" ของออฟฟิศ

ทำไมต้องอยู่ให้เป็น? ในสมรภูมิ "การเมือง" ของออฟฟิศ

การใช้ชีวิตโดยปกติแล้ว อาจจะไม่ยาก แต่เมื่อโตขึ้น ความรับผิดชอบมากยิ่งขึ้น สิ่งที่ต้องทำมากขึ้น และคนที่ต้องเจอก็มากขึ้นเช่นกัน ทำให้การใช้ชีวิตหรือการทำงานนั้นไม่ยาก แต่การรับมือกับผู้คนที่ต้องเจอนั่นแหละที่ยาก

SHORT CUT

  • คำว่า "อยู่เป็น" ต้องบอกก่อนว่า ไม่ใช่คำในแง่ลบเสมอไป แต่คือคนที่ balance เป็น - อย่างทักษะการเป็นหัวหน้างานในแต่ละระดับก็ต่างกัน ทั้งเก่งงาน เก่งคน เก่งคิด
  • จัดการเรื่องการเมืองในองค์กรอย่างไร ทุกคนต้องยึดเอาวัตถุประสงค์ขององค์กรเป็นหลัก ผู้นำต้องมี empathy (ความเข้าอกเข้าใจ) ให้นึกถึงคำว่า "เพื่อนมนุษย์" จะอยู่กันได้ง่ายยิ่งขึ้น
  • ต้องยอมรับว่าคำว่า "การเมือง" มันแฝงตัวอยู่ หากเราไม่สามารถหลบเลี่ยงกลไกของสังคมพ้น การ "อยู่ให้เป็นและอยู่ให้รอด" อาจเป็นคำตอบสุดท้าย
     

การใช้ชีวิตโดยปกติแล้ว อาจจะไม่ยาก แต่เมื่อโตขึ้น ความรับผิดชอบมากยิ่งขึ้น สิ่งที่ต้องทำมากขึ้น และคนที่ต้องเจอก็มากขึ้นเช่นกัน ทำให้การใช้ชีวิตหรือการทำงานนั้นไม่ยาก แต่การรับมือกับผู้คนที่ต้องเจอนั่นแหละที่ยาก

นิยามคำว่าอยู่เป็นของคุณคืออะไร?

คำว่า "อยู่เป็น" ต้องบอกก่อนว่า ไม่ใช่คำในแง่ลบเสมอไป แต่คือคนที่ balance เป็น - อย่างทักษะการเป็นหัวหน้างานในแต่ละระดับก็ต่างกัน ทั้งเก่งงาน เก่งคน เก่งคิด ซึ่งถ้าเราไม่สามารถปรับตัวเองให้เข้ากับ 3 ส่วนให้ได้ มันถือเป็นการบังคับผู้บังคับบัญชาให้เลือก จะเอาคนเก่งงานแต่ไม่เก่งคน หรือจะเอาคนพูดเก่งแต่ทำงานไม่เก่ง แทนที่เราจะเป็นคนเหล่านั้น เราต้องเป็นคนที่พร้อมกับกฎเกณฑ์ขององค์กร หรือเรียกว่า "อยู่เป็น"

เรื่องบางเรื่องเราสามารถเลือกที่จะเงียบ และ เลือกที่จะพูดได้ พูดเมื่อสิ่งนั้นเกิดประโยชน์ เงียบเมื่อพูดไปแล้วไม่เกิดประโยชน์ ทำไมเวลาคนมารวมตัวกันเยอะ ๆ ต้องมีการเมืองเกิดขึ้น Polictics จริง ๆ แล้วเกิดเมื่ออยู่รวมตัวกัน 2 คนขึ้นไป ในที่นี้คือโฟกัสถึงข้อตกลง เพื่อให้อยู่ร่วมกันให้ได้ และคนที่อยู่ต้องปรับตัวให้เข้ากับระบบ

Politics คืออะไร?

Politics ตามพจนานุกรม คือ การรวมกลุ่มเพื่อตัดสินใจ (ไม่ได้บอกว่าดีหรือไม่ดี) เพราะฉะนั้น "ที่ไหนมีการตัดสินใจ ที่นั่นเลยมีการเมือง" แต่ Politics เยอะ มักจะเกิดตอนบริษัทสงบ ราบรื่น และ Politics น้อยเมื่อเกิดวิกฤต เหมือนกับคำที่ว่า ยามศึกเรารบ ยามสงบเราชอบทะเลาะกันเอง นิยามคำว่าการเมืองก็เปลี่ยนไปหรือไม่ในอายุวัยที่ต่างกัน ซึ่งมีทุกที่ ขึ้นกับว่าเรานิยามคำว่าการเมืองแบบไหน - บางคนให้นิยามว่าการเมืองคือ การมี hidden agenda การมีผลประโยชน์แอบแฝง บ้างก็ว่าคือการเมืองที่ทำงาน

อยู่กันแบบพี่น้องกาสะลองซ้องปีบ

คำนี้มีมาเรื่อยๆ และเชื่อว่าหลายๆคนคงเคยเจอ ไม่ว่าจะเป็น พี่น้องนะ แต่ลับหลังคือกดขี่ พี่น้องนะแต่สั่งงานแบบไม่คิด พี่น้องนะแต่เมื่อเกิดข้อผิดพลาดกลับโยนความผิด ทำให้เราเกิดการตั้งคำถามว่า พี่น้องแบบใด? แล้วถ้าแก้ไม่ได้ล่ะจะต้องปรับตัวยังไง?

จัดการเรื่องการเมืองในองค์กรอย่างไร

ทุกคนต้องยึดเอาวัตถุประสงค์ขององค์กรเป็นหลัก ผู้นำต้องมี empathy (ความเข้าอกเข้าใจ)  กับลูกน้อง ในขณะเดียวกันพนักงานในองค์กรต้องรู้ว่ากฎเกณฑ์ในองค์กรคืออะไร และใครมีน้ำหนักในการตัดสินใจ ใดๆแล้วการมีที่พึ่งและไม่หลอกใช้นั้นมันควรเป็นสิ่งพื้นฐานที่ทุกคนต้องมี ในความเป็นจริงที่โหดร้าย อย่างน้อยๆก็อยากให้นึกถึงคำว่า "เพื่อนมนุษย์" และจะอยู่กันได้ง่ายยิ่งขึ้น ยอมรับความจริงและเปิดใจ เข้าใจให้มากยิ่งขึ้น

ในฐานะพนักงานหรือคนในองค์กร จะทำอย่างไรให้อยู่รอดและเติบโต ในองค์กรที่ (การเมือง) ซับซ้อน สร้างภาพจำและ identity ที่ดีตั้งแต่แรก สร้าง personal branding ไประหว่างทาง เพื่อสร้างความไว้ใจให้คนรอบตัว และทำให้คนหยิบยื่นโอกาสมาให้ เหมือนกับการปลูกต้นไม้ในใจคน และ เติบโตในกระถางที่แม้จะไม่สวยแต่ดอกไม้ (ในใจ) เราเบ่งบาน สร้างกัลยาณมิตรที่ดี - ทำให้เราถูกห้อมล้อมด้วยคนที่พร้อมส่งเสริมเรา ทั้งเจ้านาย mentors เพื่อนร่วมงานและลูกน้อง ต้องเป็นน้ำไม่เต็มแก้ว พร้อมเรียนรู้ ทำให้คนอยากสอน อยากให้คำแนะนำ พร้อมทั้งเป็นหัวหน้าที่ดีให้น้องอยากทำงานด้วย

สุดท้าย ไม่ว่ายังไงเราก็ต้อง "อยู่ให้เป็น เย็นให้พอ รอวันแก้แค้น" ไม่ใช่  แต่รู้ไว้ว่าคำว่า "การเมือง" คำเดียวแต่แฝงไปด้วยความหมายและความรู้สึกมากมาย แม้อยากจะหนีไปแค่ไหนก็ต้องยอมรับว่ามันแฝงตัวอยู่ในทุกที่ไม่เว้นแม้แต่ออฟฟิศหรือกลุ่มสังคมอื่นๆ หากเราไม่สามารถหลบเลี่ยงกลไกของสังคมพ้น การ "อยู่ให้เป็นและอยู่ให้รอด" อาจเป็นคำตอบสุดท้าย

ที่มา : เพจ Mission to the moon

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related