svasdssvasds

อิสราเอล รบกับ ปาเลสไตน์ สาเหตุ เพราะอะไร? รู้จักกลุ่มฮามาส จุดปัญหาฉนวนกาซา

อิสราเอล รบกับ ปาเลสไตน์ สาเหตุ เพราะอะไร? รู้จักกลุ่มฮามาส จุดปัญหาฉนวนกาซา

อิสราเอล รบกับ ปาเลสไตน์ สาเหตุ เพราะอะไร? รู้จักกลุ่มติดอาวุธฮามาส ที่มาพื้นที่ปัญหา ฉนวนกาซา - เยรูซาเร็ม กับสงครามเชื้อชาติ ศาสนา ที่ขัดแย้งกันมานับพันปี

Cr. jpost.com

ที่มา นครศักดิ์สิทธิ์ "เยรูซาเล็ม" เป็นของใคร?

เดิมที "ชาวยูดาห์" หรือชาวยิว ครอบครองพื้นที่มานานหลายร้อยปี โดยมีนครศักดิ์สิทธิ์ "เยรูซาเร็ม" พื้นทางตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดนเป็นจุดศูนย์กลาง แต่จากการที่ที่ตั้งประเทศอยู่ในจุดเชื่อมโยม 3 ทวีป คือ แอฟริกา-เอเชีย-ยุโรป ทำให้ได้รับผลกระทบจากยุคล่าอาณานิคมจนชาวอิสราเอลต้องออกจากพื้นที่ อพยพกระชายไปทั่วโลก พร้อมความหวังว่าจะกลับมาถือครองดินแดนของตนอีกครั้ง

ต้นศตวรรษที่ 16 เยรูซาเลมและดินแดนอิสราเอลเดิมตกเป็นเมืองขึ้นของมหาจักรวรรดิออตโตมัน พร้อมกำเนินประเทศ "ปาเลสไตน์" ที่เต็มไปด้วยประชาชนอาหรับ ที่อยู่ร่วมกันกับ ชาวโรมัน กรีก เปอร์เซีย รวมถึงความหลากหลายด้านศาสนาทั้ง ศาสนายูดาห์, ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม ก่อนออสโตมันจะล่มสลาย และถูกจักวรรดิอังกฤษเข้าครอบครองพื้นที่ดังกล่าวแทน

 

 

 

Cr. colorado.edu

ชนวนปัญหา อิสราเอล - ปาเลสไตน์ สงครามโลกครั้งที่ 1

ด้วยความที่อังกฤษต้องการกำลังในการสู้รบจึงสนธิสัญญาบัลฟอร์กับชาวยิว ที่ระบุใจความสำหรับว่า หากชาวยิวช่วยรบ และอังกฤษชนะสงครามจะยกดินแดนปาเลสไตน์ให้ นั่นทำให้ชาวยิวทั่วโลกร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างเต็มที่จนชนะสงครามในที่สุด นั่นทำให้ชาวยิว กลับคืนสู่ปาเลสไตน์อย่างเป็นทางการ "ในรอบพันปี" ตามความตั้งใจสูงสุดในฐานะเจ้าของพื้นที่เดิม

จากไทม์ไลน์ดังกล่าวทำให้ "ปาเลสไตน์" ซึ่งเข้ามาอาศัยในพื้นที่กว่าร้อยปีมองว่านี่คือดินแดนของอาหรับ และยอมรับไม่ได้หาก "ชาวยิว" ซึ่งเป็นศาสนาอื่นจะเข้ามาถือครอง และเปลี่ยนแปลงขยบธรรมเนียมเดิม

Cr. aljazeera.com

หลับจบสงครามโลกครั้งที่ 2 สหประชาชาติ หรือยูเอ็นถูกก่อตั้งขึ้น และได้เข้ามาระงับข้อพิพาทของ 2 ชาติ ปี 1947 ยูเอ็นมีมติแบ่งปาเลสไตน์ออกเป็น 2 ส่วน แบ่งแยกชาวยิว กับปาเลสไตน์ออกจากกัน โดยมี "เยรูซาเลม" อยู่ตรงกลาง และกำหนดให้เป็น "เมืองนานาชาติ" ที่ทุกศาสนาอยู่ร่วมกันอย่างไร้ข้อแม้ ส่วนชาวยิวก็ถือโอกาสประกาศเอกราชของรัฐตัวเองขึ้น โดยตั้งชื่อประเทศว่าอิสราเอล ในวันที่ 14 พฤษภาคม 1948 ที่อยู่ท่ามกลางรัฐอิสลามทั้งหมดทั้ง อียิปต์ เลบานอน จอร์แดน ซีเรีย และ ซาอุดีอาระเบีย 

อย่างไรก็ตามปาเลสไตน์ไม่เห็นด้วยกับมติแบ่งดินแดน พวกเขาไม่ต้องการอยู่ร่วมกับยิว และมองว่าเป็นการเข้ามายึดพื้นที่โดยมิชอบจนเกิดการสู้รบกันหลายครั้ง ส่วนอิสราเอลก็สร้างกองกำลังตอบโต้อย่างแข็งแกร่งจนได้รับชัยชนะหลายครั้ง 

ปี 1967 สงครามครั้งสำคัญที่อิสราเอล ต้องสู้รบกับ อียิปต์ เลบานอน ซีเรีย จอร์แดน และอิรัก ก่อนจะได้รับชัยชนะ และบุกเข้ายึดครองเยรูซาเลมตะวันออก เขตเวสต์แบงก์ ฉนวนกาซา ที่ราบสูงโกลันของซีเรีย และแหลมไซนาย ทำให้ชาวยิวได้กลับมาถือครองเนรูซาเร็มเป็นครั้งแรกในรอบ 2,000 ปี 

จากนั้นท่าทีของหลายประเทศดูอ่อนลงยกเว้น "ปาเลสไตน์" ที่จัดตั้ง "องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์" หรือ PLO (Palestine Liberation Organization) ใช้กลยุทธ์สู้รบแบบกองโจร เน้นการเข้าไปสร้างความไม่สงบในอิสราเอลจนเกิดความตึงเครียดอย่างหนัก ก่อนที่อิสราเอลจะตอบโต้ด้วยการขับไล่ชาวปาเลสไตน์จนต้องถอยร่นเข้าไปในพื้นที่ฉนวนกาซา และเขตเวสต์แบงค์ ทำให้เกิดการประท้วงนานถึง 6 ปี จนมีผู้เสียชีวิตกว่า 2,000 คน ทำให้นานาชาติต้องเข้ามาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่ดูจะรุกรามอีกครั้ง จนได้เป็น "ข้อตกลงออสโล" แบ่งเวสต์แบงก์ออกเป็น 3 เขต พร้อมให้ชาวปาเลสไตน์ได้ปกครองตนเองบางส่วน 

ต่อมาปาเลสไตน์ได้ถือกำเนิด "กลุ่มฮามาส (Hamas)" กองกำลังติดอาวุธ ที่มีนโยบายปฏิเสธการเจรจาอย่างสันติทุกรูปแบบ พร้อมส่งมือระเบิดพลีชีพเข้าไปปฏิบัติการในอิสราเอล จนทำให้ความพยายามในการยุติความขัดแย้งย่ำแย่ลงอย่างหนัก

ปี 2000 ผู้นำฝ่ายค้าน พร้อมกองกำลังทหาร ตำรวจ ของอิสราเอล เดินเข้าไปเยี่ยมชมมัสยิดอัลอักซอในนครเยรูซาเลม สร้างความไม่พอใจแก่ปาเลสไตน์ที่มองว่าเป็นการดูหมิ่นทางศาสนา จนเกิดการสู้รบที่กินเวลานานกว่า 5 ปี 

ปี 2006 ปาเลสไตน์ ทำการเลือกตั้ง และผลที่ออกมา กลุ่มฮามาสได้รับชัยชนะ นั่นแสดงให้เห็นว่าประชาชนในพื้นที่ไม่ต้องการอยู่ร่วมกับอิสราเอล จนกลุ่มฮามาสใช้ความรุนแรงต่อต้าน และขับไล่ชาวอิสราเอลที่อยู่ในฉนวนกาซาจนต้องย้ายออกจากพื้นที่ ส่วนอิสราเอลก็ตอบโต้ด้วยการสร้างกำแพงยักษ์บริเวณชายแดนฉนวนกาซา ตัดขาดประชาชนปาเลสไตน์จากทุกความช่วยเหลือจากโลกภายนอก

Cr. aljazeera.com

ซึ่งสาเหตุความขัดแย้งล่าสุด อิสราเอล - ปาเลสไตน์ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2566 ซึ่งเป็น "วันซิมหัต โทราห์" (Simchat Torah) วันสำคัญทางศาสนาของชาวยิว ที่กลุ่มฮามาสปล่อยจรวดนับพันโจมตีอิสราเอล พร้อมกลุ่มติดอาวุธแทรกซึมเข้าไปในอิสราเอลเพื่อสังหารประชาชน และจับเป็นตัวประกัน 

ด้าน เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีของอิสราเอล ประกาศว่าให้ประเทศเข้าสู่สงคราม พร้อมเตือนให้ประชาชนเร่งอพยพออกจากพื้นที่ฉนวนกาซา ซึ่งถือการกระทำครั้งนี้ถือเป็นความรุนแรงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในหลายทศวรรษ

 

 

Cr. bangkokbiznews.com , prd.go.th , aljazeera.com

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

 

related