svasdssvasds

จาก “โน้ส อุดม” ถึง “น้ำตาอีสาน” เมื่อชนบทมีแต่ความยากแค้นมากกว่าพอเพียง

จาก “โน้ส อุดม” ถึง “น้ำตาอีสาน” เมื่อชนบทมีแต่ความยากแค้นมากกว่าพอเพียง

จาก “โน้ส อุดม” ถึง “น้ำตาอีสาน” เมื่อชนบทมีแต่ความยากแค้นมากกว่าพอเพียง ในวันที่ความพอเพียงของเรากับของเขาไม่เท่ากัน

SHORT CUT

  • "โน้ส อุดม" ใส่เดี่ยว ก็มีคนหวาดเสียวจากหลายวงการ กลายเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์เมื่อ โน้ส ออกมาพูดถึงว่า เขาไปใช้ชีวิตแบบพอเพียง อยู่กับธรรมชาติแล้วไม่ชอบ
  • ความพอเพียงคืออะไรทำไมทุกคนต่างพูดถึงและเป็นดราม่าได้
  • สุดท้ายแล้วเป็นเพียงมุมมองความคิดที่แตกต่างของแต่ละคน เพราะความพอเพียงของเราไม่เท่ากันขอแค่อย่ายัดเยียดก็พอ

จาก “โน้ส อุดม” ถึง “น้ำตาอีสาน” เมื่อชนบทมีแต่ความยากแค้นมากกว่าพอเพียง ในวันที่ความพอเพียงของเรากับของเขาไม่เท่ากัน

แค่ "โน้ส อุดม" ใส่เดี่ยว ก็มีคนหวาดเสียวจากหลายวงการ กลายเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ หลังจาก โน้ส อุดม แต้พานิช นักพูดชื่อดังของเมืองไทย ได้ร่วมกับ Netflix ออกเดี่ยวสเปเชียลในตอนที่ชื่อว่า ซูเปอร์ซอฟต์พาวเวอร์ โดยมีตอนหนึ่งที่โน้สออกมาพูดถึงว่า เขาไปใช้ชีวิตแบบพอเพียง อยู่กับธรรมชาติแล้วไม่ชอบ

จาก “โน้ส อุดม” ถึง “น้ำตาอีสาน” เมื่อชนบทมีแต่ความยากแค้นมากกว่าพอเพียง

ทำให้สังคมตั้งคำถามว่าชนบทนั้น มีความสุขจากความพอเพียงจริงหรือไม่ มีความเป็นอยู่ที่ดีจริงหรือไม่ หรือสุดท้ายแล้วเป็นภาพที่ชนชั้นกลางในเมืองกรุง พยายามสร้างภาพให้ชนบทเป็นเช่นนั้น

SPRiNG ชวนมองเหตุการณ์จาก “โน้ส อุดม” ถึงบทเพลง “น้ำตาอีสาน” ของ พี่ เป้า สายัณห์ สัญญา เมื่อชนบทมีแต่ความยากแค้นมากกว่าพอเพียง เพราะชนบทอาจไม่ได้เป็นแบบที่คุณคิดก็ได้

จาก “โน้ส อุดม” ถึง “น้ำตาอีสาน” เมื่อชนบทมีแต่ความยากแค้นมากกว่าพอเพียง

พื้นหลังเพลงน้ำตาอีสาน

น้ำตาอีสาน ขับร้องโดย สายัณห์ สัญญา แต่งคำร้องและทำนองโดย ครูชลธี ธารทอง บันทึกเสียงปี พ.ศ.2518 ส่วนของทำนอง ครูชลธีนำมาจากเพลงไทยเดิม "พม่าแปลง"

เนื้อหาของเพลงนั้น สะท้อนภาพของชนบทได้ดีเป็นอย่างยิ่ง ผิดกับภาพเมืองกรุง ณ ขณะนั้นที่เห็นได้จากในปีนี้เริ่มมีการก่อตั้งตลาดหลักทรัพย์ บริบทการเมืองของประเทศอยู่ในยุคสงครามเย็นที่กลัวภัยคอมมิวนิสต์ ซื้อแนวคิดเศรษฐกิจแบบทุนนิยม และมีประชาธิปไตยสลับไปกับเผด็จการทหาร และหลังจากเพลงนี้ออกได้เพียง 1 ปี ก็เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ขึ้น

ถอดรหัสเพลง น้ำตาอีสาน

เนื้อเพลงของน้ำตาอีสานที่ขึ้นต้นมาก็ทำเอาน่าสนใจแล้ว เพราะเนื้อเพลงระบุว่า "ดินแยกแตกระแหงต้นไม้เฉาใบแห้งแรงไม่มีฝืนมองไร่นาน้ำตาปรี่ไม่มีน้ำจะทำนาโถเวรบันดาลให้ชาวอีสานสะอื้นกลืนกล้ำอุราไร่ปอแห้งตาย"

สะท้อนถึงชนบทในภาคอีสาน ที่มีความแห้งแล้ง จนดินแตกปลูกอะไรก็ไม่ขึ้น แม้กระทั่งต้นปอที่ทนต่อความแห้งแล้งก็ไม่สามารถทนได้ จนตาย เป็นภาพลักษณ์ของชนบทอีสานที่สะท้อนผ่านเพลงออกมา แสดงว่าในยุคนั้นเกษตรกรที่ถึงแม้จะใช้ชีวิตพอเพียงก็ไม่สามารถอยู่ได้ เพราะสภาพอากาศที่แห้งแล้ง

จาก “โน้ส อุดม” ถึง “น้ำตาอีสาน” เมื่อชนบทมีแต่ความยากแค้นมากกว่าพอเพียง

ขณะที่หน้าน้ำหรือหน้าฝนก็ไม่สามารถทำนาได้อย่างสบายใจ เพราะเกิดอุทกภัยน้ำป่าดังที่ปรากฏณ์ในเนื้อเพลงว่า "โอ้เวรซ้ำกระหน่ำกรรมอีกหน น้ำนาป่ารวมท่วมปี้ป่น บาปเบื้องบนหนุนซ้ำประดัง โถเทวดาท่านจะรู้ไหมว่าพวกข้าเซซัง หน้าแล้งขาดนาน้ำตาหลั่ง"

บทเพลงท่อนนี้สะท้อนถึงชีวิตชาวชนบทอีสานที่ไม่ได้สวยหรูอย่างที่ชนชั้นกลาง หรือนายทุนในกรุงเทพฯ คิด เพราะฉะนั้นสภาพธรรมชาติในพื้นที่ที่เขาได้รับผลกระทบ จนเขาใช้ชีวิตไม่ได้ ไม่ต้องพูดถึงหลักพอเพียงที่พวกเขาไม่สามารถทำได้ดั่งจินตนาการของคนกรุงเทพฯ

จนต้องร้องขอข้าวกินสะท้อนผ่านเนื้อเพลงที่ว่า "เพื่อนพี่น้องไทยข้าโปรดปราณีขอเพียงข้าวเกลือช่วยเหลือที่นี่ไม่มีแล้วข้าวจะกินน้ำตาคนไทยนี่ชาวอีสานร้องไห้เลือดใจหลั่งรินแม้ชีพมลายนอนตายดิ้นช่วยฝังดินนึกว่าเอาบุญทนอยู่สู้ชะตาเพื่อนพี่น้องไทยข้าโปรดปราณีขอเพียงข้าวเกลือช่วยเหลือที่นี่ไม่มีแล้วข้าวจะกินน้ำตาคนไทยนี่ชาวอีสานร้องไห้เลือดใจหลั่งรินแม้ชีพมลายนอนตายดิ้นช่วยฝังดินนึกว่าเอาบุญ"

จาก “โน้ส อุดม” ถึง “น้ำตาอีสาน” เมื่อชนบทมีแต่ความยากแค้นมากกว่าพอเพียง

เป็นการบอกเล่าเรื่องราวของชนบทที่ต้องการบอกเล่าเรื่องราวของตัวเอง ว่าแม้กระทั่งข้าวไม่มีกิน จนต้องร้องขอจากเพื่อนร่วมชาติด้วยกันเอง แล้วคุณคิดว่าพวกเขาที่ยังต้องเผชิญกับความขาดแคลน จะพอเพียงได้จากอะไรบ้าง? 

2518 พอเพียงที่ไม่เพียงพอ

อย่างที่กล่าวมาแล้วว่าในปี 2518 เป็นยุคที่แต่งเพลงน้ำตาอีสาน สะท้อนชีวิตชนบทภาคอีสานของไทย แต่ในทางกลับกันบริบทในกรุงเทพฯ มีความแตกต่างจากเนื้อเพลงอย่างสิ้นเชิง

เพราะวิกฤติเศรษฐกิจครั้งแรกของประเทศไทย นับจากการเปิดตลาดหุ้นครั้งแรกในปี 2518 จากนั้นไม่นานตลาดหุ้นเริ่มพังทลายในปี 2521 มีการลดค่าเงินบาท เงินไหลออกจากระบบ สภาพคล่องต่ำลง ทางการเข้าควบรวมกิจการ 25 ไฟแนนซ์และเครดิตฟองซิเอร์ 25 แห่ง ที่เรารู้จักกันในชื่อโครงการ 4 เมษายน 2527 เอกชนล้มละลายเกิดหนี้เสียจำนวนมาก คนตกงาน เงินเฟ้อสูง ไทยเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจาก IMF เป็นครั้งแรก

สะท้อนภาพของชนชั้นกลางและชนชั้นนำที่กำลังเติบโตจนสามารถเปิดตลาดหุ้นเพื่อระดมทุน จนลืมคำว่าพอเพียง ที่นำไปสู่เหตุการณ์วิกฤติทางการเงินตลาดหุ้นพังทลายในเวลาต่อมา เพราะพวกเขานั้นเข้าสู่ทุนนิยมเต็มรูปแบบที่ต้องเชื่อมโยงเศรษฐกิจกับทั่วโลก ในขณะที่โลกหนึ่งในชนบทแม้แต่มีกินยังจะไม่มี

เป็นภาพสะท้อนโลก 2 ใบใน 1 ประเทศที่มีความแตกต่างกัน แต่ขนาดเดียวกันภาพลักษณ์ชนบทพอเพียงกลับถูกทำให้เป็นมายาคติมากกว่าความจริงอย่างเห็นได้ชัดในเวลาต่อมา 

เราข้ามพ้นความพอเพียงได้แล้วหรือยัง

คำถามที่ตามมาคือสังคมไทยข้ามพ้นความพอเพียงได้หรือยัง แต่คำว่าพอเพียงนั้น ก็ต้องย้อนกลับไปดูว่าเรามีทรัพยากรในครัวเรือน ที่สามารถเลี้ยงปากเลี้ยงท้องได้หรือยัง คำตอบคือยัง เพราะคำว่าพอเพียงต้องไม่มีคำว่าจน แต่ประเทศไทยยังปรากฏว่ามีพื้นที่ที่ยากจนเรื้อรังอยู่เลย

เพราะข้อมูลในปี พ.ศ.2565 พบว่าในประเทศไทยยังมีคนจนอยู่ถึง 3.8 ล้านคน และยังมีคนจนเรื้อรังถึง 6 จังหวัดได้แก่ แม่ฮ่องสอน นราธิวาส กาฬสินธุ์ ปัตตานี ตาก และศรีสะเกษ ซึ่งหากเราจะพอเพียงได้ควรจะแก้ปัญหาความยากจนให้ได้ก่อน

เพราะอะไรถึงมีมายาคติว่าชนบทต้องทฤษฎีพอเพียง

เกิดขึ้น 2517 ในวันพระราชทานปริญญาบัตรที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และขึ้นสู่จุดสูงสุดในปี พ.ศ.2541 หลังยุควิกฤติต้มยำกุ้ง จนคนเมืองนำแนวคิดมาใช้

แต่มีข้อโต้แย้งของ แอนดรูว์ วอล์กเกอร์ (Andrew Walker) นักมานุษยวิทยาจาก Research School of Pacific and Asian Studies มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (ANU) ว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเครื่องมือทางอุดมการณ์ถูกโฆษณาจนกลายเป็นเครื่องมือกำกับทางศีลธรรม เพราะอันที่จริงแล้วความปรารถนาของชนบทเปลี่ยนไปหลังจากพรรคไทยรักไทย เพราะชนบทต้องการให้ลูกหลานได้รับการศึกษาที่ดี ต้องการที่อยู่อาศัย ชีวิตที่ดีและใช้ชีวิตที่หลากหลาย ไม่ต่างจากคนในเมือง

อุดมการณ์นี้เติบโตเมื่อมันสอดรับกับแนวคิดของชนชั้นนำและชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ ที่ต้องการเห็นภาพดีงามในชนบทเพราะสิ่งที่ตนเองทำอยู่เป็นสิ่งที่ตรงข้าม เช่นการเป็นหนี้บัตรเครดิต จนนักวิชาการผู้นี้ขนานนามให้ว่าประชาธิปไตยแบบพอเพียง เป็นสิ่งที่กดให้ชาวนาหรือคนชนบทห้ามทะเยอทะยานทั้งในเรื่องเศรษฐกิจและการเมืองขณะที่เจ้าสัวหรือเศรษฐีในกรุงเทพฯ สามารถทำได้

จาก “โน้ส อุดม” ถึง “น้ำตาอีสาน” เมื่อชนบทมีแต่ความยากแค้นมากกว่าพอเพียง

นี่จึงเป็นหลักการที่ย้อนแย้งอย่างเห็นได้ชัด ผ่านเพลงน้ำตาอีสานที่มีบริบทในยุคที่เกี่ยวเนื่องกัน และขณะเดียวกัน คำว่าพอเพียง กลายเป็นเครื่องมือของชนชั้นนำ ชนชั้นกลาง เศรษฐีในเมืองกรุงที่นำไปใช้กับคนชนบทเท่านั้น

อยู่ที่ว่าใครจะมองและจะคิดอย่างไร จึงไม่สมควรที่จะเป็นดราม่า และไม่แปลกที่ โน้ส อุดม จะไม่อินกับพอเพียง เพราะเขามีชีวิตเป็นคนเมืองกรุง และเขามีสิทธิที่จะคิดหรือจะพูด เพราะคำว่าพอเพียงของคนเรานั้นไม่เท่ากัน แค่ชนบทกับเมืองกรุงก็ต่างกันแล้วใช่ไหมล่ะครับ แด่ดราม่าพอเพียง

แหล่งที่มา

101 World / มิติหุ้น / กรุงเทพธุรกิจ1 / กรุงเทพธุรกิจ2 / ประชาไท

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related