svasdssvasds

แอสตร้าเซนเนก้า ยอมรับวัคซีนทำให้เกิดลิ่มเลือด

แอสตร้าเซนเนก้า ยอมรับครั้งแรกวัคซีนโควิด มีผลข้างเคียงทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือด-เกล็ดเลือดต่ำ แม้โอกาสเกิดจะเป็นไปได้ยาก

"แอสตราเซเนกา"  บริษัทผลิตยาและวัคซีนสัญชาติสวีเดน - อังกฤษ ออกมายอมรับครั้งแรก ว่าวัคซีนที่บริษัทพัฒนาร่วมกับ มหาวิทยาลัย อ็อกฟอร์ด และผลิตโดยสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย มีผลข้างเคียง ทำให้เกิดลิ่มเลือด และ เกล็ดเลือดต่ำ หรือ TTS แม่จะเกิดขึ้นได้ยากก็ตาม

ในตอนนั้นมีการวิจัย ระหว่างที่โควิด-19 แพร่ระบาด พบว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพสามารถป้องกัน ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ได้ 60-80% ด้วยกัน แต่ในขณะเดียวกันก็อาจทำให้ผู้ที่ได้รับวัคซีน มีผลข้างเคียงเป็นภาวะลิ่มเลือด และอาจทำให้เสียชีวิตได้

นอกจากนี้ องค์กรอนามัยโลกยังออกมายืนยันว่า โควิชิลล์ อาจมีผลข้างเคียงที่ทำให้เสียชีวิตได้ มีรายงานในปี 2564 พบผู้ป่วยที่มีภาวะลิ่มเลือดอุดตัน และเกล็ดเลือดต่ำ หลังจากได้รับวัคซีนชนิดที่ใช้เชื้อไวรัสเป็นพาหะ ซึ่งอยู่ในวัคซีน "แอสตราเซเนกา" และ จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน

ซึ่งมีการฟ้องร้องเกิดขึ้นในสหราชอาณาจักร เป็นการฟ้องร้องแบบกลุ่ม และมีการเรียกค่าเสียหายกว่า 100 ล้านปอนด์หนึ่งในคนที่ได้รับวัคซีนอ้างว่า หลังจากฉีดแล้ว ได้เกิดภาวะลิ่มขึ้นกับเขาบริเวณสมอง จนไม่สามารถกลับไปทำงานได้อีก

อาการของคนที่ภาวะลิ่มเลือด

จะมีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย แขน ขา บวมแดง ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียนและมีอาการถ่ายเป็นเลือด

สำหรับประเทศไทย ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค มีการรายงานผลการฉีดวัคซีนโควิด
ในช่วง 28 ก.พ. 2564 – 10 มี.ค. 2566 โดยวัคซีนที่คนไทยฉีดมากที่สุด ณ ตอนนั้น คือไฟเซอร์  รองลงมาคือ แอสตร้าเซนเนก้า โดยฉีดไปทั้งหมด 48,718,241 โดส ความเสี่ยงที่จะเกิดมีน้อยมาก จากผลวิจัยพบว่า ผู้ที่รับวัคซีนที่มีอายุ ต่ำกว่า 50 ปี จะมีโอกาสเกิดลิ่มเลือดได้ราว 1 ใน 50,000 คน เท่านั้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

related