svasdssvasds

"รถร่วม" ยื่นเงื่อนไข 4 ข้อ! ขอสัมปทานเดินรถเมล์ 14 ปี

"รถร่วม" ยื่นเงื่อนไข 4 ข้อ! ขอสัมปทานเดินรถเมล์ 14 ปี

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

 

ผู้ประกอบการรถร่วมเสนอรัฐบาลรับเงื่อนไข 4 ข้อ ก่อนตั้งบริษัทร่วมเดินรถโดยสารสาธารณะรูปแบบใหม่

วันที่ 18 ส.ค. 60 | ในขณะที่กรมการขนส่งทางบก ปฏิรูปรถเมล์ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยเฉพาะการบริหารเส้นทางรถเมล์ใหม่ รวมถึงการให้สัมปทานการเดินรถเมล์ใหม่ มีความเคลื่อนไหวของผู้ประกอบการรถร่วมที่จะตั้งบริษัทบริหารการเดินรถ

 

 

นายแพทย์บุญ วนาสิน ประธานกรรมการ บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกับ “สปริงนิวส์” ว่า ผู้ประกอบการรถร่วม 34 บริษัท เตรียมลงทุน 3,000 ล้านบาท ตั้งบริษัทร่วมทุนบริหารการเดินรถเมล์ โดยต้องการให้รัฐสนับสนุน เพื่อให้การเดินรถมีประสิทธิภาพและลดภาระขาดทุน

 

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการรถร่วมได้ยื่นข้อเสนอให้รัฐพิจารณา 4 ข้อ คือ

1.ยกเว้นภาษี หรือ ลดภาษีนำเข้าชิ้นส่วนรถเมล์ไฟฟ้า เหลือร้อยละ 5

2.ใช้บัตรแมงมุมในรถร่วมบริการ เพื่อช่วยผู้มีรายได้น้อย

3.รัฐสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ 2% วงเงิน 10,000 ล้านบาท

4.ขยายสัมปทานเดินรถจาก 7 ปี เป็น 14 ปี เพราะ 7 ปีแรก เป็นช่วงคืนทุน ส่วน 7 ปีหลัง เป็นช่วงที่จะมีกำไรร้อยละ 15 ต่อปี

 

สำหรับแนวทางบริหารไม่ให้ขาดทุน จะนำไอทีเข้ามาใช้งาน, ใช้ E-Ticket และลดต้นทุนกระเป๋ารถเมล์, จ้างพนักงานขับรถแบบพาร์ทไทม์ ที่ให้ค่าตอบแทนสูง และควบคุมค่าซ่อมรถเมล์ โดยประเมินค่าซ่อมรถเมล์ 3,000 คัน อยู่ที่ปีละ 9,000 บาท

ส่วนค่าโดยสารกำหนดตั๋วรายวัน 30 บาท เดินทางได้ตลอดวัน โดยถ้าบริหารให้มีผู้โดยสาร คันละ 400 คน/วัน จะมีรายได้คันละ 12,000 บาท/วัน ก็จะไม่ขาดทุน

ขณะที่ ราคารถเมล์ไฟฟ้าที่จะใช้จะนำเข้ามาชิ้นส่วนมาประกอบในประเทศต้นทุน คันละ 10 ล้านบาท ถูกกว่านำเข้ารถทั้งคันที่มีราคา 15 ล้านบาท ไม่รวมภาษีนำเข้าร้อยละ 200

 

related