svasdssvasds

"ลิตเติ้ลโอซาก้า" ผลผลิตนิคมอุตสาหกรรม

"ลิตเติ้ลโอซาก้า" ผลผลิตนิคมอุตสาหกรรม

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

 

นิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคตะวันออกขยายและเติบโตรวดเร็ว จากกลุ่มนักลงทุนอันดับหนึ่งจากญี่ปุ่น จึงส่งผลให้พื้นที่อย่างอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี กลายเป็นเมืองที่ได้รับฉายาว่า “ลิตเติ้ลโอซาก้า”

"ลิตเติ้ลโอซาก้า" ผลผลิตนิคมอุตสาหกรรม

ปลาคาร์ฟ โคมไฟ สะพานแดงข้ามคลอง หรือไม่เว้นแม้กระทั่งวัดทองที่เกียวโต คือสัมผัสแรกที่ให้ความรู้สึกราวกับเดินเล่นในหมู่บ้านโบราณของญี่ปุ่น โดยที่ไม่ต้องเดินทางไปถึงประเทศญี่ปุ่น ซึ่งสิ่งก่อสร้างเหล่านี้สะท้อนไลฟ์สไตล์ของคนไทยที่ชื่นชอบวิถีของชาวอาทิตย์อุทัย ที่เข้ามาอยู่ในเมืองไทยได้อย่างดีเยี่ยม

"ลิตเติ้ลโอซาก้า" ผลผลิตนิคมอุตสาหกรรม

เจปาร์ค หมู่บ้านญี่ปุ่นจำลองสไตล์ดั้งเดิม บนเนื้อที่กว่า 20ไร่ ย่านถนนสายศรีราชา จังหวัดชลบุรี อีกหนึ่งแหล่งรวมของชาวญี่ปุ่นที่มาทำงานในศรีราชา และด้วยการขยายตัวของนิคมอุตสาหกรรมในศรีราชา และนโยบายในการผลักดันการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี อย่างเต็มรูปแบบ จึงไม่แปลกที่ชาวญี่ปุ่น จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้ามาปักหลัก ลงทุน ทำงานในนิคม ตามการเติบโตทางเศรษฐกิจ

"ลิตเติ้ลโอซาก้า" ผลผลิตนิคมอุตสาหกรรม

ขณะที่ชาวชลบุรี เล่าว่า การมาของนิคมอุตสาหกรรม คือสิ่งที่ดี เพราะทำให้มีรายได้มากขึ้น และไม่ต้องเดินทางไปทำงานไกลบ้าน อีกทั้งตัวเธอและครอบครัวก็ได้เรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นไปด้วย โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

"ลิตเติ้ลโอซาก้า" ผลผลิตนิคมอุตสาหกรรม

ทั้งนี้ไม่เพียงเจปาร์คที่แสดงถึงความเป็นคอมมูนิตี้คนญี่ปุ่น เพราะจากการสำรวจสองข้างทางถนนศรีราชานคร ก็เต็มไปด้วยแหล่งบันเทิงที่แขวนป้ายหน้าร้านเป็นภาษาญี่ปุ่นจำนวนมาก ซึ่งภาพเหล่านั้นตอกย้ำโดยปฏิเสธไม่ได้ว่า มันคือผลพวงทางเศรษฐกิจ ที่ถูกขนานนามว่า ลิตเติ้ลโอซาก้า สร้างขึ้นเพื่อรองรับชาวอาทิตย์อุทัยให้หายคิดถึงบ้าน

related