svasdssvasds

รายงาน : มหาอุทกภัยครั้งใหญ่ "ใต้ -อีสาน"

รายงาน : มหาอุทกภัยครั้งใหญ่ "ใต้ -อีสาน"

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

 

ตลอดทั้งปีที่ผ่านมาเกิดอุทกภัยในหลายจังหวัด ทั้งในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ วันนี้ทีมข่าวได้รวบรวมภาพเหตุการณ์เหล่านั้น มาให้คุณผู้ชมได้รับชมกันอีกครั้งหนึ่ง ติดตามได้จากรายงาน

รายงาน : มหาอุทกภัยครั้งใหญ่ "ใต้ -อีสาน"

ปริมาณน้ำเกือบ 3 ล้านลูกบาศก์เมตร ไหลทะลักออกจากแนวคันดินที่พังเสียหาย ของอ่างเก็บน้ำห้วยทรายขมิ้น ในพื้นที่ตำบลขมิ้น อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2560 เนื่องจากปริมาณฝนที่ตกหนักต่อเนื่องในปริมาณมาก จากอิทธิพลของพายุโซนร้อน “เซินกา” สภาพภายในอ่างแห้งสนิท น้ำไหลออกจนหมด ทะลักลงด้านท้ายอ่าง ท่วมบ้านเรือนประชาชน และไหลลงแหล่งน้ำธรรมชาติสมทบให้มีปริมาณเพิ่มขึ้น สร้างความเสียหายร้ายแรงมากที่สุดในรอบ 43 ปี จากการสำรวจของจังหวัดพบเสียหายไม่ต่ำกว่า 2 พันล้านบาท

รายงาน : มหาอุทกภัยครั้งใหญ่ "ใต้ -อีสาน"

อีกทั้งมวลน้ำเหล่านี้ ไหลไปยังพื้นที่อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม ไปตามลำน้ำสาขา หลากเข้าท่วมใน 11 อำเภอ บ้านเรือนประชาชนจนได้รับความเสียหายเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอำเภอวังยาง บ้านนาขาม ที่ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก ทางกรมชลประทาน ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยเขื่อน ลงพื้นที่ตรวจสอบ และเร่งซ่อมแซมอ่างห้วยทรายขมิ้น โดยใช้เวลาประมาณ 20 วัน ก่อนจะเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการในวันที่ 25 สิงหาคม 2560

รายงาน : มหาอุทกภัยครั้งใหญ่ "ใต้ -อีสาน"

ด้าน นายเสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต เคยให้ข้อมูลในเรื่องของการเตรียมความพร้อม รวมถึงแนะนำวิธีการแก้ปัญหาเรื่องน้ำท่วม ที่ดีที่สุด ซึ่งต้องเริ่มจากหน่วยงานในท้องที่ทุกพื้นที่ ที่จะต้องทำแผนที่แสดงระดับอุทกภัย โดยใช้ข้อมูลจากปริมาณน้ำฝนในแต่ละปี มาคำนวณหาระดับน้ำและแนวพื้นที่เสี่ยง ก่อนประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านทราบว่าจุดใดที่จะเกิดน้ำท่วม เพื่อให้ชาวบ้านเตรียมตัวรับมือให้ทันและเกิดความเสียหายน้อยที่สุด”

[caption id="attachment_170655" align="alignnone" width="879"] รายงาน : มหาอุทกภัยครั้งใหญ่ "ใต้ -อีสาน" นายเสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต[/caption]

นอกจากสถานการณ์น้ำท่วมหนักในภาคอีสานแล้ว พื้นที่ภาคใต้ ก็นับว่าได้รับผลกระทบจากปริมาณฝนตกหนักในรอบปีที่ผ่านมาเช่นกัน อย่างที่จังหวัดสงขลา น้ำท่วมวิกฤตหนักทั้ง 16 อำเภอ ทางจังหวัดได้ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ ซึ่งสภาพน้ำท่วมครอบคลุมทั้งชายฝั่งทะเลสาบสงขลา ตัวเมือง และหมู่บ้านต่างๆ โดยหนึ่งในอำเภอที่ได้รับผลกระทบ คืออำเภอเทพา ซึ่งน้ำป่าจากอำเภอสะบ้าย้อย ได้ทะลักท่วมถนนสายเทพา – สะบ้าย้อย ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถนนถูกตัดขาด เจ้าหน้าที่ต้องเร่งอพยพประชาชนออกมายังที่ปลอดภัย

รายงาน : มหาอุทกภัยครั้งใหญ่ "ใต้ -อีสาน"

เช่นเดียวกับที่จังหวัดนครศรีธรรมราช มวลน้ำป่ามหาศาลจากเทือกเขาหลวง ไหลหลากลงสู่พื้นที่เสี่ยงภัย เข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน และผิวการจราจรหลายเส้นทาง กระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวกราก ได้พัดรถประจำทางสายนครศรีธรรมราช-สุราษฎร์ธานี ตกถนน ในอำเภอสิชล ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย และทางจังหวัดได้ประกาศเป็นเขตประสบภัยพิบัติ 15 อำเภอ โรงเรียน สถานที่ราชการ และสิ่งสาธารณะประโยชน์ ได้รับความเสียหายหลายแห่ง ซึ่งพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดคือ อำเภอชะอวด อำเภอเชียรใหญ่ อำเภอปากพนัง อำเภอหัวไทร อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และอำเภอเมือง

รายงาน : มหาอุทกภัยครั้งใหญ่ "ใต้ -อีสาน"

ซึ่งจากช่วงเวลาดังกล่าว ทางกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้สรุปพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมภาคใต้ รวม 9 จังหวัด ได้แก่ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา พัทลุง ตรัง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และชุมพร ประชาชนเดือดร้อนกว่า 1 ล้าน 1 แสน 5 หมื่นคน เสียชีวิตรวม 15 คน

รายงาน : มหาอุทกภัยครั้งใหญ่ "ใต้ -อีสาน"

ทีมข่าวท้องถิ่น ข่าวจริงสปริงนิวส์

related