svasdssvasds

Oxford ถอดรางวัล "ซูจี" ชี้ไม่เหมาะสมอีกต่อไป

Oxford ถอดรางวัล "ซูจี" ชี้ไม่เหมาะสมอีกต่อไป

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

 

สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า สภาเมืองออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ลงมติถอดถอนรางวัลเชิดชูเกียรตินางซูจี ในฐานะทีเป็นบุคคลที่เป็น นักสู้เพื่อประชาธิปไตยที่ไม่เคยย่อท้อ ขณะที่ประธานสภาเมืองออกซ์ฟอร์ด ระบุว่า นางซูจีไม่คู่ควรกับรางวัลแห่งเกียรติยศอีกต่อไป

สภาเมืองออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ลงมติถอดรางวัล "Freedom of Oxford" หรือ "เสรีภาพแห่งออกซ์ฟอร์ด" ที่เคยมอบให้กับนางออง ซาน ซู จี ที่ปรึกษารัฐ เพื่อเชิดชูเกียรตินางซูจี ในฐานะที่เป็น นักสู้เพื่อประชาธิปไตยที่ไม่เคยย่อท้อ เมื่อปี พ.ศ. 2540 หลังจากที่นางซูจีต่อสู้และพยายามนำเมียนมามาสู่ความเป็นประชาธิปไตย จนถูกรัฐบาลทหารสั่งกักบริเวณภายในบ้านพักของตัวเองเป็นเวลาหลายปี

Oxford ถอดรางวัล "ซูจี" ชี้ไม่เหมาะสมอีกต่อไป

โดยมติของสภาเมืองออกซ์ฟอร์ด เปิดเผยว่า นางซู จี ไม่มีความเหมาะสมที่จะได้รางวัลนี้อีกต่อไป สืบเนื่องมาจากการรับมือและการจัดการวิกฤตโรฮิงญา ในรัฐยะไข่ ประเทศเมียนมา ที่เป็นเหตุให้ชาวโรฮิงญาจำนวนมากอพยพไปบังกลาเทศ พร้อมกันนี้ สภาเมืองออกซ์ฟอร์ด ยังระบุด้วยว่า ก่อนหน้านี้ เคยได้เขียนจดหมายไปถึงนางซูจี ขอให้เธอยุติการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮิงญาในประเทศมาแล้ว แต่กลับไม่ได้รับการตอบสนองใดๆ

Oxford ถอดรางวัล "ซูจี" ชี้ไม่เหมาะสมอีกต่อไป

นอกจากนี้ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา วิทยาลัยเซนต์ฮิวจ์ของมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด สถาบันที่นางซู จี เคยศึกษาและได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ได้ปลดภาพเหมือนของเธอที่แขวนไว้ในตัวอาคารเรียนหลักมาหลายปีออกด้วยเช่นกัน และได้นำภาพเขียนของ ศิลปินชาวญี่ปุ่นขึ้นไปแขวนแทนที่ภาพเหมือนของนางซูจีแทน โดยไม่ได้แจ้งเหตุผลที่ชัดเจน

Oxford ถอดรางวัล "ซูจี" ชี้ไม่เหมาะสมอีกต่อไป

อย่างไรก็ดี แม้ นายบ็อบ ไพรซ์ ประธานสภาเมืองออกซ์ฟอร์ด ระบุว่า การลงมติถอดถอนรางวัลนี้เป็นสิ่งที่สภาเมืองอ๊อกซ์ฟอร์ดไม่เคยทำมาก่อน และการเชิดชูเกียรติต่อนางซูจีจะสิ้นสุดอย่างเป็นทางการในเดือนพฤศจิกายนนี้ แต่ทางคณะผู้บริหารเมืองอ๊อกซ์ฟอร์ดยังเปิดโอกาสให้คืนรางวัลได้ หากว่ามีการดำเนินการใดๆในการแก้ไขวิกฤติชาวโรฮิงญาในรัฐยะไข่

ส่วนสถานการณ์ที่บังกลาเทศ ขณะนี้ รัฐบาลบังกลาเทศได้จัดทำบัตรไบโอเมทริกซ์ให้แก่ชาวโรฮิงญา เพื่อเอื้อต่อการกระจายความช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่ให้สะดวกและง่ายขึ้น โดยบัตรประจำตัวแต่ละใบจะมีรูปปรากฏอยู่บนด้านหน้าของบัตร พร้อมข้อมูล อันประกอบไปด้วย ชื่อผู้ปกครอง, ที่อยู่ในเมียนมา, วันที่เดินทางเข้ามาในบังกลาเทศ ซึ่งเด็กๆทุกคนต้องห้อยบัตรประจำตัวไว้ที่คอ นอกจากนี้ ทางการยังได้จัดทำบัตรประจำตัวขึ้นมาสำหรับผู้ใหญ่ด้วย

Oxford ถอดรางวัล "ซูจี" ชี้ไม่เหมาะสมอีกต่อไป

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลบังกลาเทศและองค์กรด้านมนุษยธรรมต่างๆยังคงเผชิญกับอุปสรรคในการแจกจ่ายปัจจัยที่จำเป็นสำหรับชาวโรฮิงญาที่อาศัยอยู่ในบังกลาเทศกว่า 509,000 คน ตั้งแต่เดือนที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น อาหาร น้ำดื่มสะอาด และ ที่พักชั่วคราว

related