svasdssvasds

ฟ้อง 6 มาลีนนท์ 333 ล้าน ฟ้องสัปดาห์หน้า พ่วง 11 ผู้บริหาร-พิธีกร ดังช่อง3

ฟ้อง 6 มาลีนนท์ 333 ล้าน ฟ้องสัปดาห์หน้า พ่วง 11 ผู้บริหาร-พิธีกร ดังช่อง3

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

“อควา” เตรียมยื่นฟ้องหมิ่น “6 มาลีนนท์” สัปดาห์หน้า พ่วง 8 ผู้บริหารบีอีซีเวิลด์ และ 3 พิธีกรดัง “เรื่องเล่าเช้านี้” ทั้ง “ชูวิทย์-น้องไบรท์-ไก่ ภาษิต” โดนกราวรูด เรียกค่าเสียหาย 333 ล้านบาท รายงานข่าวจากบริษัท อควา คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (AQUA) แจ้งว่าในสัปดาห์หน้า บริษัทจะยื่นฟ้อง บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) เจ้าของสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ซึ่งออกอากาศช่อง 33 ผู้บริหารและกรรมการ บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) พิธีกรเรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์ พิธีกรเรื่องเล่าเช้านี้ รวม 17 คน ในข้อหาหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ตามมาตรา 326 และ 328 แห่งประมวลกฎหมายอาญา รายชื่อที่จะยื่นฟ้องประกอบด้วยบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) และกรรมการบริษัทคือ นายสมชัย บุญนำศิริ, นาย
สมประสงค์ บุญยะชัย, นายประชุม มาลีนนท์, นางสาวรัตนา มาลีนนท์, นางสาวนิภา มาลีนนท์,  นางสาวอัมพร มาลีนนท์, นางรัชนี นิพัทธกุศล, นายประธาน รังสิมาภรณ์, นายมานิต บุญประกอบ, นายชาญศักดิ์ เฟื่องฟู, นายแมทธิว กิจโอธาน, นายวรวรรธน์ มาลีนนท์, นายทศพล มาลีนนท์ และพิธีกรรายการคือ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์, นางสาวพิชญทัฬห์ จันทร์พุฒ (น้องไบรท์) และนายภาษิต อภิญญาวาท (ไก่ ภาษิต)   ฟ้อง 6 มาลีนนท์ 333 ล้าน ฟ้องสัปดาห์หน้า พ่วง 11 ผู้บริหาร-พิธีกร ดังช่อง3   โดยขอให้จำเลยทั้ง 17 คนร่วมกันโฆษณาคำพิพากษาและหนังสือขอโทษโจทก์ในรายการข่าวของช่องไทยทีวีสีช่อง 3 และสื่อต่างๆ (ตามที่เราจะกำหนด) ต่อเนื่องกันเป็นเวลา 7 วัน พร้อมให้จำเลยทั้ง 17 คน ชำระค่าใช้จ่ายในการโฆษณาทั้งหมด และมีคำขอส่วนแพ่งให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เพื่อความเสียหายที่ได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 438 และ 447 โดยค่าเสียหายที่กำหนดในเบื้องต้น 333 ล้านบาท ทั้งนี้ เนื่องจากในรายการ “เรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์ ที่ออกอากาศทางไทยทีวีสีช่อง 3 (ช่อง 33) เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2561 ช่วงชูวิทย์มีเรื่องเล่า ได้กล่าวถึงบริษัท โดยกล่าวว่า เงินจากการค้ามนุษย์ได้เข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ผ่านบริษัท A ซึ่งมีนายกำพล เป็นผู้ถือหุ้นอันดับ 1 โดยผู้ถือหุ้นใหญ่ 10 อันดับแรกของบริษัท Aqua ที่มีราคาขนาดนี้ 0.57 สตางค์ มีนายกำพล วีระเทพสุภรณ์ พี่ชาย ถือหุ้นอยู่ 12.88% ต่อมาเมื่อวันที่ 17 มกราคมในรายการ “เรื่องเล่าเช้านี้” ช่วงชูวิทย์มีเรื่องเล่า นายชูวิทย์ยังกล่าวว่า เงินรายได้ของสถานบริการนั้น ได้นำเข้าสู่บัญชีธนาคารของบริษัทแห่งหนึ่ง หากเช็กจากทางเครื่องรับบัตรเครดิตของสถานบริการก็จะทราบว่าเข้าบัญชีของใคร ก่อนที่จะย้ายไปยังบัญชีอื่น เพื่อโอนเข้าสู่พอร์ตหุ้นบริษัทหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่มีนายกำพลเป็นผู้ถือหุ้นอันดับ 1  นั่นคือ บริษัท อควา คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยนายกำพล ถือหุ้นจำนวน 591,406,000 หุ้น คิดเป็นสัดส่วน 12.88% รวมถึงยังกล่าวว่า  นายกำพลเข้าไปในวงการฟุตบอลที่เชียงรายยูไนเต็ด โดยเอาเด็กไซด์ไลน์ เด็ก VIP ไปเชียร์กันเต็มสนาม รวมถึงนายกำพล
ยังเข้ามาซื้อหุ้นสื่อในตลาดหลัก ทรัพย์ฯ รวมทั้งโรงพิมพ์ตะวันออก “การกระทำของจำเลยทั้ง 17 เป็นการร่วมกันกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท โดยการโฆษณาต่อโจทก์ กล่าวคือ จำเลยทั้ง 17 คนร่วมกันกล่าวข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนทั่วไป ซึ่งเป็นบุคคลที่ 3 ผ่านทางรายการ “เรื่องเล่าเช้านี้” และ “เรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์” ในช่วง “ชูวิทย์มีเรื่องเล่า” ของช่อง 3 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ถูกเข้าใจผิดว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง
กับการค้ามนุษย์ หรือธุรกิจที่ผิดศีลธรรมอันดีของมนุษย์ ทั้งๆ ที่โจทก์ประกอบธุรกิจโดยสุจริตและไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับการ
กระทำของนายกำพล แต่อย่างใด ซึ่งนายกำพล ปรากฏชื่อเป็นผู้ถือหุ้น 12.88% เท่านั้น แต่ไม่ได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจหรือผู้ถือหุ้นที่มีหุ้นมากพอที่จะสามารถบังคับทิศทางของบริษัทได้” แต่การที่นายชูวิทย์กล่าวหาโจทก์ว่า “บริษัทค้ามนุษย์มหาชน” และยังมีภาพประกอบที่แสดงออกโดยการทำแผนผัง โดยมีการโยงเส้นเริ่มจาก “วิคตอเรีย” ต่อมาที่ “เดอะลอร์ด” และมาที่ “AQUA” ย่อมทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจได้ว่า หมายถึงบริษัทมีส่วนเกี่ยวกับทำธุรกิจค้ามนุษย์อันเป็นสิ่งผิดกฎหมายและผิดศีลธรรม ซึ่งเป็นการกล่าวโดยปราศจากมูลความจริงและหลักฐานที่อาจสนับสนุนข้ออ้างดังกล่าว นอกจากนั้น ยังมีถ้อยคำอื่นๆ อีกมาก แสดงให้เห็นว่า ผู้กระทำมีเจตนาใส่ความโจทก์ให้ประชาชนทั่วไปที่
เป็นบุคคลที่ 3 ทำให้บริษัท ซึ่งเป็นบริษัทมหาชน ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำธุรกิจหลักประเภทเช่าซื้อและร่วมลงทุนในธุรกิจสื่อป้ายโฆษณา รวมถึงสื่อโฆษณาประเภทอื่นๆ ทุกรูปแบบและธุรกิจการผลิตสิ่งพิมพ์และธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทนิตยสาร ได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง โดยภายหลังการออกอากาศของรายการดังกล่าว ราคาหุ้นบริษัทตกลงอย่างหนัก “บริษัทสูญเสียชื่อเสียง เกียรติยศ เกียรติคุณ ภาพลักษณ์ ความน่าเชื่อถือ และความไว้วางใจของประชา ชนในการประกอบธุรกิจ รวมถึงการทำมาหาได้ต่างๆ  รวมถึงสูญเสียโอกาสในการทำธุรกิจ เงินกำไรจากการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ สูญเสียโอกาสทางทำมาหาได้และทางเจริญรวมทั้งเสื่อมเสียในตำแหน่งหน้าที่หรืออาชีพ ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง โดยผ่านทางภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏ ไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ”   หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,335 ระหว่างวันที่ 28-31 ม.ค. 2561 หน้า 17
related