svasdssvasds

เข้าใจอย่างถูก !! คดีล่าเสือดำ ความสับสนระหว่าง “คุ้มครองสัตว์ป่า” กับ “ทารุณกรรมสัตว์”

เข้าใจอย่างถูก !! คดีล่าเสือดำ ความสับสนระหว่าง “คุ้มครองสัตว์ป่า” กับ “ทารุณกรรมสัตว์”

#ข่าวจริงเช็กแล้ว ...เป็นประเด็นจุดอารมณ์คนในสังคม เมื่อท่าทีของ พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผบ.ตร. ตอบคำถามสื่อมวลชน กับคำถามที่นายเปรมชัย กรรณสูต หลุดจากข้อหาทารุณกรรมสัตว์ และดราม่ายิ่งขึ้น เมื่อร้อยเวร สภ.ทองผาภูมิรับแจ้งความคดีทารุณสัตว์ จนถูกตำหนิและภาคทัณฑ์ด้วยเรื่องดังกล่าว จนคนในสังคมสะท้อนความไม่พึงพอใจ

 

กลายเป็นประเด็นจุดอารมณ์คนในสังคม เมื่อท่าทีของ พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผบ.ตร. ตอบคำถามสื่อมวลชน กับคำถามที่นายเปรมชัย กรรณสูต หลุดจากข้อหาทารุณกรรมสัตว์ และดราม่ายิ่งขึ้น เมื่อร้อยเวร สภ.ทองผาภูมิรับแจ้งความคดีทารุณสัตว์ จนถูกตำหนิและภาคทัณฑ์ด้วยเรื่องดังกล่าว จนคนในสังคมสะท้อนความไม่พึงพอใจ

 

ส่งผลให้การแสดงความคิดเห็นในสังคมออนไลน์ เป็นไปอย่างสับสน และเกิดความเข้าใจผิด ระหว่างการบังคับใช้ พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.2557 กับ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 บังคับใช้แตกต่างกัน  เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนและถูกต้อง เฟซบุ๊กของผู้ใช้นาม Kittitouch Chaiprasithหรือ กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ ได้โพสต์ข้อความชี้ถึงความแตกต่างของกฎหมายสองฉบับ ดังนี้ :

 

“อีกหนึ่งตัวอย่างของความมั่วซั่วของโลกโซเซียล ที่แชร์กันเป็นหมื่น คือการเอาบัญชีคุ้มครองสัตว์ป่าสงวน ไปมั่วกับ "บัญชี" ที่ พ.ร.บ.ทารุณกรรมสัตว์ ให้อำนาจ รมต.ประกาศคุ้มครองเป็นกรณีๆ เรื่องแรกที่ต้องเข้าใจกันก่อนก็คือ พ.ร.บ.ทารุณกรรมสัตว์นั้นมีชื่อเต็มว่า  #พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.2557 เป็นกฎหมายที่ให้ "กรมปศุสัตว์" ดูแล โดยมี "อธิบดีกรมปศุสัตว์" เป็นหัวหน้า

หมายเหตุ: ปศุสัตว์ (Livestock Development) หมายถึง สัตว์เศรษฐกิจที่มนุษย์นำมาเลี้ยง เพื่อผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ หลายอย่าง เช่น เพื่อใช้งาน และเป็นอาหาร  กฎหมายนี้ออกเพื่อใช้ดูแลสัตว์ทั่วไป ที่ไม่ใช่สัตว์สงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอ

เข้าใจอย่างถูก !! คดีล่าเสือดำ ความสับสนระหว่าง “คุ้มครองสัตว์ป่า” กับ “ทารุณกรรมสัตว์”

ส่วนเสือดำหรือเสือดาวมันอยู่ในกฎหมาย พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 อยู่แล้ว ไม่เกี่ยวกับ พ.ร.บ.ทารุณกรรมสัตว์ (ที่ให้อำนาจ รัฐมนตรีประกาศสัตว์ในธรรมชาติเป็นรายกรณี เวลามีปัญหาเฉพาะหน้า)

ส่วนสัตว์ที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ตามพ.ร.บ.ทารุณกรรมและจัดสวัสดิภาพสัตว์ ยังไม่มีประกาศ เพราะไม่มีกรณีแปลกๆ ที่กฎหมายก่อนหน้านี้ไม่ครอบคลุม

ดังนั้นการเอาบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองมาโยงกับ พ.ร.บ..ป้องกันการทารุณกรรมและจัดสวัสดิภาพสัตว์ จึงเป็นเรื่องมั่วซั่ว!!

เปรมชัยต้องคดี 9 ข้อหา ซึ่งรวมล่าเสือดำ มีซากสัตว์คุ้มครองไว้ในครอบครองและอื่น รวมถึงล่าสุด โดนคดีรุกที่ดิน รวมถึงเรื่องครอบครองงาช้างแอฟริกาผิดกฎหมายด้วย

โลกโซเซียลควรเลิกทำตัวไร้สาระ ด้วยการเอากฎหมายที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องนี้มาปนคดีเสียที แล้วหันไปดูคดีหลักดีกว่า

ว่าดำเนินการไปถึงไหน และอย่างไรแล้ว? (ซึ่งจริงๆ ข่าวมีลงตลอด แต่คนไม่ค่อยสน สนแต่ดราม่ามั่วๆ ซั่วๆ กันเสียมากกว่า....)

เป็นข้อความที่ กิตติธัช สื่อสารไปถึงคนในสังคม

อย่างไรก็ตาม คดีนายเปรมชัย ลักลอบล่าเสือดำ และชำแหละซาก โดยลำดับความผิด ดังนี้

  • ข้อหาฐานร่วมกันล่าสัตว์ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า โดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ผิดมาตรา 36 และมาตรา 53 พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
  • ฐานร่วมกันล่าสัตว์ป่าคุ้มครองโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา 16 และมาตรา 47
  • ฐานร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งซากของสัตว์ป่าคุ้มครองโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา 19 และมาตรา 47
  • ฐานนำเครื่องมือสำหรับใช้ในการล่าสัตว์หรือจับสัตว์หรืออาวุธใดๆ เข้าไปในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามข้อ 1(1) ของกฎกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ฉบับที่ 7 พ.ศ.2538 ออกตามความมาตรา 37 พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535
  • ฐานร่วมกันเก็บหาของป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา 14 แห่งพ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507
  • ความผิด พ.ร.บ.อาวุธะปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490

 

related