svasdssvasds

มีชัยยัน! หากศาลแก้ “บทเฉพาะกาล” ไม่กระทบสาระสำคัญ ไม่ถูกตีตก

มีชัยยัน! หากศาลแก้ “บทเฉพาะกาล” ไม่กระทบสาระสำคัญ ไม่ถูกตีตก

นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ยันหากศาลแก้ไขบทเฉพาะกาล ไม่กระทบสาระสำคัญ ก็ไม่ถูกตีตก สามารถแก้ไขเพิ่มเติมภายหลังกฎหมาย ประกาศใช้ได้ ยอมรับกังวลหากนับหนึ่งใหม่กระทบโรดแมปเลือกตั้งแน่

วันนี้ (20 มี.ค.) นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรธ. กล่าวถึงการที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ยืนยันส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าที่มาสมาชิกวุฒิสภาเพียงฉบับเดียวตามที่กรธ.ส่งข้อสังเกต ว่า กรธ.ไม่ได้เป็นผู้เสนอให้สนช.ยื่นตีความร่างดังกล่าว แต่สื่อไปนำเสนอกันเอง ยืนยันให้สนช.พิจารณาตามสมควร เพราะเรื่องดังกล่าวอยู่ในอำนาจของสนช. ซึ่งหากผิดพลาดอะไรในอนาคตสนช.ก็ต้องเป็นผู้รับผิดชอบด้วย ส่วนการส่งตีความดังกล่าวจะไม่กระทบต่อโรดแม็ปเลือกตั้ง ซึ่งกรธ.ก็ตั้งประเด็นไปให้สนช.ว่าบทเฉพาะกาลอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ สุดท้ายแล้วต้องรอดูว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยอย่างไร  ส่วนตัวมองได้เป็น 3 แนวทาง แนวทางแรก คือ วินิจฉัยว่าไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ซึ่งถ้าออกเช่นนี้ก็ถือว่าได้ข้อยุติ และนำร่างฯส่งให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯได้ทันที แนวทางที่สอง คือ วินิจฉัยว่าขัดรัฐธรรมนูญ แต่ขัดในประเด็นที่ไม่ใช่สาระสำคัญ ถ้าเป็นเช่นนี้เฉพาะประเด็นที่ขัดก็จะถูกตัดไป แล้วสามารถนำร่างฯส่งไปตามขั้นตอนต่อได้ เมื่อใดที่ร่างฯประกาศใช้ค่อยไปปรับแก้ให้สอดคล้อง ยืนยันว่าการแก้ไขจะไม่ยาก เพราะกรธ.ยังอยู่ แนวทางที่สามคือ วินิจฉัยว่าร่างฯขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นการขัดในประเด็นที่เป็นสาระสำคัญ เช่นนี้จะทำให้ร่างฯตกไปทั้งฉบับ แล้วกรธ.จะต้องเป็นผู้เริ่มร่างใหม่ทั้งฉบับ ยอมรับว่าผลเช่นนี้จะกระทบโรดแม็ป แต่การร่างใหม่ก็จะเร็วขึ้นกว่าที่เคยร่างมา เพราะกรธ.พอรู้แนวแล้ว

อย่างไรก็ตาม หลังจากสนช.ส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความกฎหมายไปถึงมือรัฐบาลแล้ว กรธ.คงไม่ส่งข้อสังเกตเพิ่มเติมไปยังรัฐบาลอีก เพราะได้แสดวความห่วงใยไปยังสนช.แล้ว กรธ.จะหยุดแค่นี้ จากนี้ก็เป็นเรื่องที่ครม.จะพิจารณา ส่วนเรื่องตัดสิทธิ์ ในอนาคตหากผู้ที่ถูกตัดสิทธิ์รู้สึกว่าไม่เป็นธรรมและอาจขัดกับรัฐธรรมนูญ ก็สามารถฟ้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเพื่อเรียกสิทธิ์คืนมาได้

 

 

 

related