svasdssvasds

กกต.หนุน! ส่งร่างฯพ.ร.ป.ส.ส.ให้ศาลรธน. ตีความ หวั่นทำเลือกตั้งโมฆะ

กกต.หนุน! ส่งร่างฯพ.ร.ป.ส.ส.ให้ศาลรธน. ตีความ หวั่นทำเลือกตั้งโมฆะ

กกต.หนุนส่งร่างฯพ.ร.ป.ส.ส.ให้ศาลรธน. ตีความ หวั่นทำเลือกตั้งโมฆะ แย้ม กกต.พร้อมย่นเวลาจัดเลือกตั้งเพื่อไม่ให้กระทบโรดแมป

วันนี้( 30 มี.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายบุญส่ง น้อยโสภณ กกต. กล่าวถึงการที่ สนช.เข้าชื่อส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ว่า ส่วนตัวเห็นด้วยเนื่องจากไม่ต้องการให้เกิดปัญหาร้องให้ศาลตีความหลังการเลือกตั้ง และทำให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะในมือ กกต. ชุดนี้เป็นครั้งที่ 2 เชื่อว่าศาลจะวินิจฉัยเป็นทางออกที่ดี และคงใช้เวลาไม่นานเพราะเป็นประเด็นข้อกฎหมายสั้นๆโดยเฉพาะเรื่องการให้เจ้าหน้าที่ลงคะแนนแทนผู้สูงอายุผู้พิการ ที่ กกต. ได้เคยขอให้ทบทวนเรื่องนี้ เพราะการเลือกตั้งมีการแข่งขันสูงและผู้สูงอายุในแต่ละหน่วยเลือกตั้งมีจำนวนมากอาจจะเป็นปัญหาได้ ต่างจากการทำประชามติที่รัฐเข้าไปควบคุมได้

นายบุญส่ง กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่ สนช. เสนอให้ กกต. ร่นระยะเวลาจัดเลือกตั้งใน 150 วันลง เพื่อไม่ให้กระทบโรดแมปเลือกตั้งเดือนกุมภาพันธ์ 2562 นั้น ก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมของพรรคการเมืองได้การดำเนินการตามคำสั่ง คสช. ฉบับที่ 53/2560 ว่าเรียบร้อยหรือไม่ ถ้าทุกอย่างเรียบร้อย ก็ไม่มีปัญหาอะไร กกต.ก็จะใช้ช่วงระยะเวลา 90 วัน ระหว่างรอกฎหมายบังคับใช้ดำเนินการเรื่องต่างๆไปก่อนเพื่อไม่ให้เสียเวลา เพราะกกต. ก็ไม่อยากให้กระทบการเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 เช่นกัน และเชื่อว่าศาลรัฐธรรมนูญเองก็วินิจฉัยเร็ว คงไม่กระทบโรดแมปที่วางไว้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับคำสั่ง คสช. ที่ยังไม่ปลดล็อคทางการเมืองด้วย

"มีประเด็นที่เราเป็นห่วง เรื่องสำหรับพรรคการเมืองขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ถ้าปฏิบัติไม่ครบถ้วนตามกฎหมายจะส่งสมาชิกสมัครรับเลือกตั้งไม่ได้ ซึ่งเราไม่อยากให้เกิดปัญหาในเรื่องนี้" นายบุญส่ง กล่าว

"บุญส่ง" ยอมรับการตีความกฎหมายปิดกั้นผู้สมัคร กกต. - ไม่เป็นธรรม

นายบุญส่ง น้อยโสภณ กกต. กล่าวถึงการรับสมัครบุคคลเข้ารับการสรรหาเป็น กกต. ที่มีปัญหาคุณสมบัติสูงมากเกินไป ว่า เรื่องนี้มีทางออกแต่ไม่สามารถเปิดเผยได้ ขึ้นอยู่กับการตีความ เช่น กรณีคุณสมบัติของผู้สมัครที่ดำรงตำแหน่งไม่ตำกว่าระดับอธิบดีติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี ส่วนตัวมองว่าต้องใช้หลักนิติบุคคลเข้ามาพิจารณา จะทำให้เห็นว่า นายทหารระดับ แม่ทัพ ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ตลอดจนปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้พิพากษา อัยการ จะไม่มีโอกาสสมัครเข้ารับการสรรหาได้เลย เพราะผู้พิพากษาก็มีระเบียบชัดว่าเป็นอธิบดีศาลได้แค่ 2 ปี ไม่มีใครเป็นอธิบดีศาลได้ถึง 5 ปี และการที่ผู้พิพากษา ซึ่งเป็นอธิบดีศาลยังไม่ถึง 5 ปี แต่ได้รับการสรรหาในสายศาล ส่วนตัวเห็นว่าไม่เป็นธรรม ทั้งหมดขึ้นอยู่กับการตีความตามรัฐธรรมนูญ

"ในรัฐธรรมนูญได้เขียนไว้ดี แต่เวลาไปตีความ คนที่ใช้หรือบังคับใช้จะตีความลำบาก คือ อธิบดีมีปัญหามากสุด เพราะเป็นอธิบดีต้องใช้หลักนิติบุคคลเข้าไปจับ ฉะนั้นผู้บัญชาการเหล่าทัพ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้พิพากษา และอัยการ โอกาสที่จะไปสมัครหรือสรรหานั้นไม่มีเลย ซึ่งไม่มีใครเป็นมาแล้ว 5 ปี มองดูแล้วมันไม่มีความเป็นธรรม" นายบุญส่ง กล่าว

related