svasdssvasds

ฉาย บุนนาค : ‘ศรีปราชญ์’ และตระกูล ‘บุนนาค’ ในนวนิยายย้อนประวัติศาสตร์ไทย (2)

ฉาย บุนนาค : ‘ศรีปราชญ์’ และตระกูล ‘บุนนาค’ ในนวนิยายย้อนประวัติศาสตร์ไทย (2)

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

ชั่วโมงนี้ คงไม่มีใครไม่พูดถึงละครดัง “บุพเพสันนิวาส” ละครย้อนอดีตที่มีเรตติ้งสูงสุดนับตั้งแต่มีทีวีระบบดิจิตอล จากนวนิยายยอดนิยม สู่ละครยอดฮิต ทำให้ปัจจุบันประชาชนมากมายหันมาให้ความสนใจเรื่องของประวัติศาสตร์และความเป็นมาของเราในอดีตมากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่น่ายินดียิ่งนักการเรียนรู้เรื่องราวในอดีตเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้เข้าใจสถานการณ์สังคมในปัจจุบัน ไม่ต่างจากการรู้จักบรรพบุรุษในวงศ์วานของตน ก็ถือเป็นคำอธิบายที่มาของเราในวันนี้ด้วยเช่นกัน

ฉบับก่อน เราได้กล่าวถึงหนึ่งในบรรพบุรุษสกุล “บุนนาค” ในละครบุพเพสันนิวาส นั่นคือ “หลวงศรียศ” ซึ่งภายหลังดำรงตำแหน่ง “พระยาจุฬาราชมนตรี (แก้ว)” ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

ฉาย บุนนาค : ‘ศรีปราชญ์’ และตระกูล ‘บุนนาค’ ในนวนิยายย้อนประวัติศาสตร์ไทย (2)

อย่างไรก็ตาม “หลวงศรียศ” หาใช่บรรพบุรุษสกุล “บุนนาค” เพียงท่านเดียวที่รับราชการสมัยนั้น… “เจ้าพระยาชำนาญภักดี” สมุหนายก อัครมหาเสนาบดีฝ่ายเหนือ คือบรรพบุรุษสกุลบุนนาคอีกท่านหนึ่ง ซึ่งเป็น “หลานตา” ของ “เจ้าพระยาบวรราชนายก” (เฉกอะหมัด) ต้นตระกูลบุนนาค ซึ่งถวายตัวรับใช้ราชการในรัชสมัย “สมเด็จพระนารายณ์มหาราช” และ “สมเด็จพระเพทราชา” (อ่าน : ฉาย บุนนาค : “หลวงศรียศ” และ ตระกูล “บุนนาค” ในนวนิยายย้อนประวัติศาสตร์ไทย (1) )

ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หาใช่ยุครุ่งเรืองทางการค้าและการทูตเท่านั้น หากเป็นยุคด้านวรรณกรรม เพราะมีกวีลือนามแห่งรัชสมัยได้แก่ “พระโหราธิบดี” หรือ “พระมหาราชครู” ผู้ประพันธ์หนังสือ “จินดามณี” ซึ่งเป็นตำราเรียนภาษาไทยเล่มแรก และกวีอีกผู้หนึ่งคือ “ศรีปราชญ์” ผู้เป็นปฏิภาณกวี เป็นบุตรของพระโหราธิบดี งานชิ้นสำคัญของศรีปราชญ์ คือ หนังสือกำศรวลศรีปราชญ์ และอนิรุทธคำฉันท์

“ศรีปราชญ์” คือกวีเอกที่ฉายแววตั้งแต่อายุ 7 ขวบ หลังเขียนแต่งต่อบทโคลงบนกระดานชนวนของบิดา ซึ่งบทโคลงนั้นเป็นการบ้านที่พระนารายณ์มอบหมายให้ หลังจากท่านแต่งไว้แล้วติดขัด ซึ่งทำให้เป็นที่พอพระทัยและเป็นจุดเริ่มต้นของการเข้ารับราชการของเด็กชาย “ศรี”

ฉาย บุนนาค : ‘ศรีปราชญ์’ และตระกูล ‘บุนนาค’ ในนวนิยายย้อนประวัติศาสตร์ไทย (2)

ย่างเข้าวัยหนุ่มของ “ศรีปราชญ์”… ด้วยความเจ้าชู้ คึกคะนอง และเมาสุราเป็นครั้งครา จึงทำให้ต้องโทษหลายต่อหลายครั้ง แต่ด้วยความเป็นคนโปรดของขุนหลวงและด้วยคำขอจากบิดาต่อขุนหลวงก่อนเข้ารับราชการ จึงมิเคยต้องโทษถึงขั้นประหาร…

แต่ก็ด้วยการเมืองไทยในอดีตก็ไม่ต่างกับปัจจุบัน ความริษยาและความดีเด่นของท่านศรีปราชญ์ก็ทำให้เป็นที่อิจฉาของข้าหลวงอื่นๆที่แวดล้อม จนสุดท้ายต้องถูกเนรเทศและถูกกลั่นแกล้งใส่ร้ายจนต้องโทษประหาร

แม้นักวิชาการบางท่านจะยังมีข้อสงสัยในความมีตัวตนจริงของ “ศรีปราชญ์” แต่เรื่องราวและผลงานของท่านช่างไพเราะ และเตือนใจคนเรายิ่งนักโดยเฉพาะโคลงบทสุดท้ายที่ศรีปราชญ์ ได้ขออนุญาตเขียนไว้กับพื้นธรณีก่อนที่เพชฌฆาตจะลงดาบประหาร

เพียงเพราะ “ศรีปราชญ์” มีความโดดเด่นเกินวัย จนเป็นที่โปรดปรานของขุนหลวง และด้วยความคะนองพลั้งเผลอในวัยหนุ่มจึงทำให้มีแผลเรื่องความเจ้าชู้ และแผลนี้เองก็ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือใส่ร้ายซํ้าสองจนต้องโทษประหาร ทั้งที่ท่านมิได้กระทำผิด… มิต่างจากเจ้าหน้าที่รัฐในปัจจุบัน

โคลงบทนี้ หาใช่คำสาปแช่ง แต่คือ “กฎแห่งกรรม” ที่สะท้อนเตือนใจคน โดยเฉพาะพวกเจ้าหน้าที่รัฐที่ใช้อำนาจอย่างไม่สุจริตและเป็นธรรม มุ่งทำลายล้าง กลั่นแกล้งด้วยอคติ

 

 

 

....................

คอลัมน์ : ฉาย บุนนาค /หน้า 18 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ / ฉบับ 3354 ระหว่าง วันที่ 3-5 เมษายน 2561

related