svasdssvasds

คุณได้สิทธินั้น!! ยิ่งบริจาคโลหิต สิทธิรักษาพยาบาลยิ่งได้

คุณได้สิทธินั้น!! ยิ่งบริจาคโลหิต สิทธิรักษาพยาบาลยิ่งได้

มีข้อสงสัยครับ ...บริจาคเลือด เกิน 24 ครั้ง ได้สิทธิรักษาฟรี แบบข้าราชการจริงหรือ?????? คำถามนี้ ถูกกระจายจากเฟซบุ๊ก ไปยังแพลตฟอร์มไลน์ ต่อไปยังกระทู้ในพันทิป มีความเห็นมากมาย หลากหลาย ทั้งจากผู้รู้ และไม่รู้ เพื่อให้ได้ทราบข้อเท็จจริง ...ต้องถามไปยัง "ผู้รู้"

จากการสอบถามไปยัง สภากาชาดไทย นาวาโทหญิง พญ.อุบลวัณณ์ จรูญเรือง ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ชี้แจงถึงรายละเอียดสิทธิในการักษาพยาบาลของผู้บริจาคโลหิต ที่ศูนย์บริการโลหิต ฯ ได้ให้การช่วยเหลือ จะเป็นไปตามระเบียบของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นการช่วยเหลือเฉพาะตัวผู้บริจาคโลหิตเท่านั้น มีดังนี้

 

ผู้บริจาคโลหิต 7 ครั้งขึ้นไป เป็นผู้ป่วยใน ของโรงพยาบาลสังกัดสภากาชาดไทย ได้แก่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา เสียค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยสามัญ ถ้าอยู่ห้องพิเศษ ผ่าตัด ผ่าตัดคลอดบุตร จะเสียเพียงกึ่งหนึ่งของอัตราที่กำหนด

 

ผู้บริจาคโลหิต 24 ครั้งขึ้นไป เป็นผู้ป่วยใน ของโรงพยาบาลสังกัดสภากาชาดไทย ได้แก่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ได้รับการยกเว้นเฉพาะค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยสามัญ ถ้าอยู่ห้องพิเศษ ผ่าตัด ผ่าตัดคลอดบุตร จะเสียเพียง ร้อยละ 50 ของอัตราที่กำหนด

 

ผู้บริจาคโลหิตตั้งแต่ 18 ครั้งขึ้นไป อาศัยอำนาจจากกระทรวงสาธารณสุข ตามความในประเภท ข. ที่มีหนังสือรับรองจากสภากาชาดไทยว่าได้บริจาคโลหิตตั้งแต่ 18 ครั้งขึ้นไป ได้รับการช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล และถ้าอยู่ห้องพิเศษ ได้รับความช่วยเหลือค่าห้องและค่าอาหารเพียงร้อยละ 50 ของอัตราที่กำหนดไว้

คุณได้สิทธินั้น!! ยิ่งบริจาคโลหิต สิทธิรักษาพยาบาลยิ่งได้

ศูนย์บริการโลหิต ขอเพิ่มเติมคุณสมบัติของผู้บริจาคเลือด มา ณ ที่นี้ด้วย

1.ผู้บริจาคเลือด อายุระหว่าง 18-60 ปี

2.สุขภาพสมบูรณ์พร้อมที่จะบริจาคเลือด มีน้ำหนัก 50 กิโลกรัมขึ้นไป

3.ผู้บริจาคเลือดไม่มีประวัติเป็นโรคหรือเป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบบี ซี ดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง หรือผู้บริจาคเลือด ใกล้ชิดบุคคลดังกล่าว

4.ผู้บริจาคเลือดไม่มีประวัติเป็นข้มาลาเรียในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา หรือเข้าไปในเขตที่มีมาลาเรียชุกชมใน 1 ปี

5.ผู้บริจาคเลือดไม่เป็นกามโรค โรคติดเชื้อต่างๆ ไอเรื้อรัง ไอมีโลหิต, โลหิตออกง่ายผิดปกติ, โรคเลือดชนิคต่างๆ, โรคหอบหืด, โรคไต, โรคเบาหวาน และโรคไทรอยด์

6.ผู้บริจาคเลือดไม่มีพฤติกรรมเสื่ยงทางเพศ หรือสำส่อนทางเพศสัมพันธ์

7.ผู้บริจาคเลือดไม่มีประวัติใช้ยาเสพติดชนิดฉีดหรือมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลดังกล่าว

8.ผู้บริจาคเลือดไม่มีประวัติผ่าตัดใหญ่, คลอดบุตรหรือแท้งบุตรในระยะ 6 เดือน (ถ้ามีการใช้เลือดต้องงดบริจาค 1 ปี)

9.ผู้บริจาคเลือดสุภาพสตรีไม่อยู่ในระหว่างมีประจำเดือน หรือตั้งครรภ์

บุคคลต่อไปนี้ให้งดบริจาคโลหิต ได้แก่ ผู้ติดเชื้อเอดส์ และผู้ที่มีคู่นอนหลายคนหรือมีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่นนอกจากคู่ของตน

related