svasdssvasds

“อารมณ์ และความรู้สึก” มีผลต่อการส่งต่อ “ข่าวปลอม” กระจายตัวรวดเร็ว

“อารมณ์ และความรู้สึก” มีผลต่อการส่งต่อ “ข่าวปลอม” กระจายตัวรวดเร็ว

Prof Vian Bakir, Political Communication & Journalism, Bangor University ประเทศอังกฤษ เป็นหนึ่งในทีมวิจัยข้อมูล ข่าวสารในโลกออนไลน์ โดยเน้นศึกษาข่าวปลอม บนแพลตฟอร์มทวิตเตอร์ ของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาซูเซตส์ (MIT)

ซึ่งประเด็นสำคัญของเธอเห็นว่า ผู้คนแชร์ข้อมูลบิดเบือนด้วยเหตุผลหลายประการ ที่พบมากเป็นการตอบสนองทางอารมณ์ที่รุนแรง ความรังเกียจ และความแปลกใจ จึง retweet ต่อ ทำให้ผู้คนมีแนวโน้มแบ่งปันข่าวปลอม เพราะมีแรงจูงใจจากสิ่งที่พวกเขาต้องการจะได้ยิน

 

ดังนั้น นักวิจัยสรุปว่าควรจะมีการทำเครื่องหมายระบุ หรือแจ้งให้ชัดที่มาของแหล่งข่าว มีการเผยแพร่ข้อเท็จจริงมากน้อยเพียงใด หรือการให้บริการของทวิตเตอร์ และเฟซบุ๊ก ควรจะทำแพลตฟอร์ม หรืออัลกอริทีมเพื่อช่วยลดการกรตะจายของข่าวปลอม ข่าวมั่ว เนื้อหาที่โกหกด้วย

related