svasdssvasds

10 จังหวัด "ขยะทะเล"มากสุด สะท้อนการจัดการขยะที่ขาดประสิทธิภาพ

10 จังหวัด "ขยะทะเล"มากสุด สะท้อนการจัดการขยะที่ขาดประสิทธิภาพ

ขยะทะเล กลายเป็นประเด็นที่ทุกฝ่ายต่างกลับมาให้ความสนใจอีกครั้ง ปัญหาที่สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบ ความสูญเสีย สัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์ นอกจากนี้ยังสะท้อนถึงมาตรการการบริหารจัดการขยะทั้งบนบกและในทะเลที่ขาดประสิทธิภาพ

"ขยะทะเล" ของเสียที่เกิดจากมนุษย์ที่ถูกทิ้งลงสู่ทะเลทั้งทางตรง และทางอ้อม โดยตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ มีตั้งแต่ขนาดเล็ก จนถึงขนาดใหญ่ ซึ่งขยะดังกล่าวเป็นขยะพลาสติกมีน้ำหนักเบาและไม่สามารถย่อยสลายได้ เช่น ถุงพลาสติก ขวดน้ำ รวมทั้ง

ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เช่น สายรัด แผ่นพลาสติก เครี่องมือประมง เป็นต้น

10 จังหวัด "ขยะทะเล"มากสุด สะท้อนการจัดการขยะที่ขาดประสิทธิภาพ

แหล่งที่มาขยะทะเล

1. กิจกรรมบนฝั่ง เช่น ชุมชน แหล่งทิ้งขยะบนฝั่ง บริเวณท่าเรือ และการท่องเที่ยวชายหาด เป็นต้น

2. กิจกรรมในทะเล เช่น การขนส่งทางทะเล การประมง และการท่องเที่ยงทางทะเล เป็นต้น

ขยะพลาสติกในทะเลร้อยละ 80 มาจากกิจกรรมบนบก อีกร้อยละ 20 มาจากกิจกรรมในทะเล

5 ปีย้อนหลัง ขยะในทะเลแนวโน้มเพิ่มขึ้น

ปี 2561 พบขยะทะเล 66,022 ชิ้น

ปี 2560 พบขยะทะเล 45,970 ชิ้น

ปี 2559 พบขยะทะเล 51,687 ชิ้น

ปี 2558 พบขยะทะเล 115,522 ชิ้น

ปี 2557 พบขยะทะเล 40,208 ชิ้น

  10 จังหวัด "ขยะทะเล"มากสุด สะท้อนการจัดการขยะที่ขาดประสิทธิภาพ

10 จังหวัด ขยะในทะเล มากที่สุด (ปี 2561)

1.สมุทรปราการ

2.สงขลา

3.ระยอง

4.ภูเก็ต

5.ประจวบฯ

6.ปัตตานี

7.จันทบุรี

8.ตรัง

9.นราธิวาส

10.พัทลุง

10 อันดับ ชนิดขยะในทะเลไทยที่พบมากที่สุด

1.ถุงพลาสติกอื่นๆ

2.ขวดเครื่องดื่ม (พลาสติก)

3.ขวดเครื่องดื่ม (แก้ว)

4.ถ้วย/จาน (โฟม)

5.หลอด/ที่คนเครื่องดิื่ม

6.เชือก (1 เมตร = 1 ชิ้น)

7.กระป๋องเครื่องดื่ม

8.ถุงก๊อปแก๊ป

9.กล่องอาหาร (โฟม)

10.ห่อ/ถุงอาหาร (ท๊อฟฟี่,มันฝรั่งอบกรอบ อื่นๆ)

10 จังหวัด "ขยะทะเล"มากสุด สะท้อนการจัดการขยะที่ขาดประสิทธิภาพ

ที่มา : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

related