svasdssvasds

ไทยขาดแคลนจิตแพทย์หนัก ป่วยจิต เฉียดทะลุ2ล้าน

ไทยขาดแคลนจิตแพทย์หนัก ป่วยจิต เฉียดทะลุ2ล้าน

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

ไทยกำลังขาดแคลนจิตแพทย์ จำนวนกว่า 1,500 คน จากปัจจุบันที่มีเพียง 746 คน เกือบครึ่งกระจุกตัวใน กทม. ขณะอีก 14 จังหวัด ไม่มีจิตแพทย์ประจำ สวนทางกับจำนวนผู้ป่วยสุขภาพจิตที่เพิ่มขึ้นทั่วประเทศ ล่าสุดเข้ารับการรักษาเกือบ 2 ล้านคน จิตแพทย์ 1 คน ดูแลผู้ป่วย 2 พันราย คนไข้บ่นรอนาน และได้รับบริการที่ไม่ดีพอ

 

รายงานจำนวนผู้ป่วยสุขภาพจิตในประเทศไทย พบว่า มีผู้เข้ารับการรักษา 1,734,410 คน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 18 ในรอบ 5 ปี เฉพาะโรคซึมเศร้ามีจำนวน 223,564 คน เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 48 เท่ากับว่าในขณะนี้จิตแพทย์ 1 คน ต้องดูแลผู้ป่วย 2,300 คน กำลังการผลิตจิตแพทย์ของไทย อยู่ที่ปีละ 50 - 80 คน ผู้ป่วยโรคจิตเภทในประเทศไทยมีประมาณร้อยละ 1 ของประชากรทั้งหมด หรือประมาณ 600,000 คน ในจำนวนนี้เข้าถึงการรักษากับโรงพยาบาลจิตเวชประมาณร้อยละ 40 หรือ 240,000 ขณะเดียวกัน พบการกระจุกตัวของจิตแพทย์ในกรุงเทพฯ เพราะเป็นที่ตั้งของโรงเรียนแพทย์และศูนย์ของโรงพยาบาลเอกชน ทั้งนี้แพทย์ในสังกัดกรมสุขภาพจิตยังต้องลงพื้นที่ต่างจังหวัดเดือนละ 1 - 2 ครั้ง แพทย์จำนวนหนึ่งจึงลาออก เพราะไม่สะดวกเดินทาง แล้วย้ายเข้าสังกัดโรงพยาบาลทั่วไปแทน

ไทยขาดแคลนจิตแพทย์หนัก ป่วยจิต เฉียดทะลุ2ล้าน

การดูแลคนไข้จิตเวช แพทย์ท่านนึง จะต้องดูแล ผู้ป่วย ประมาณวันละ 20 ราย ตามหลักควรพูดคุยกับคนไข้อย่างน้อย 15 นาทีต่อราย ต้องใช้เวลาขั้นต่ำ 5 ชั่วโมง หากแต่ในความเป็นจริง แพทย์ 1 คน สามารถพูดคุยกับผู้ป่วยได้เพียง 3 ชั่วโมงเช้า เพราะผู้ป่วยใหม่ต้องใช้เวลาพูดคุยซักประวัตินาน เพื่อประเมินอย่างละเอียด ที่เหลือเป็นการติดตามอาการของผู้ป่วยเก่า

 

ปัจจุบันแม้รัฐจะอนุญาตให้แพทย์เรียนต่อเฉพาะทางด้านจิตเวชโดยไม่ต้องใช้ทุนให้หมดก่อน ข้อดีคือผลิตได้เร็ว แต่ข้อเสียคือขาดทักษะแยกแยะโรคทางกายกับโรคทางจิต เปรียบเทียบกับแพทย์ที่สหรัฐอเมริกาต้องฝึกฝนการแยกโรคทางกายได้อย่างแม่นยำ แล้วจึงค่อยเรียนต่อโรคทางจิตเพราะสาขาจิตเวชมีความเป็นศิลปะสูงและจับต้องยาก ต้องใช้ สังคม พูดคุยสังเกตดูบริบทต่างๆ เพื่อวินิจฉัย เป็นสาเหตุให้ทุนเรียนต่อด้านจิตเวช เหลือทุกปี แต่ในอนาคตคาดว่า จะมีผู้เรียนมากขึ้น เพราะเมื่อสาขาอื่นเต็ม แพทย์ที่เหลือก็ต้องเลือกลงสาขาที่ยังเปิดรับอยู่

ไทยขาดแคลนจิตแพทย์หนัก ป่วยจิต เฉียดทะลุ2ล้าน

ขณะที่ ทิศทางการพัฒนาบุคลากรด้านนี้ ในอนาคตอันใกล้ ปี 2563 กรมสุขภาพจิต แก้ปัญหาจิตแพทย์ขาดแคลนด้วยการตั้ง เครือข่ายบริการ 12 เครือข่ายทั่วประเทศ แต่ละเครือข่ายประสานด้านบุคลากรกันในพื้นที่ 5 - 8 จังหวัด นอกจากนี้ยังฝึกอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ให้สามารถคัดกรองคนไข้โดยใช้แบบประเมินอาการ จากนั้นจึงส่งตัวผู้มีความเสี่ยงเข้ารับการวินิจฉัยโรคในสถานบริการด้านสุขภาพจิตที่มี 18 แห่งทั่วประเทศ  อย่างไรก็ตาม จากการประเมินผลพบว่า สามารถบรรเทาปัญหาขาดแคลนบุคลากรได้ดีขึ้น  ผู้ป่วยมีโอกาสเข้าถึงบริการได้มากกว่าเดิม โดยโรคซึมเศร้าซึ่งมีผู้ป่วยประมาณ 1.5 ล้านคน เข้าถึงบริการเกือบร้อยละ 50 โรคจิตเวชเกือบ 6 แสนคน เข้าถึงบริการรักษาร้อยละ 70 เด็กสมาธิสั้นเข้าถึงบริการเพิ่มเป็นร้อยละ 10 ซึ่งตัวเลขการเข้าถึงเหล่านี้สำคัญมาก เพราะการที่ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาได้มากขึ้น จะช่วยลดอาการกำเริบได้ดีขึ้น

 

ขอบคุณภาพ Tranquilizing Chair Photograph by Granger  fineartamerica.com

ขอบคุณภาพ จาก Dek-D.com

ขอบคุณภาพ จาก TCIJ

 

related