svasdssvasds

พระปกเกล้าจัดประชุมวิชาการ เรื่องประชาธิปไตยไทย

พระปกเกล้าจัดประชุมวิชาการ เรื่องประชาธิปไตยไทย

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

 

 

นักการเมือง นักวิชาการ ร่วมอภิปรายรัฐธรรมนูญ 2560 ในประชุมวิชาการของสถาบันพระปกเกล้า หลายคนห่วงเรื่องการเลือกตั้งที่อาจเกิดการซื้อสิทธิ์ ขายเสียงมากขึ้น เพราะระบบเลือกตั้งเน้นตัวบุคคลมากกว่าพรรค ขณะเดียวกันก็ห่วงเรื่องการสืบทอดอำนาจ ของ คสช.ผ่าน ส.ว.ชุดแรก 250 คน

 

สถาบันพระปกเกล้าจัดประชุมวิชาการ เรื่องประชาธิปไตยไทย:ความท้าทายใหม่ อุดมคติ สิ่งที่เป็นจริง และ สิ่งที่อยากเห็น โดยนายนรนิติ เศรษฐบุตร อดีตประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ได้กล่าวปาฐกถาหัวข้อ "ส่วนร่วมประชาธิปไตย:ทำอย่างไรให้ยั่งยืน" ตอนหนึ่งว่า นอกจากการเลือกตั้ง การประท้วงทางการเมืองก็เป็นการมีส่วนร่วมทางการเมืองเช่นกัน ดังนั้นคำสั่งหรือกฎหมายเรื่องการห้ามชุมนุม ส่วนตัวมองว่าแก้ปัญหาไม่ได้ แต่ควรคิดว่าจะทำอย่างไรให้การประท้วงนั้นเป็นไปอย่างสันติ น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด

พระปกเกล้าจัดประชุมวิชาการ เรื่องประชาธิปไตยไทย

จากนั้นเข้าสู่การอภิปราย เรื่อง บททดสอบรัฐธรรมนูญใหม่ที่พึงปรารถนา โดยมีนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ผู้อำนวยการสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคม นางสิริพรรณ นกสวน สวัสดี นักวิชาการคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าร่วม

โดยนางสิริพรรณ กล่าวว่า ซึ่งนางสิริพรรณ กล่าวว่า รัฐธรรมนูญควรจะเป็นที่ยอมรับของทุกคน และต่อให้แย่แค่ไหน ต้องไม่ฉีกรัฐธรรมนูญ ซึ่งที่ผ่านมากองทัพกระทำมาโดยตลอด

สำหรับรัฐธรรมนูญปี 2560 จากการศึกษาพบว่าจะทำให้เกิดการซื้อสิทธิ์ ขายเสียงมากขึ้น เพราะ เน้นตัวบุคคล แม้จะช่วยลดอิทธิพลของพรรคใหญ่จริง แต่ไม่ช่วยให้เกิดการกระจายตัวแทนเข้าไปในพรรคการเมือง นอกจากนี้ ความเชื่อมโยงระหว่างพรรคการเมืองและประชาชนจะน้อยลง ทำให้ความเป็นสถาบันของพรรคการเมืองลดลง

พระปกเกล้าจัดประชุมวิชาการ เรื่องประชาธิปไตยไทย

ทั้งนี้นางสิริพรรณ กล่าวต่อว่า เมื่อ คสช.ยังไม่ปลดล็อคพรรคการเมืองให้ทำกิจกรรมได้ พรรคเล็กจะเสียเปรียบมากที่สุด เพราะการกำหนดการจดทะเบียนพรรคการเมืองทำได้ยากมากขึ้น เหลือเพียง 4 เดือนเท่านั้นในการจดทะเบียน จึงเสนอให้นำเงินกองทุนพรรคการเมืองที่มีอยู่แล้ว มาให้พรรคการเมืองมาจัดการเลือกตั้งขั้นต้นก่อน

ขณะที่ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ กล่าวว่า ตนมองเรื่องนี้ ว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้เอื้อประโยชน์ และ ปูทางไปสู่การสืบทอดอำนาจ เช่น เรื่องการให้ คสช.สามารถพิจารณาคนมาเป็น ส.ว. 250 คน ขณะเดียวกันที่มาขององค์กรอิสระต่อจากนี้จะถูกวิจารณ์ว่ามาจากผู้มีอำนาจ และ โครงสร้างการเมืองระบบนี้ทำให้เกิดปัญหากับพรรคประชาธิปัตย์ในเรื่องระบบไพรมารีโหวต เพราะมีสมาชิกจำนวนมาก

related