svasdssvasds

กฟน. นำสื่อมวลชนติดตามการ Reuse เสาไฟฟ้าป้องกันคลื่นกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน

กฟน. นำสื่อมวลชนติดตามการ Reuse เสาไฟฟ้าป้องกันคลื่นกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

 

 

 

เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2560 ที่ผ่านมา นายประสงค์ คุ้มประดิษฐ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) พร้อมด้วยคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ ติดตามงานปักเสาไฟฟ้าที่รื้อถอน และ ไม่ใช้งานแล้วจากโครงการนำสายไฟฟ้าลงใต้ดิน เพื่อ นำมาป้องกัน และ แก้ปัญหาคลื่นกัดเซาะชายฝั่ง ณ ชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน

ผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง กล่าวว่า เนื่องจากในปัจจุบัน กฟน. ได้ดำเนินโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำสายสื่อสารลงใต้ดิน โดย ล่าสุดได้ดำเนินโครงการบนถนนพหลโยธิน พญาไท และสุขุมวิท ทำให้มีการรื้อถอนเสาไฟฟ้า และ ดำเนินการส่งมอบให้กับ กทม. แล้วจำนวนทั้งสิ้น 1,344 ต้น เพื่อ ใช้สนับสนุนการดำเนินโครงการปลูกป่าในใจคนตามศาสตร์พระราชาของกรุงเทพมหานคร ในการสร้างแนวป้องกันคลื่นช่วยฟื้นฟู และ ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลกรุงเทพฯ เขตบางขุนเทียน เป็นระยะทางประมาณ 4.7 กิโลเมตร

กฟน. นำสื่อมวลชนติดตามการ Reuse เสาไฟฟ้าป้องกันคลื่นกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน

สำหรับวิธีการป้องกันคลื่นกัดเซาะชายฝั่งทะเลที่ผ่านมา ใช้การปักด้วยไม้ไผ่ทำให้ย่อยสลายได้ง่าย จึง มีอายุการใช้งานประมาณ 2-3 ปี ขณะ ที่การใช้เสาไฟฟ้าของ กฟน. ซึ่งเป็นแท่งคอนกรีตนั้นจะมีอายุการใช้งานนานประมาณ 30 ปี อีกทั้ง ยังมีความแข็งแรงทนทาน และ มีความยืดหยุ่นจากโครงสร้างลวดเหล็กภายในเสาไฟฟ้า ทำให้สามารถรับแรงดัดได้มากถึง 4.5 ตันเมตร หรือหักโค้งได้ประมาณ 7-8 เซนติเมตร โดยจะดำเนินการด้วยวิธีปักเสาเป็นแนว 4 แถว มี ระยะห่างระหว่างเสาและแถวประมาณ 70 ซม. คิดเป็นจำนวนเสาไฟฟ้าที่ใช้ประมาณ 3,600 ต้น ต่อความยาว 1 กิโลเมตร

กฟน. นำสื่อมวลชนติดตามการ Reuse เสาไฟฟ้าป้องกันคลื่นกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา กฟน. ได้มอบเสาไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้งานแล้วให้กับหน่วยงานภาครัฐ และ เอกชนที่ขอความร่วมมือนำไปใช้งานเพื่อชุมชนและสังคม เช่น จังหวัดสมุทรปราการ ได้นำไปใช้ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งที่บริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้าฯ รวมถึงยังมีหน่วยงานชุมชนในพื้นที่ให้บริการของ กฟน. ต่างๆ ขอนำเสาไฟฟ้าไปใช้ทำฝายชะลอน้ำ สะพานข้ามคลองในชุมชน อีกด้วย อย่างไรก็ตาม กฟน. มีการดำเนินโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินอีกรวมระยะทาง 214.6 กิโลเมตร มีกำหนดแล้วเสร็จภายในปี 2564 ซึ่ง กฟน. ยังคงมีโครงการมอบเสาไฟฟ้าที่รื้อถอนให้กับ กทม. ใช้ป้องกันปัญหาคลื่นกัดเซาะชายฝั่งเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง เพื่อ ช่วยฟื้นฟู และ ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งททะเล ลดผลกระทบ ที่ อาจเกิดกับประชาชนริมชายฝั่งเป็นจำนวนมากทำให้เสาไฟฟ้าที่รื้อถอนไม่ใช้งาน แล้ว ในโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินสร้างมหานครไร้สาย Smart Metro ของ กฟน. ไม่สูญเปล่าใช้เป็นประโยชน์แก่ประชาชนได้ ติดตามรับชมรายละเอียดได้จากคลิปข่าว

***รับชมคลิป***

related