svasdssvasds

สสส.ร่วมมอบของขวัญเด็กไทย พร้อมโครงการ "สิ่งเล็กๆที่สร้างลูก"

สสส.ร่วมมอบของขวัญเด็กไทย พร้อมโครงการ "สิ่งเล็กๆที่สร้างลูก"

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

    สสส. พร้อมด้วย พล.อ.ฉัตรชัย มอบของขวัญเด็กไทย "สิ่งเล็กๆที่สร้างลูก" เครื่องมือดูแลลูกยุคใหม่ พบการเลี้ยงดูเด็กยุคนี้ 50% ใช้มือถือ-อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เลี้ยงเด็กเล็กจากการสำรวจ ปู่ย่า และ บุคคล ในครอบครัว มี บทบาทสูงต่อการเลี้ยงดู ขณะที่ 59% มีหนังสือเด็กในบ้านไม่ถึง 3 เล่ม แนะสิ่งเล็ก ๆ ที่สร้างลูก จาก สิ่งใกล้ตัวด้วยอุปกรณ์ศูนย์บาท คือ"เล่นจ๊ะเอ๋" ในเด็กต่ำกว่า 2 ขวบ ส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองได้อย่างคาดไม่ถึง เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2561 ที่ผ่านมา ที่ อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข ภายใต้โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 จัดงานของขวัญเด็กไทย "สิ่งเล็กๆที่สร้างลูก" เครื่องมือดูแลลูกยุคใหม่ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี และ ประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) กล่าวว่า การพัฒนาเด็กปฐมวัย ในช่วงอายุ 0-5 ปี คือโอกาสทองของการพัฒนาคุณภาพชีวิต รัฐบาลจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาเด็กตั้งแต่ ปฐมวัย ที่ ครอบคลุมการดูแลเด็ก ตั้งแต่ อยู่ในครรภ์ และ กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กปฐมวัย ที่ สอดคล้องกับพัฒนาการทุกด้าน อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงดูในบ้านเป็นปัจจัยสำคัญ ที่สุด สำหรับพัฒนาการของเด็กในวัยนี้ เนื่อง ในโอกาสวันเด็กแห่งชาติ สสส.จึง ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และ ภาคีเครือข่าย จัดทำโครงการสิ่งเล็กๆที่สร้างลูก เพื่อ สร้างความเชื่อมั่น และ กระตุ้นให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญ ในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ ให้แก่ เด็กจากเรื่องใกล้ตัวที่ทำได้ง่าย โดยมอบของขวัญเด็กไทย 5 เครื่องมือ ที่ ช่วยส่งเสริมพัฒนาการลูก ประกอบด้วย (1) คู่มือสิ่งเล็กๆที่สร้างลูก คู่มือพัฒนาลูกจากสิ่งใกล้ตัว (2) นิทานจ๊ะเอ๋ สื่อที่สร้างสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว (3) คู่มือ และ โปสเตอร์เฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย เพื่อตรวจวัดพัฒนาการของเด็กว่าตรงตามเกณฑ์สมวัยหรือไม่ รวมถึง แอปพลิเคชัน คุณลูก ผู้ช่วยติดตามประเมิน และ ส่งเสริมพัฒนาการลูกในฉบับพกพาบนมือถือ (4) ห้องเรียนพ่อแม่ กิจกรรม ที่ พ่อแม่ผู้ปกครองจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงกับผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กอย่างใกล้ชิด ซึ่ง SOOK by สสส. จะจัดสัญจรไปทั้ง 4 ภาค พร้อมกับทำงานร่วมกับเครือข่ายศูนย์พัฒนาเด็กเล็กใน 30 จังหวัด 2,000 แห่ง เครือข่ายผู้ปกครอง และเครือข่ายโรงพยาบาลเพื่อต่อยอดในพื้นที่ และ (5) สื่อรณรงค์ ที่หยิบยกเรื่อง การเล่นจ๊ะเอ๋ และ การอ่านนิทานมาเป็นตัวอย่างง่ายๆที่ส่งเสริมพัฒนาการลูกได้ ออกมาในรูปแบบ ภาพยนตร์โฆษณาและคลิปออนไลน์ จำนวน 5 เรื่อง โดยเครื่องมือต่างๆนี้ จะถูกส่งมอบกระจายไปยังศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงพยาบาล เครือข่ายด้านเด็กต่างๆทั่วประเทศ และเปิดให้พ่อแม่ผู้ปกครองได้ดาวน์โหลดฟรี ด้วย QR Code ผ่าน www.khunlook.com และเฟซบุ๊คเพจ สิ่งเล็กๆที่สร้างลูก ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กล่าวว่า จาก ข้อมูลผลสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย ปี 2558-2559 โดยองค์การยูนิเซฟประเทศไทย สำนักงานสถิติแห่งชาติ และ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พบว่า ผู้ใหญ่ในครัวเรือน อย่างปู่ย่า ตายาย มีบทบาทสูงต่อการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กในช่วงอายุ 3-5 ปีถึง 92.7% ขณะที่ บทบาทของแม่ในการส่งเสริมการเรียนรู้อยู่ที่ 62.8% ตามด้วย บทบาทของพ่อ 34% ที่ น่าสนใจคือ พบว่าเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ที่เล่นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต เครื่องเล่นเกม สูงถึง 50% และ 7 ใน 10 ของเด็กอายุ 2 ปีขึ้นไป เล่นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่ อายุยังน้อย โดยเฉพาะ เด็กในกทม. และ ภาคใต้ ซึ่ง การเล่นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่ อายุยังน้อยอาจส่งผลให้เกิดภาวะสมาธิสั้นได้ นอกจากนี้ ยังพบช่องว่างของพัฒนาเด็กเล็กตามระดับการศึกษา ของแม่ และ ฐานะทางเศรษฐกิจ โดยพบ ว่า เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ที่ มีหนังสือสำหรับเด็กอย่างน้อย 3 เล่ม มีเพียง 41.2% เท่ากับว่าอีก 59% มีหนังสือเด็กในบ้านไม่ถึง 3 เล่ม โดย เด็กที่ร่ำรวย มีหนังสือสำหรับเด็กในสัดส่วน ที่ มากกว่ากลุ่มที่ยากจนถึง 3 เท่า ดังนั้น การเลี้ยงดูในบ้านเป็นปัจจัยสำคัญ ที่สุดสำหรับพัฒนาการของเด็กในวัยนี้ ซึ่งทุกครอบครัวมีต้นทุนไม่แพ้กันคือความรักความเอาใจใส่ เครื่องมือสิ่งเล็กๆที่สร้างลูก จึง ถูกออกแบบจากสิ่งใกล้ตัว ง่ายๆ ช่วยส่งเสริมพัฒนาการลูกได้ ด้วยอุปกรณ์ราคาศูนย์บาท พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร กุมารแพทย์เวชศาสตร์วัยรุ่น ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าว ว่า พัฒนาการที่ดีเริ่มต้นที่พ่อแม่และผู้ปกครอง จึง ไม่อยากให้กังวล ว่า การที่ ลูกจะมีพัฒนาการที่ดีจะต้องลงทุนด้วยเงินจำนวนมาก หรือ มีเวลาที่มาก แต่ มีจุดเริ่มต้นจากสิ่งเล็กๆใกล้ตัว ในชีวิตประจำวัน ด้วยกิจกรรมธรรมดาที่เติมความรัก ความเข้าใจ ความเอาใจใส่ และ ความสม่ำเสมอในทุกๆวัน เช่น เล่นกับลูก อ่านหนังสือกับลูก การชวนลูกคุยเพราะยิ่งชวนลูกคุยมากขึ้นเท่าไหร่ก็จะช่วยสะสมคลังศัพท์มากขึ้น การชวนให้ลงมือทำงานบ้านร่วมกัน และ พาลูกออกไปเที่ยวเพื่อเรียนรู้สิ่งแวดล้อมนอกบ้าน ตัวอย่าง เช่น การเล่นจ๊ะเอ๋กับลูก ซึ่งแฝงความมหัศจรรย์ที่ช่วยให้สมอง และ พัฒนาการของเด็กในหลายด้านถูกกระตุ้น อย่างที่ผู้ใหญ่คาดไม่ถึง การเล่นจ๊ะเอ๋ช่วยให้เด็กในช่วง 2 ขวบปีแรก ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องการคงอยู่ของสิ่งต่างๆ จากการที่ผู้ใหญ่ปิดตาหรือซ่อนแอบ ช่วยกระตุ้นพัฒนาการด้านการสื่อสารระหว่างกัน ฝึกการจดจำข้อมูล โดย เด็กจะจำ ว่า ผู้ปกครองชอบโผล่ทางไหน และ คาดเดา ว่า ครั้งต่อไปจะเป็นทิศทางใด ฝึกให้รู้จักรอคอย ช่วงเวลา ที่ ปิดหน้าหรือซ่อนหลังสิ่งของ เด็กจะรู้จักรอคอยว่าเมื่อไหร่ จะ เปิดตาหรือโผล่ขึ้นมา และเกิดสายสัมพันธ์ความผูกพันในหัวใจของลูก เพราะ เป็นช่วงเวลาที่เด็กเป็นศูนย์กลาง การสบตา การใช้เสียงสูงต่ำ รอยยิ้มและเสียงหัวเราะทำให้ถักทอสายสัมพันธ์ในครอบครัว เป็นต้น ***รับชมคลิป***

related