svasdssvasds

ที่เดียวในโลก "ช้างไถนา" สืบสานประเพณีจากอดีตถึงปัจจุบัน

ที่เดียวในโลก "ช้างไถนา" สืบสานประเพณีจากอดีตถึงปัจจุบัน

อมก๋อย จัดโครงการอนุรักษ์ช้างไถนา สืบสานประเพณีช้างไถนาขึ้นที่บริเวณทุ่งนาในหมู่บ้าน สืบทอดกันมานับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ที่เดียวเท่านั้นในโลก

บ้านนาเกียน ตำบลนาเกียน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ นายศิวะ ธมิกานนท์ นายอำเภออมก๋อย เป็นประธานในพิธีเปิดงานโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวและอนุรักษ์ช้างไถนา ประจำปี 2561 หรือช้างไถนา ที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาเกียน และชาวบ้านนาเกียน ได้ร่วมกันสืบสานประเพณีช้างไถนาขึ้นที่บริเวณทุ่งนาในหมู่บ้าน โดยควาญช้างได้นำช้าง เข้าสู่นาข้าวและเริ่มคราดไถดิน ท่ามกลางความสนใจของชาวบ้านและทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทย ชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะเด็กๆ ทั้งหญิงและชาย ที่วันนี้แต่งชุดประจำเผ่าสีสันสดใสมาร่วมกิจกรรมอย่างคึกคัก ในช่วงต้นฤดูฝนหรือฤดูแห่งการเพาะปลูกประจำปีของชาวบ้านที่นี่ จากการสอบถามชาวบ้านที่นี่ ทราบถึงสาเหตุที่ชาวบ้านนำช้างมาใช้ไถนาแทนควายในการปลูกข้าวไร่ เพราะช้างทำงานได้เร็วกว่า โดยช้าง 1 เชือก ต้องมีคนควบคุม 2 คน คือบังคับช้างและถือคันไถ ซึ่ง ช้างไถนา มีเพียงที่เดียวเท่านั้นในโลก

ที่เดียวในโลก "ช้างไถนา" สืบสานประเพณีจากอดีตถึงปัจจุบัน

ด้านนายศุภธนิศร์ รุ่งเรืองเลิศไพศาล นายก องค์การบริหารส่วนตำบลนาเกียน กล่าวว่า นอกจากส่งเสริมการท่องเที่ยวแล้ว ยังเป็นการสืบสานภูมิปัญญาชาวบ้านอันทรงคุณค่าของการใช้ ‘ช้างไถนา’ ที่สืบทอดกันมานับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ที่เดียวในโลก "ช้างไถนา" สืบสานประเพณีจากอดีตถึงปัจจุบัน

สำหรับประวัติช้างไถนา นายพะก่าโหนะ ชาวบ้านแม่แพ ตำบลแม่สวด อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งโดยปกติมีนิสัยอารมณ์จินตนาการความเป็นศิลปิน ทั้งชอบเล่น เต่อหน่า เป็นเครื่องดนตรีของกะเหรี่ยง และชอบอูเคว เป็นการเป่าแคนเขาควาย มาตั้งแต่เด็กแล้ว จึงได้เกิดแนวคิดว่า จะใช้ช้างไถนาแทนควาย จึงได้ปรึกษาหารือกับนายอานี ประยูรยืนยง และนายแหนะดี ประยูรยืนยง เพื่อทดสอบความเป็นไปได้ ซึ่งครั้งแรกนั้นได้ฝึกช้างไถนาอย่างแอบๆ ซ่อนๆ กลัวถูกกล่าวหาจากคนอื่นว่าเพี้ยน หรือทำสิ่งที่แปลกๆ ที่คนอื่นไม่ค่อยทำกัน แต่เวลาได้พิสูจน์ได้เกิดเป็นที่ยอมรับจากที่ฝึกฝนช้างด้วยคันไถนา และทดลองจากคันไถ 1 คัน มาเป็น 2 คันก็ยังได้อีก จึงได้ปรากฏการใช้ช้างไถนาในถิ่นตำบลนาเกียนมาจนทุกวันนี้ โดยช้างตัวแรกชื่อว่า ปุ๊น่อย แปลว่าตัวผู้น้อย เป็นช้างหุ้นส่วนหลายๆ คนในหมู่บ้าน โดยช้างปุ๊น่อย ถูกใช้งานและเลี้ยงอยู่ละแวกบ้านนาเกียน และบ้านแม่โขง จากนั้นปี 2526 ก็ถูกขายไปในเขตชายแดนทางพม่าไปและได้มีการซื้อช้างใหม่ขึ้นเรื่อยๆและได้มีการนำช้างตัวอื่นๆ มาไถนาสืบต่อๆ กันมา โดยแปลงนาผืนแรกที่ใช้ช้างไถนาเป็นของพ่อตา นายพะก่าโหนะ ตั้งอยู่บริเวณทางทิศตะวันตกของบ้านนาเกียนกลาง หลังจากนั้นชาวบ้านได้สืบสานช้างไถนา ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นฤดูเพาะปลูกเป็นประจำทุกปี

ที่เดียวในโลก "ช้างไถนา" สืบสานประเพณีจากอดีตถึงปัจจุบัน

related