svasdssvasds

คุณคือ Gen “มิลเลนเนียล” หรือไม่?? เสี่ยง!! “โรคซึมเศร้า”

คุณคือ Gen “มิลเลนเนียล” หรือไม่?? เสี่ยง!! “โรคซึมเศร้า”

GEN “มิลเลนเนียล” มักเปลี่ยนงานบ่อย หรือไม่ทนกับการทำงานที่ไม่ใช่ตัวเอง แต่ถ้าดูให้ดีก็มีเหตุผล เพราะต้องการความเป็นตัวเองสูง แต่ก็แฝงไปด้วยคนที่เผชิญกับ “โรคซึมเศร้า” มากที่สุด

การเปลี่ยนผ่านของสังคมไทย คนวัยทำงานเข้าสู่ยุค “มิลเลนเนียล” จากการสำรวจพฤติกรรมของคน 3 เจนเนอเรชั่น เมื่ออยู่ในองค์กร พบว่า GEN X (คนที่เกิดในช่วง พ.ศ. 2508-2522) ยังเป็นกลุ่มคนที่มุ่งทำงาน เพื่อพัฒนาทักษะความสามารถและแสวงหาโอกาสการเติบโตในสายงานอยู่เสมอ ในขณะที่ GEN Y (คนที่เกิดในช่วง พ.ศ. 2523-2540) เป็นช่วงวัยของการเริ่มต้นในหลายด้าน ทั้งชีวิตการทำงาน หรือแม้กระทั่งชีวิตครอบครัว ส่วน GEN Z (คนที่เกิดหลัง พ.ศ. 2540 ขึ้นไป) จะเป็นมนุษย์เทคโนโลยี และยังไม่ใช่กลุ่มคนที่ภักดีต่อองค์กร

คุณคือ Gen “มิลเลนเนียล” หรือไม่?? เสี่ยง!! “โรคซึมเศร้า”

จากผลสำรวจสถานการณ์ปัญหาสุขภาพจิต เมื่อปี 2556 ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ที่ทำการสำรวจทุก 5 ปี พบว่า คนไทยที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป มีปัญหาสุขภาพจิตประมาณ 7 ล้านคน พบใน 5 กลุ่มโรค ประกอบด้วย กลุ่มโรคซึมเศร้า กลุ่มที่มีภาวะจิตผิดปกติ ซึ่งเรียกว่าโรคจิตเภท กลุ่มที่มีความวิตกกังวล กลุ่มที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา หรือพิการทางสมองตั้งแต่กำเนิด  และกลุ่มที่มีปัญหาแทรกซ้อนจากสิ่งเสพติด เช่น แอลกอฮอล์ ยาเสพติด

คุณคือ Gen “มิลเลนเนียล” หรือไม่?? เสี่ยง!! “โรคซึมเศร้า” คุณคือ Gen “มิลเลนเนียล” หรือไม่?? เสี่ยง!! “โรคซึมเศร้า”

เมื่อเทียบกับการสำรวจเมื่อปี 2551 พบปัญหาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่จากการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคม คาดว่าแนวโน้มในอนาคตปัญหาสุขภาพจิตจะมีมากขึ้น โดยเฉพาะปัญหายาเสพติดและแอลกอฮอล์

คุณคือ Gen “มิลเลนเนียล” หรือไม่?? เสี่ยง!! “โรคซึมเศร้า”

วิธีที่จะทำให้ห่างไกลจาก “โรคซึมเศร้า”

หลักๆ คือ อย่าตั้งเป้าหมายในการทำงาน หรือตั้งความหวังไว้สูงจนเกินไป แยกแยะปัญหาใหญ่ๆ ให้เป็นส่วนย่อยๆ พร้อมจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังและลงมือทำ พยายามหากิจกรรมที่ทำร่วมกับผู้อื่น และที่สำคัญไม่ควรตำหนิหรือลงโทษตัวเอง ที่ไม่สามารถเป็นหรือทำได้ตามต้องการได้

คุณคือ Gen “มิลเลนเนียล” หรือไม่?? เสี่ยง!! “โรคซึมเศร้า”