svasdssvasds

ทลายอย่างไร?? “ภูเขาขยะ” 3 แสนตัน บน “เกาะสมุย” กับ รามเนตร ใจกว้าง

ทลายอย่างไร??  “ภูเขาขยะ” 3 แสนตัน บน “เกาะสมุย” กับ รามเนตร ใจกว้าง

ขยะบนเกาะสมุย 3 แสนที่สื่อญี่ปุ่น เดินทางมาถ่ายภาพนำเสนอว่า ล้นเกาะ จากจำนวนขยะสะสมเก่าและที่เกิดขึ้นใหม่ ส่งผลให้พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยต้องลงพื้นที่ เพื่อหาทางแก้ไขปัญหา ซึ่งยังไม่มีความชัดเจนว่าจะจัดการอย่างไร?

นายรามเนตร ใจกว้าง  นายกเทศมนตรีนครเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ ให้สัมภาษณ์ถึงการแก้ปัญหาขยะปริมาณมหาศาล ดังนี้

ถาม : ปัญหาที่สื่อต่างชาติรายงานข้อมุลพร้อมภาพดูน่าตกใจตอบ : ความจริงเกาะสมุยมีขยะตกค้าง ประมาณ 2 แสนกว่าตัน ร่วม 2 ปี รัฐบาลให้งบฯ ขนย้ายออกนอกเกาะ จากพื้นที่บ่อขยะที่มี 30 ไร่ เป็นพื้นที่ตัวอาคารประมาณครึ่งหนึ่ง มีที่เก็บขยะ 15 ไร่ ทั้งนี้ ระเบียบการจัดจ้างของจังหวัดอยู่ระหว่างการดำเนินการ ขณะเดียวกันเทศบาลได้ตั้งงบฯเพื่อขนขยะใหม่ที่คู่ขนานเพิ่มขึ้น การขนออกน่าจะเริ่มประมาณปลายธันวาคม

ถาม : เล่าให้เห็นภาพถึงการเกิดขยะสะสมจากอดีตถึงปัจจุบันตอบ : เดิมเรามีเตาเผาขยะ เมื่อ 20 ปีที่แล้ว เราใช้เตาเผาขยะถึงปี 2552 จนใช้งานไม่ได้ ซ่อมก็ไม่ได้ มีการจัดจ้างให้ขนขยะแบบคัดเลือกผสมผสาน เข้าในสายพานแล้วคัดแยก แบบขยะรีไซเคิล เพื่อนำไปเผาในแก๊สได้ จนผู้รับจ้างได้นำเทคโนโลยีจากประเทศจีน มาใช้แต่แล้วทำไม่ได้ ก็กลายเป็นขยะตกค้าง จนสะสมมา รัฐบาลก็พิจารณาเห็นว่า ตามที่เทศบาลเสนอขอให้ขนขยะออกนอกเกาะ ก็อนุมัติให้งบฯ 300 ล้านบาท แต่การจัดจ้างยังติดขัดอยู่  แต่ไม่ได้นิ่งนอนใจเราก็ตั้งงบฯ เพื่อกำจัดขยะใหม่ก่อน คู่ขนานกับการนำขยะ 2 แสนตันออกไปด้วย

พอดีกับผู้สื่อข่าวญี่ปุ่นนัดหมายเข้ามา แต่ไม่ได้เจอกัน ซึ่งทางเทศบาลได้แจ้งไปแล้วว่าขยะกำลังดำเนินการอยู่ ที่เรากองไว้ เราทำเป็นบ่อ มีผ้ายางกันน้ำเสียรั่วไหล ปิดไว้หมด สิ่งบ่อขยะทั่วไปมีกลิ่นอยู่แล้ว โดยใช้สารอีเอ็มทุกวันด้วย

ส่วนของการบริหารจัดการเมื่อนำออกไปแล้วหลังจากนั้นมาดูแนวทางให้มีการจัดการถาวรจะเป็นการขนออกหรือใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่สร้างความมั่นใจให้ชาวบ้านว่าเผาแล้วจะไม่มีสารพิษเป็นเรื่องต้องทำความเข้าใจสิ่งหนึ่งเกาะสมุยมีพื้นที่น้อยมากและอยู่ที่สูงน่าจะให้ทุกคนยอมรับไ้ด้ยากเพราะพื้นที่เหมือนฝาชีครอบดังนั้นถ้าดูว่าการขนไม่กระทบสิ่งแวดล้อมคิดว่าน่าจะแก้ปัญหาได้ภายในปลายปีนี้ถึงต้นปีหน้าพยายามเคลียร์ขยะเก่าะออก

ทั้งนี้ การแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 กลุ่มคลัสเตอร์ที่รัฐบาลแบ่งไว้ บนผืนแผ่นดินใหญ่ ช่วยแก้ปัญหาให้มานั่งพิจารณากันว่าจะใช้วิธีไหน

ถาม : เดิมมีเตาเผาขยะ แนวทางจะสร้างใหม่หรือไม่?ตอบ : เทศบาลฯเคยทำประชาพิจารณ์ ต้องยอมรับว่าชาวบ้านบริเวณนั้นอยู่มานับสิบปี เตาเผารุ่นแรกได้มาพร้อมกับจ.ภูเก็ตเหมือนลักษณะให้มาทดลองพอเผาก็มีควันกลิ่นที่พึงประสงค์เทคโนโลยีสมัยนั้นไม่ได้ดีที่สุดก็มีชาวบ้านเสนอว่าควรเอาขยะออกไปข้างนอกคนส่วนใหญ่จึงเฮสนับสนุนวิธีการนี้เพราะทนสภาพที่เจอมาสิบกว่าปีไม่ได้ถ้ามีทางออกใหม่ให้เป็นทางนั้น

การจัดการเราพยายามแยกขยะต้นทางมาตลอด ปริมาณขยะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผมทำประชาคม ก็ถามว่าควรทำอย่างไร ไม่สามารถปิดบังชาวบ้านได้  แนวทางเตาเผาเคยมีเตาเผามาแล้วไม่ไหวผสมผสานทำอาร์ดีเอฟบริษัททำก็ยังมีกลิ่นอยู่ไม่คลายความทุกข์ข้อเสนอคนให้นำออกข้างนอกชาวบ้านก็เลือกทางเลือกนี้

ถาม : มีงบฯดำเนินการเดือนธันวาคม หากขนขยะออกจะนำไปไว้ที่ไหน กำจัดอย่างไร ตอบ : ใช้วิธีจากการแบ่งพื้นทีคลัสเตอร์ 2-3 แห่ง ในแต่ละแห่ง บริเวณที่องค์กรท้องถิ่นเป็นเจ้าภาพ จะมารวมกันเอาขยะมารวม เพื่อประเมินการลงทุน นำมาผลิตกระแสไฟฟ้า ต้องให้มีจำนวนพอเพียง ถือว่ารัฐบาลไทยกำหนดทิศทางและคิดถูกต้องแล้ว ในการกำจัดขยะของอบต.แต่ละที่เล็กๆ ทำให้ถูกสุขลักษณะก่อน เมื่อรวมศูนย์กันแต่ละอบต.มารวมก้อนขยะลงทุนจะได้คุ้มทุนน่าจะเป็นนโยบายลงทุนที่น่าสนใจในการรวมเป็นศูนย์คลัสเตอร์เป็นรูปธรรมมากกว่า

ผมดีใจ ที่รัฐบาลชุดนี้มาถูกทาง ไม่ปล่อยให้อบต. เทศบาลเล็กๆ ทำด้วยตัวเอง ขยะ 3-5 ตัน/วัน ถ้าเอาไปกองหรือฝังไว้ จะเป็นปัญหา การใช้เตาเผาขนาดเล็ก อาจมีผลกระทบสิ่งแวดล้อม การรวมศูนย์คลัสเตอร์จะดีกว่า แต่ละคลัสเตอร์ก็เผาขยะทำให้เป็นทุน พื้นที่ละ 140-150 ตัน ตอนนี้เกาะสมุยก็พยายามรณรงค์แยกขยะต้นทาง ใช้กระบวนการซาเล้งแยกของ โรงแรมแยกแล้ว ปลายทางก็มาแยกอีก เราประเมินระยะเวลา 10 ปี จำนวนขยะก็อยู่ปริมาณ 140-150 ตันเท่านี้ ทั้งนี้ ขยะที่มีมักเกิดเป็นขั้นบันได ปีละ 10% หลังจากเราเริ่มปี 2551 เป็นต้นมาได้รับความร่วมมือกับผู้ประกอบการธุรกิจและประชาชนก็เข้าใจเช่นขยะเปียกถ้านำมาหมักใส่หัวเชื้ออีเอ็มจะกลายเป็นอินทรีย์สารนำไปใช้ด้านการเกษตร

ทลายอย่างไร??  “ภูเขาขยะ” 3 แสนตัน บน “เกาะสมุย” กับ รามเนตร ใจกว้าง จุดนี้ถ้าขนขยะเปียกออกนอกเาะ ค่าใช้จ่ายอาจจะแพงยิ่งกว่าที่กำจัดในพื้นที่ เราจึงเสนอว่า ถ้าไม่อยากเสียค่าจัดการ ก็ให้แยกขยะ ลักษณะหนึ่งให้เลือกว่า ถ้าแยกขยะ แนวทางคนนำขยะออกจากนอกก็ต่อเมื่อขยะไปถึงมือก่อน ซึ่งไม่ได้กำหนดว่าต้องมีปริมาณแค่ไหน ถ้าคนสมุยแยกขยะได้ ก็เป็นผลดีกับทุกฝ่าย หากไม่อยากเสียเงิน ซึ่งก็เริ่มเห็นเป็นรูปธรรมขึ้นมา เพียงแต่ระยะนี้อยู่ระหว่างรอยต่อการจัดการ

อย่างไรก็ตาม ไม่นิ่งนอนใจขยะใหม่ ไม่ปิดกั้น ไม่มั่นใจว่าการขนออกจะดีทั้งหมดหรือไม่ เรามีทางอื่นอีกหรือไม่ ถ้าแยกขยะเปียกแล้วนำไปเผา จะไม่มีมลพิษด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ประชาชนโดยรอบอยู่ได้ ก็เป็นทางเลือก เช่น สวีเด่น มีเทคโนโนโลยีเผาขยะอยู่กลางเมืองด้วยซ้ำ เพียงแต่เราต้องสร้างความมั่นใจให้กับชาวบ้านเป็นสำคัญ และคุ้มกับการลงทุน

ถาม : ดึงทุกภาคส่วน ทั้งรัฐ องค์กรปกครองท้องถิ่น ผู้ประกอบการธุรกิจและชาวบ้านมาร่วมแก้ปัญหาอย่างไร?

ตอบ : การรณรงค์ขยะทุกภาคส่วน ชาวบ้านเข้าใจมากขึ้น ถ้าไม่ใช่ขยะเปียก เขาก็รู้ว่า ขวดพลาสติก กระดาษขายได้ทั้งนั้น พอมีขยะเปียก โรงแรมยุคใหม่เขาก็เอาขยะเปียกไปทำน้ำหมักชีวภาพใช้ประโยชน์ทางอื่น อยู่ที่ว่า ผู้ประกอบการ คนสร้างขยะถ้ามีความรับผิดชอบกันนิดเดียว ไม่ได้ยากอะไรเลย ถ้าร่วมมือกันไม่ยาก ค่ากำจัดขยะราคาถูก อย่ารอให้ค่ากำจัดขยะราคาแพงถึงจะสำนึก และที่สำคัญอย่าโยนภาระให้ภาครัฐ องค์กรท้องถิ่นอย่างเดียว ประชาชนต้องมีจิตสำนึกช่วยกันด้วย

แรกๆ ที่รัฐถือเป็นหน้าที่งานบริการ แต่2 ปีที่ผ่านมา เทศาบาลเกาะสมุย ไม่มีวางถังขยะ แต่จะใช้วิธีให้ชาวบ้านใส่ถุงดำ และนำไปวางตามที่กำหนดให้ตรงเวลาเป๊ะ ต่อไปจะใช้การกำหนดสถานีทิ้งขยะ ช่วยแก้ปัญหาไม่ต้องใช้รถขนขยะ ชาวบ้านเริ่มเห็นความสวยงามที่ไม่ต้องวางถึงขยะล้นเลอะเทอะแล้ว ผู้ประกอบการไม่โยนภาระให้ท้องถิ่นฝ่ายเดียว ตอนนี้รอเพียงพูดคุยกับผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ต่อการดำเนินการขยะในรูปแบบไหน

ทลายอย่างไร??  “ภูเขาขยะ” 3 แสนตัน บน “เกาะสมุย” กับ รามเนตร ใจกว้าง

 

related