svasdssvasds

#เจ็บแต่ไม่ยอม!! เรียกร้องสังคม “ผู้หญิง” ไม่ยอมรับความรุนแรง

#เจ็บแต่ไม่ยอม!! เรียกร้องสังคม “ผู้หญิง” ไม่ยอมรับความรุนแรง

นายจะเด็ด เชาว์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ในฐานะนักต่อสู้กับอคติทางเพศของไทย ให้ทัศนะถึงคดีผู้หญิงถูกทำร้าย มีสถิติรุนแรงและจำนวนมากขึ้น นำมาสู่การจัดทำแคมเปญรณรงค์ #เจ็บแต่ไมยอม ขึ้นมา

ถาม : เจ็บแต่ไม่ยอม  คาดว่าจะช่วยรณรงค์ความรุนแรงในเด็กและผู้หญิงลดลงได้มากน้อยอย่างไร?

ตอบ : จริงๆ การรณรงค์เป็นการกระตุ้นเตือน แต่ปัญหามาจากรากฐาน สังคมผู้ชายเป็นใหญ่เปลี่ยนไปในทางที่ล่าช้า เรามีกลไกเอ็นจีโอด้านสตรี ทางสังคม ภาคประชาสังคม หน่วยงานรัฐ มีกลไกสนับสนุนเรื่องนี้ มีบ้านพักครอบครัวฉุกเฉิน มีพ...คุ้มครองผู้ถูกกระทำในครอบครัว มีส่วนของกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลต่างๆ มีพนักงานสอบสวนหญิงมากขึ้น แต่กลไกลจำเป็น แต่ที่เปลี่ยนแปลงใน 30 ปีน้อยมาก การตอกย้ำเรื่องชายเป็นใหญ่ การเลี้ยงลูก สอนเด็กผู้ชายอย่างเหมือนเดิมในครอบครัว  สอนให้ผู้ชายมีความเป็นผู้นำที่เหนือกว่าผู้หญิงต้องเป็นกุลสตรีแต่งงานกันแล้วต้องรับใช้สามีเป็นสมบัติของสามี

ทั้งหลักสูตรกระทรวงศึกษาก็ยังเป็นแบบโบราณสอนกดทับเรื่องเพศที่มีการแฉกันผ่านสื่อว่าผู้หญิงที่แต่งงานไปแล้วห้ามแสดงออกถึงความตัองการทางเพศกับสามีหรือกับผู้ชายคิดแบบนี้เป็นการตอกย้ำ

#เจ็บแต่ไม่ยอม!! เรียกร้องสังคม “ผู้หญิง” ไม่ยอมรับความรุนแรง

สุดท้ายเรายังเห็นละครที่มีฉากข่มขืนเต็มไปหมด กลายเป็นเรื่องที่สิ่งละครทำเป็นผลให้ผู้ชายทำผิดกฎหมาย สิ่งๆที่ข่มขืนเป็นสิ่งผิดกฎหมาย พอผู้หญิงไม่ยอมคุณ ละครยังสอนว่าผู้หญิงไม่ยอมต้องใช้วิธีข่มขืน เป็นการสั่งสอนเรื่องเพศ เป็นสิ่งที่ไม่ถูก เป็นปัญหา การกดทับหรือชายเป็นใหญ่ในสังคม ไม่เปลี่ยนแปลงในสังคมไทย เปลี่ยนแปลงช้า จะน้อยลงหรือคงไม่ใช่ ถ้าผู้ชายยังถูกปลูกฝังแบบนี้ แล้วเราก็ผูกว่า ผู้หญิงถูกทำร้ายให้ต้องอดทน บอกคนข้างนอกไม่ได้ ละครไทยเป็นแบบนี้เห็นอยู่ทุกวัน

เป็นการส่งเสริมให้ทำผิดกฎหมาย ไม่มีหรอกว่า ผู้หญิงถูกข่มขืนแล้วแต่งงานกับผู้ชายจะมีความสุข แต่ละรายที่มามูลนิธิ หลายกรณีถูกบังคับแต่งงานจากการข่มขืน เขาไม่เคยรักผู้ชายไม่มีสูตรสำเร็จ มีแต่ล้มเหลว ผู้ชายบางคนอยู่ไม่ได้ก็ต้องเลิกกัน บางคนมีปัญหาครอบครัวไม่ราบรื่น มีความรุนแรงเกิดในครอบครัว ระยะหลังมีสถิติทำร้าย ฆ่ากัน เป็นสิ่งที่ตนเป็นห่วง เมื่อ 2-3 เดือนที่แล้วเสนอไปกับสื่อมวลชน มกราคม-กรกฎาคม สถิติการฆ่ากันทั้งหมด 242 ข่าว เปรียบเทียบกับปีก่อนถอยหลังไป 3 ปี ปี 2559 ปีเดียว 205 ข่าว แต่นี่แค่ 7 เดือนไปแล้ว 242 ข่าว ถึงปลายปีอาจถึง 300 หรือ 400 ข่าว

#เจ็บแต่ไม่ยอม!! เรียกร้องสังคม “ผู้หญิง” ไม่ยอมรับความรุนแรง

ครั้งนี้ที่เราจัด เจ็บไม่ยอม มีสถิติผู้หญิงอายุ 25 -35 ปีในวัยเรียน และวัยทำงาน มีการเก็บข้อมูลว่าการปลูกฝังในครอบครัว ผู้หญิงถูกกดทับมาก ทำให้เชื่อว่า ผู้หญิงต้องเป็นช้างเท้าหลัง เป็นผู้นำไม่ได้ ผู้หญิงต้องเป็นที่ระบายทางเพศ และเราพบว่า สื่อทำให้ผู้หญิงเชื่อว่า การคุกคามทางเพศ หรือเรื่องเพศบางอย่าง มาจากสื่อด้วย ข้อมูลพวกนี้ ทำให้ต้องแก้ปัญหา

โดยการปลูกฝัง ต้องเปลี่ยนไป เช่น ปลูกฝังให้ผู้ชายทำงานบ้าน เป็นเรื่องง่ายๆ ก่อนเลยว่า แต่งงานไปแล้วไม่มีครอบครัวไหน ผู้หญิงไม่ต้องทำงาน เป็นแม่บ้านอย่างเดียวไม่มีแล้ว ผู้ชายต้องรู้ว่าภรรยาทำงานหนักนอกบ้าน เป็นหน้าที่ของลูกผู้ชายต้องช่วยกัน จึงต้องปลูกฝังให้ลูกชาย หุงข้าวเป็นทำได้ ซักผ้า ต้องฝึกฝนให้ทำงานบ้านเป็น เรื่องนี้จะ่ทำให้ผู้ชายมีความละเอียดอ่อนมากขึ้น แม้งานบ้านจะมีเครื่องอำนวยความสะดวกในยุคนี้ แต่ก็เป็นงานหนักนะ เวลาทำกับข้าวก็มีความสลับซับซ้อน แม้ว่าผู้ชายทำไม่ได้ ก็เป็นคนไปซื้อกับข้าวมาดูแลภรรยา จะได้ช่วยกัน

และต้องสอนลูกผู้หญิงว่า ถ้าผู้ชายลงไม้ลงมือกับคุณ ไม่ต้องอดทน ถ้าไม่ไหวให้เลิกรากัน อันนี้ต้องสอนใหม่ ปัญหาเหล่านี้ก็จะค่อยๆ เปลี่ยน ให้มีการเคารพในเนื้อตัวร่างกาย เคารพสิทธิผู้หญิงมากขึ้น ถ้าสอนแบบเดิม แย่แน่ จะเห็นภาพการผลิตซ้ำทางความคิดยังเหมือนเดิม

สุดท้าย ต้องมีหลักสูตรสอนเรื่องเพศสภาพ (gender) ความเท่าเทียมกันระหว่างเพศในโรงเรียนมากขึ้น ตั้งแต่ระดับประถม มัธยมไปถึงมหาวิทยาลัยเท่าที่จะสอดแทรกได้ หลักสูตรเพศศึกษาก็สอนได้ให้เรียนแล้วเป็นกฎหมายบังคับ ต้องเคารพเนื้อตัวร่างกายชายหญิง

[caption id="attachment_384296" align="aligncenter" width="566"] #เจ็บแต่ไม่ยอม!! เรียกร้องสังคม “ผู้หญิง” ไม่ยอมรับความรุนแรง                                                                  จะเด็ด เชาวน์วิไล[/caption]

ผมเรียกร้อง กสทช.(คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) มาตลอดว่า ฉากแบบนี้ในจอไม่ได้อย่างไร ผมเห็นใจนายกรัฐมนตรีนะ ท่านพูดบ่อยครั้งว่าฉากแบบนี้มีได้อย่างไร ไม่มีเนื้อหาสาระ นายกฯต้องไปบอกกสทช.ว่า ละครต้องมีอะไรที่สร้างสรรค์กว่านี้ ไม่ใช่ปล่อยให้ฉากพวกนี้วนเวียน ต้องแก้ปัญหาที่มาจาก กสทช.ไม่เอาจริงจังกับละครที่มีปัญหาแบบนี้

สิ่งสำคัญเรื่องกลไกความยุติธรรม ผมไม่ได้วิจารณ์ตำรวจ ที่ดีมีอยู่ แต่ส่วนใหญ่ยังมองคดีพวกเพศ ความรุนแรงในครอบครัวเป็นเรื่องส่วนตัว ทำอย่างไรให้คดีพวกนี้มีการบังคับใช้เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ในระยะยาวต้องรีบทำ คือปรับวิธีคิด ตำรวจต้องบังคับใช้กฎหมาย เช่น มีการแจ้งมีการทำร้ายในครอบครัว ต้องเข้าไปจัดการเลย ไปบอกกับผู้ชายว่า ถ้าคุณทำร้าย คุณจะติดคุก เขาจะหยุดทันที ถ้าบอกเป็นเรื่องของผัวเมีย ยิ่งทำให้ผู้ชายได้ใจ ทำร้ายลูกเมียมากขึ้น

อีกอย่างคดีเพศอย่าไกล่เกลี่ยต้องเอาจริงจังคนข่มขืนทำให้ผู้ชายซึ่งลงมือกระทำแบบนี้ต้องติดคุกนี่คือสิ่งที่ต้องแก้หลายจุดสิ่งแรกปรับทัศนคติต้องรีบทำ

#เจ็บแต่ไม่ยอม!! เรียกร้องสังคม “ผู้หญิง” ไม่ยอมรับความรุนแรง

related