svasdssvasds

ออมต่ำ!! สถิติผู้สูงอายุ ไม่มีเงินเหลือพอใช้ช่วง ”วัยเกษียณ”

ออมต่ำ!! สถิติผู้สูงอายุ ไม่มีเงินเหลือพอใช้ช่วง ”วัยเกษียณ”

เมืองไทย เริ่มก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ คาดการณ์ว่า ค.ศ.2020 จะมีสัดส่วนผู้สูงอายุ 13% ของประเทศที่คนไทยส่วนใหญ่ยังมีเงินออมในการเกษียณไม่มากเท่าไร ข้อมูลธนาคารโลกก็ระบุว่า คนไทยมีเงินออมร้อยละ 7 ของจีดีพี (ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ) ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในทุกประเทศกำลังพัฒนา

รศ.พรอนงค์ บุษราตระกูล หัวหน้าภาควิชาการธนาคารและการเงิน จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ตัวเลขการออมของคนไทย  มีหลายกลุ่ม มีอาชีพและลักษณะที่แตกต่างไป ทำให้การออมมีหลายปัจจัย เมื่อเกษียณอายุก็จะมีความแตกต่างกัน ภาพรวม ไทยยังออมไม่พอที่จะสร้างรายได้ในช่วงเกษียณ พูดเช่นนี้ในทางกลับกัน เรายังเห็นหนี้ครัวเรือนของไทยสูง 70-80% ของรายได้พอเป็นหนี้ก็พูดได้ลำบากแล้วว่าจะมีเงินเหลือออมสะท้อนคนส่วนใหญ่ยังออมไม่เพียงพอธนาคารโลกก็มีข้อมูลว่าการออมการถือทรัพย์สินกองทุนในประเทศต่างๆเทียบแล้วไทยมีสัดส่วนรองรับเกษียณที่ต่ำเมื่อเทียบกับจีดีพี

รศ.พรอนงค์ ตอบคำถามถึง จำนวนตัวเลขที่เหมาะกับการออมเพื่อวัยเกษียณว่า ตัวเลขบอกว่าออมกี่เปอร์เซ็นต์ หรือมีเงินเท่าไรเมื่อเกษียณอายุ ทั้งสองตัวเลขนี้ขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น จะออมต้องพิจารณาว่าเรามีรายได้เท่าไร จะมีสุขภาพอย่างไรต่อไป อายุขัยเท่าไร เพื่อดูตัวเงินไว้รองรับการใช้จ่ายมากกว่าคนอายุสั้น

หัวหน้าภาควิชาการเงินฯ สะท้อนว่า สังคมไทยตอนนี้เป็นสังคมสูงอายุ ไม่ว่าเราอยากจะอายุยืนหรือไม่ แต่เทคโนโลยีเฉลี่ยทำให้เรามีอายุยืนขึ้น แต่จะมีคุณภาพในการชราภาพหรือไม่ ขึ้นกับเรามีรายได้เพียงพอไหม ยกตัวอย่าง ถ้าเราประมาณการใช้เดือนละ 15,000 บาท ระดับปริญญาตรีตอนนี้ ตอนนี้เราอายุ 30 ปี และอีก 30 ปีเลิกทำงาน คนๆนั้นต้องมีเงินประมาณ 8 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินในอีก 30 ปี สินค้าบริการราคาขึ้นทุกปีอย่างที่เราเรียกว่า เงินเฟ้อ ฉะนั้น สิ่งที่ต้องออมและลงทุนแข่งกับเวลา เป็นปัจจัยเงินเฟ้อด้วย

รศ.พรอนงค์ กล่าวว่าดังนั้น หากจะออมต้องทำวันนี้ ปัญหาจะเกษียณมีความเพียงพอไหม ขึ้นกับว่าเราออมเมื่อไร ในอัตราเท่าไรของรายได้ เอาเงินออมไปลงทุนอย่างไร เป็นสิ่งที่ต้องทำให้มีวินัยและพฤติกรรมออม ลด ละ เลิกเข้มข้น ในการใช้จ่ายสิ่งไม่จำเป็น ทำสม่ำเสมอด้วย และมีความรู้ ความเข้าใจเพียงพอในทักษะนำเงินบริหารจัดการ ซึ่งมีทางเลือกมากมายในการสร้างผลตอบแทน อาจจะผ่านระบบพวกมืออาชีพ

จริงๆถ้าพูดถึงตัวเลขอัตราการออมปัจจุบัน ยังมีระบบออมภาคบังคับ และภาคสมัครใจ เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ จะให้ข้าราชการสมทบกับภาครัฐ ตัวเลขประมาณ 8% ของเงินเดือน ถ้าเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของเอกชน เป็นภาคสมัครใจปัจจุบัน ตัวเลขเฉลี่ย 7-8 % ของเงินเดือน ถ้าดูประเทศก้าวหน้าในการสร้างความตระหนักรับรู้การออม สิงคโปร์จะบังคับให้ออมจากรายได้ไม่ต่ำกว่า 20% จากงานวิจัยทางจุฬาฯ ศึกษา คนไทยต้องออมไม่ต่ำกว่า 10% ขึ้นไป ในรูปแบบใดก็ได้ เป็นเงินสด ให้เกิดผลตอบแทนระยะยาว

 

ออมต่ำ!! สถิติผู้สูงอายุ ไม่มีเงินเหลือพอใช้ช่วง ”วัยเกษียณ”

related