svasdssvasds

“แห่นาค” ครื้นเครง ทำได้!! แต่ “ล้มโต๊ะสอบ” พวกเถื่อนทำผิดกฎหมาย

“แห่นาค” ครื้นเครง ทำได้!!  แต่ “ล้มโต๊ะสอบ” พวกเถื่อนทำผิดกฎหมาย

นักวิชาการด้านศาสนวิทยา และคอลัมนิสต์ชี้ การแห่นาค เพื่อความครื้นเครงเป็นสัญลักษณ์ความเชื่อในพิธีอุปสมบทของเอเชียอาคเนย์ ด้านสำนักพุทธฯแจง ปัญหาเสียงดัง "วัด-สำนักงานเขต" มีกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมกำกับดูแล

นายสุจิตต์ วงษ์เทศ ผู้ก่อตั้งนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ในฐานะนักโบราณคดี และคอลัมนิสต์  ระบุถึงประเพณีบวชนาค ต้องทำขวัญนาคว่า ประเพณีไทยโบราณไม่เรียกพิธีอุปสมบทว่า บวชคนให้เป็นพระ แต่เรียกว่า บวชนาค (ให้เป็นพระ)

นายสุจิตต์ อ้างอิงว่า การแห่พิธีบวชนาค ซึ่ง สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ ทรงพระนิพนธ์เล่าไว้ในหนังสือเที่ยวเมืองพม่าว่า วิธีบรรพชาอุปสมบทพม่ากับไทยเหมือนกันโดยมาก ลักษณะการแห่บวชนาคนั้น ถ้าสังเกตดูจะเห็นได้ว่าเจตนาจะให้เป็นทำนองเดียวกับแสดงตำนาน Pageant เรื่อง ‘มหาภิเนษกรมณ์’ ให้เจ้านาคขี่ม้าเหมือนอย่างพระพุทธองค์เมื่อยังเป็นพระโพธิสัตว์เสด็จออกจากเมืองกบิลพัสดุ์ไปทรงผนวช สมมติพวกญาติโยมที่ห้อมแห่ไปเป็นเทวดาที่ห้อมล้อมพระโพธิสัตว์ และหาพวกจำอวด นำกระบวนสมมติว่าเป็นพระยามารที่คอยขัดขวาง

“แห่นาค” ครื้นเครง ทำได้!!  แต่ “ล้มโต๊ะสอบ” พวกเถื่อนทำผิดกฎหมาย

ทั้งนี้ เมืองไทยมีบวชนาคหลวง และบวชนาคราษฎร ถ้าเป็นนาคหลวงเ ช่นเจ้านายทรงผนวช ไม่มีแห่ หรือแห่ก็แห่เป็นกระบวนพยุหยาตรา นาคเจ้านายทรงยานมาศและเสลี่ยง บางทีทรงคอช้าง นาคหลวงแห่แต่เพื่อให้คนอนุโมทนา

"แต่แห่นาคราษฎรไทยได้แบบมาจากพม่า เค้าเงื่อนมีอยู่ที่แห่บวชนาคของราษฎร ต้องมีพวกตีกลองยาวอย่างพม่า เรียกกันว่า เถิดเทิง นำกระบวน เมื่อแห่ไปถึงวัด พวกกลองยาวเล่นจำอวดกั้นกาง ความครื้นเครงของการแห่นาคถือเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ตามความหมายของวัฒนธรรมดั้งเดิม"

ผู้สื่อข่าวสอบถามไปยัง กรมการศาสนา ซึ่งระบุว่า เขตวัด เป็นพื้นที่ปลอดจากสิ่งเสพติด ทั้งเหล้า แอลกอฮอล์ และบุหรี่ ตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ตามพ.ร.บ.ควบคุมแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551  และพ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ประกาศนโยบาย เป็นสถานที่ปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน  6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนั้น หากพบว่า บุคคลที่ดื่มแอลกอฮอล์ในเขตวัด วัดหรือทางการ สามารถดำเนินการเอาผิดได้

ขณะที่กลุ่มคุ้มครองพระพุทธศาสนา สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เป็นผู้กำกับดูแลความสงบเรียบร้อย ในเขตศาสนสถาน ร่วมกับทางวัด ชี้แจงกรณีเหตุวัดสิงห์ว่า การก่อให้เกิดเสียงดัง พศ.ระบุต้องดำเนินไปตามพ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 ที่ว่า ค่าระดับเสียงดังไม่เกิน 115 เดซิเบล ส่วนเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมงต้องไม่เกิน 70 เดซิเบล หากมีปัญหาสามารถร้องเรียนไปยังสำนักงานเขตในพื้นที่นั้นได้

“แห่นาค” ครื้นเครง ทำได้!!  แต่ “ล้มโต๊ะสอบ” พวกเถื่อนทำผิดกฎหมาย

related