svasdssvasds

ปชช. 31.43 % หงุดหงิด เมื่อมีข่าว คนกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง ไม่กักตัวเอง

ปชช. 31.43 % หงุดหงิด เมื่อมีข่าว คนกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง ไม่กักตัวเอง

“นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “COVID-19”

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “COVID-19” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 11 – 12 มีนาคม 2563 จากประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,260 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในประเทศไทย

ปชช. 31.43 % หงุดหงิด เมื่อมีข่าว คนกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง ไม่กักตัวเอง

การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0

จากการสำรวจเมื่อถามประชาชนถึงความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในประเทศไทย พบว่า ร้อยละ 32.86 ระบุว่า มีความกังวลมาก ร้อยละ 35.32 ระบุว่า ค่อนข้างมีความกังวล ร้อยละ 18.33 ระบุว่า ไม่ค่อยมีความกังวล และร้อยละ 13.49 ระบุว่า ไม่มีความกังวลเลย

ด้านความกลัวที่จะติดเชื้อไวรัส COVID-19 พบว่า ร้อยละ 23.97 ระบุว่า มีความกลัวมาก ร้อยละ 36.67 ระบุว่า ค่อนข้างมีความกลัว  ร้อยละ 22.14 ระบุว่า ไม่ค่อยมีความกลัว และร้อยละ 17.22 ระบุว่า ไม่มีความกลัวเลย

 

ปชช. 31.43 % หงุดหงิด เมื่อมีข่าว คนกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง ไม่กักตัวเอง

สำหรับความถี่ในการใส่หน้ากาก (ทุกชนิด) เพื่อป้องกันตัวเอง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 32.54 ระบุว่า ใส่หน้ากากในทุกที่ ตลอดเวลา เมื่อออกจากบ้าน รองลงมา ร้อยละ 25.71 ระบุว่า ใส่หน้ากากเฉพาะเวลาอยู่ในที่ชุมชน ร้อยละ 20.56 ระบุว่า ไม่ใส่หน้ากากเลย ร้อยละ 13.02 ระบุว่า ใส่หน้ากากเป็นบางครั้ง ร้อยละ 7.14 ระบุว่า แทบจะไม่ได้ใส่หน้ากากเลย ร้อยละ 0.71 ระบุว่า ใส่หน้ากากเฉพาะเวลาที่ตนเองมีอาการเจ็บป่วย และร้อยละ 0.32 ระบุว่า ใส่หน้ากากเฉพาะเวลาที่ต้องมีการใกล้ชิดกับผู้ป่วย

เมื่อถามถึงสิ่งที่ทำให้หงุดหงิดใจมากเมื่ออ่านข่าวเกี่ยวกับ COVID-19 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 31.43 ระบุว่า คนที่กลับจากประเทศเสี่ยงไม่กักตนเอง รองลงมา ร้อยละ 28.41 ระบุว่า การขาดแคลน และ/หรือ มีการกักตุนหน้ากากอนามัย ร้อยละ 21.75 ระบุว่า จำนวนคน ติดไวรัส COVID-19 ในไทยเพิ่มขึ้น

ร้อยละ 21.11 ระบุว่า ภาครัฐไม่ตัดสินใจเด็ดขาด มีแต่มาตรการรายวันในการแก้ไขปัญหา ร้อยละ 17.14 ระบุว่า ภาครัฐไม่มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดกับผู้ที่ไม่ยอมกักตนเอง ร้อยละ 16.43 ระบุว่า ราคาหน้ากากอนามัยและแอลกอฮอล์เจลล้างมือ แพงเกินเหตุ

ร้อยละ 9.92 ระบุว่า ข่าวปลอมเกี่ยวกับสถานการณ์ COVID-19 ร้อยละ 9.84 ระบุว่า การขาดแคลนแอลกอฮอล์เจลล้างมือ ร้อยละ 9.21 ระบุว่า จำนวนคนติดไวรัส COVID-19 ในโลกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.33 ระบุว่า ไม่หงุดหงิดใจเมื่ออ่านข่าวเกี่ยวกับ COVID -19

ร้อยละ 8.25 ระบุว่า ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการป้องกัน COVID-19 ที่สับสน ร้อยละ 7.70 ระบุว่า ประชาชนตื่นตระหนกเกินเหตุ ร้อยละ 6.11 ระบุว่า นักการเมืองบางคนนำ COVID-19  มาเป็นประเด็นทางการเมือง และร้อยละ 4.60 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ปชช. 31.43 % หงุดหงิด เมื่อมีข่าว คนกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง ไม่กักตัวเอง

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงมาตรการที่รัฐบาลควรมีเพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในประเทศไทย พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 35.95 ระบุว่า รัฐบาลควรสั่งไม่ให้คนต่างชาติจากประเทศกลุ่มเสี่ยงเข้าประเทศ รองลงมา ร้อยละ 32.70 ระบุว่าลงโทษจริงจังและหนักขึ้นสำหรับคนที่กลับจากประเทศเสี่ยงแต่ไม่กักตนเอง ร้อยละ 28.02 ระบุว่า ลงโทษจริงจังและหนักขึ้นสำหรับคนที่กักตุนหน้ากากอนามัย

ร้อยละ 25.08 ระบุว่า ลงโทษจริงจังและหนักขึ้นสำหรับคนที่ขายหน้ากากอนามัย/แอลกอฮอล์เจลล้างมือ ในราคาแพงเกินกว่าเหตุ ร้อยละ 23.17 ระบุว่า รัฐบาลควรมีศูนย์ข้อมูลเกี่ยวกับ COVID-19 ที่ชัดเจน ร้อยละ 18.17 ระบุว่า รัฐบาลควรทำความสะอาดพื้นที่สาธารณะครั้งใหญ่ ร้อยละ 14.37 ระบุว่า รัฐบาลควรทำความสะอาดอาคารสนามบินครั้งใหญ่

ร้อยละ 13.02 ระบุว่า รัฐบาลควรสั่งปิดประเทศ ร้อยละ 7.62 ระบุว่า รัฐบาลควรสั่งปิดสถานที่ชุมชน เช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงหนัง สนามกีฬา เป็นต้น ร้อยละ 2.38 ระบุว่า รัฐบาลควรแจกหน้ากากอนามัย/แอลกอฮอล์เจลล้างมือให้แก่ประชาชน และร้อยละ 8.02 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ปชช. 31.43 % หงุดหงิด เมื่อมีข่าว คนกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง ไม่กักตัวเอง

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.97 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.87 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑล และภาคกลาง ร้อยละ 18.41 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.34 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.41 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 48.41 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.59 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่างร้อยละ 7.30 มีอายุไม่เกิน 25 ปี ร้อยละ 15.40 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 23.73 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 33.65 มีอายุ 46 – 59 ปี และร้อยละ 19.92 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 94.21 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.81 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.19 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.79 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 20.40 สถานภาพโสด ร้อยละ 76.27 สมรสแล้ว ร้อยละ 2.46 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.87 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส

ตัวอย่างร้อยละ 29.52 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 32.46 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.75 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 25.40 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 4.20 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.67 ไม่ระบุการศึกษา

ตัวอย่างร้อยละ 8.97 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 16.67 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 22.22ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 13.41 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.40 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงานร้อยละ 19.52 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.30 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 1.51 ไม่ระบุอาชีพ

ตัวอย่างร้อยละ 19.13 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 23.89 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 23.09 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 10.87 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 6.59 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 –  40,000 บาท ร้อยละ 7.06 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 9.37 ไม่ระบุรายได้

ปชช. 31.43 % หงุดหงิด เมื่อมีข่าว คนกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง ไม่กักตัวเอง +

related