svasdssvasds

ผู้ค้า‘LPG’เปิดศึก!  ตัดราคา ชิงส่วนแบ่ง

ผู้ค้า‘LPG’เปิดศึก!  ตัดราคา ชิงส่วนแบ่ง

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

วันที่ 23 ก.ค.60--สงครามแอลพีจีแข่งเดือด รายใหม่ดาหน้าชิงส่วนแบ่งตลาด หลังรัฐลอยตัวแอลพีจี 1 ส.ค.นี้ งัดกลยุทธ์ดัมพ์ราคาแข่ง ปตท.-สยามแก๊ส เจ้าตลาดไม่หวั่น มั่นใจรักษาฐานลูกค้าเดิมได้ กรมธุรกิจพลังงานเผย ผู้บริโภคได้ประโยชน์ใช้ก๊าซถูกลง

ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 มีมติปล่อยลอยตัวก๊าซปิโตรเลียมเหลว(แอลพีจี) ทั้งระบบตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2560 เป็นต้นไป ส่งผลให้เกิดการนำเข้าส่งออกก๊าซแอลพีจีได้อย่างเสรี รวมถึงการกำหนดราคาขายปลีกได้เช่นเดียวกับธุรกิจนํ้ามัน จึงเป็นโอกาสทำให้มีผู้ค้าแอลพีจีหน้าใหม่ก้าวสู่ธุรกิจค้าแอลพีจีมากขึ้น จากปัจจุบันที่มีผู้ค้าในประเทศกว่า 20 ราย มีมูลค่าตลาดรวมอยู่ที่ 60,000-70,000 ล้านบาทต่อปี (รวมทั้งภาคขนส่ง ครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม แต่ไม่รวมกลุ่มปิโตรเคมีซึ่งมีสัญญาซื้อขายระยะยาวอยู่)

ผู้ค้า‘LPG’เปิดศึก!  ตัดราคา ชิงส่วนแบ่ง

ล่าสุดบริษัท มิตซูบิชิ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ประกอบธุรกิจซื้อมาขายไป(เทรดดิ้ง) รายใหญ่ของโลกจากประเทศญี่ปุ่น เข้ามาขอจดทะเบียนเป็นผู้ค้าตามมาตรา 7 (ผู้ค้าที่จำหน่ายตั้งแต่ 5 หมื่นตันต่อปีขึ้นไป จะต้องได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน) เพื่อดำเนินการนำเข้าและจำหน่ายก๊าซแอลพีจีแบบค้าส่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และกำลังมีรายใหม่ๆ ทยอยเข้าหารือกับกรมธุรกิจพลังงาน เพื่อขอเป็นผู้ค้าตามมาตรา 7 เพิ่มอีก

ผู้ค้า‘LPG’เปิดศึก!  ตัดราคา ชิงส่วนแบ่ง

ผลของการปล่อยลอยตัวดังกล่าว จะทำให้ธุรกิจแอลพีจีมีการแข่งขันกันมากขึ้น เนื่องจากผู้ค้าสามารถที่จะนำแอลพีจีเข้ามาได้ ไม่ต้องไปซื้อจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ผูกขาดเพียงเจ้าเดียว แต่ด้วยปริมาณความต้องการใช้ในประเทศที่มีจำกัด เมื่อนำแอลพีจีเข้ามาแล้วจะทำให้มีแอลพีจีเหลือเกินความต้องการใช้ ดังนั้นหลังจากนี้ไปจะได้เห็นการแข่งขันที่ดุเดือด ที่ผู้ค้าแต่ละรายจะหันมาใช้กลยุทธ์ในการขายตัดราคากัน เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด ไม่เว้นแม้แต่ปตท.ที่เป็นผู้ค้าค้ารายใหญ่มีส่วนแบ่งการตลาดกว่า 37-38%

ผู้ค้า‘LPG’เปิดศึก!  ตัดราคา ชิงส่วนแบ่ง

นายวิฑูรย์ กุลเจริญวิรัตน์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า กระทรวงพลังงานจะเสนอเรื่องการเปิดเสรีก๊าซทั้งระบบ ทั้งแอลพีจีและก๊าซธรรมชาติเหลว(แอลเอ็นจี) เข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) ในวันที่ 31 กรกฎาคมนี้ โดยในส่วนของการเปิดเสรีแอลพีจีทั้งระบบที่จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2560 จะทำให้การแข่งขันนำเข้าแอลพีจีของทั้งรายเก่าและรายใหม่รุนแรงขึ้น สุดท้ายจะสะท้อนราคาขายปลีกภาคประชาชนตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคมนี้ ตามราคาขึ้นลงของตลาดโลก โดยจะมีสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) เป็นผู้คำนวณราคาอ้างอิงแอลพีจีทุกเดือน เพื่อให้กระทรวงพาณิชย์นำไปบริหารจัดการให้ราคาอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม รวมถึงกำหนดค่าการตลาดที่เหมาะสมด้วย

ผู้ค้า‘LPG’เปิดศึก!  ตัดราคา ชิงส่วนแบ่ง

related