svasdssvasds

YAKSA นวัตกรรมเครื่องอัดขยะในครัวเรือน เพื่อชุมชนจังหวัดน่าน

YAKSA นวัตกรรมเครื่องอัดขยะในครัวเรือน เพื่อชุมชนจังหวัดน่าน

YAKSA นวัตกรรมเครื่องอัดขยะในครัวเรือน สามารถอัดขยะอย่าง ขวดพลาสติก กระป๋องอะลูมิเนียม และถุงพลาสติก ให้เป็นก้อนขนาด 30x30x30 ลูกบาศก์เซนติเมตรได้

YAKSA หรือ ยักษา เครื่องอัดขยะในครัวเรือน เป็นหนึ่งในนวัตกรรมโครงการหมู่บ้านนวัตกรรมเพื่อสังคม ของ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ(NIA) โดยแนวความคิดเริ่มต้นจาก ชุมชนที่มีการจัดเก็บขยะโดยปกติจะจัดเก็บในถุงดำ ซึ่งใช้พื้นที่เยอะ เลยทำการวิเคราะห์ร่วมกันระหว่าง สถานประกอบการ นักวิจัย และชุมชน จนมาตกผลึกที่ว่า จะสร้างนวัตกรรมที่เอามาอัดเป็นก้อนเพื่อสะดวกในการจัดเก็บ ลดปัญหารวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บ

อาจารย์ พงษ์ธร วิจิตรกูล นักวิชาการ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ กล่าวว่า ตัวเครื่องอัดขยะในครัวเรือน ใช้การมีส่วนร่วมกับชุมชนโดยที่สร้างเป็นนักวิจัยของชุมชน โดยได้ช่างของชุมชนนำข้อมูลมาวิเคราะห์ออกแบบให้ออกมาเป็นตัวเครื่อง หลักการทำงานง่าย การดูแลซ่อมแซมก็สะดวก สามารถจบได้ภายในชุมชนเอง

ขยะในชุมชนส่วนใหญ่แล้วจะเป็นพวก ขวดพลาสติก ขวดอะลูมิเนียม จะถูกเอามาจัดเก็บในถังทางด้านบน จากนั้นก็ล็อก เรื่องนวัตกรรมในการสร้างแรงอัดซึ่งเลือกใช้เป็นไฮดรอลิกยกรถ เพราะได้คุยกับช่างประจำชุมชนแล้วว่าอุปกรณ์ที่ทำนี้สามารถหาซื้อได้ ซ่อมแซมถูก ราคาไม่แพง

YAKSA นวัตกรรมเครื่องอัดขยะในครัวเรือน เพื่อชุมชนจังหวัดน่าน

หลักการใช้งานตัว เครื่องอัดขยะในครัวเรือน คือสร้างแรงกดจากคันโยก โยกขึ้นไปเรื่อยๆ โดยไฮดรอลิกจะทำหน้าที่กดอัดขยะให้เป็นก้อน พอเป็นก้อน ก็จะใช้วัสดุที่เป็นลวดหรือเชือกฟางมามัดให้เป็นก้อนได้ จากนั้นเอาออกมาจากเครื่อง เรก็จะได้เป็นก้อนขยะหรือก้อนขวดพลาสติกขนาด 30x30x30 ลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่งเป็นขนาดที่ลดจากขนาดของถุงดำ 24x36 นิ้ว ลงมาพอสมควรเลยทีเดียว เหตุผลที่เราบีบให้เป็นขนาดนี้เพราะ นักวิจัยชุมชนเขาขอมาว่าจะได้หิ้วนำกลับได้ง่าย โดยสามารถวางที่ตะกร้าหน้ารถจักรยานยนตร์ได้ จึงได้ออกแบบมาเช่นนี้ให้ตรงกับความต้องการของชุมชน โดย 1 ก้อน จะมีน้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม เพื่อสะดวกในการจัดเก็บอีกทั้งยังสะดวกในเรื่องการคำนวณด้านค่าตอบแทนด้วย

YAKSA นวัตกรรมเครื่องอัดขยะในครัวเรือน เพื่อชุมชนจังหวัดน่าน

ต้นทุนในการผลิตแต่ละเครื่องจะอยู่ที่ไม่เกิน 10,000 บาท เพื่อสร้างจุดคุ้มทุนให้คืนมาได้ไวขึ้น ซึ่งวางไว้ที่ 1 ปี กับอีก 6 เดือน ตอนนี้เดือนที่ 10 ได้เครื่องอัดขยะในครัวเรือน จำนวน 14 เครื่อง โดยตั้งใจที่จะสร้างให้เกิดความเข้มแข็งในชุมชน สร้างรายได้ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้าน ให้สามารถจัดเก็บขยะพลาสติกได้ง่าย แล้วนำไปขายเพื่อเป็นรายได้ในครัวเรือนของเขา รวมถึงสามารถลดปัญหาขยะล้นครัวเรือนของเขาได้อีกด้วย

ในแง่ของความยั่งยืนนั้น การมีส่วนร่วมของชุมชน ได้เริ่มต้นตั้งแต่ทางต้นน้ำ คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ได้ทำงานร่วมกันกับคนในชุมชน ช่วยกันศึกษาและวิเคราะห์ ทำงานร่วมกัน 100 เปอร์เซ็นต์ ทำให้เกิดความยั่งยืนในชุมชนขึ้น เพราะชาวบ้านได้มีส่วนร่วมในการออกแบบ จบที่คนในชุมชนและสร้างโดยคนในชุมชน เขาก็จะมีแนวคิดที่ดีต่อตัวเครื่องและสามารถดูและรวมถึงต่อยอดได้เอง ณ ตอนนี้ชุมชนจังหวัดน่านที่มี 2 ชุมชนแล้ว นั่นคือ ชุมชนป่าคา และ ชุมชนเมืองจัง

YAKSA นวัตกรรมเครื่องอัดขยะในครัวเรือน เพื่อชุมชนจังหวัดน่าน YAKSA นวัตกรรมเครื่องอัดขยะในครัวเรือน เพื่อชุมชนจังหวัดน่าน

 

related