svasdssvasds

นวัตกรรมจัดการขยะชุมชน เปลี่ยนขยะเป็นวัสดุก่อสร้าง

นวัตกรรมจัดการขยะชุมชน เปลี่ยนขยะเป็นวัสดุก่อสร้าง ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดปัญหาขยะพลาสติกในชุมชน โดยนำมาทำกระเบื้องคอนกรีตปูพื้น คอนกรีตบล็อกประสานปูพื้น ขอบคันหิน ช่วยสร้างรายได้ให้แก่คนชุมชน

อาจารย์ ประชุม คำพุฒ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา หัวหน้าหน่วยวิจัยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโลยีราชมงคลธัญบุรี กล่าวว่านวัตกรรม เปลี่ยนขยะเป็นวัสดุก่อสร้าง ทำให้ชุมชนเมืองจัง จ.น่าน ได้รู้จักจัดการแยกขยะ ขยะบางส่วนสามารถขายทำรายได้ให้กับชุมชน รวมถึงเพิ่มมูลค่าโดยการนำขวดพลาสติกมาเข้าเครื่องบดย่อยให้มีลักษณะใกล้เคียงกับหินเกล็ด นำมาผสมเป็นมวลรวมทำบล็อกปูพื้น ซึ่งจะมีส่วนผสมคือ ปูนซีเมนต์, หินฝุ่น และน้ำ เป็นส่วนผสม ก็ทำบล็อกปูพื้นได้แล้ว

เรานำขยะพลาสติกบดย่อยที่ได้มาทดแทนหินฝุ่น ซึ่งมีข้อดีตรงที่มีน้ำหนักที่เบามาก เมื่อนำทุกส่วนผสมมาผสมกันแล้ว ก็จะนำไปขึ้นรูป โดยเทแล้วทิ้งไว้ 1 วัน ให้คอนกรีตแข็งตัวและแกะแบบออกมา ทุกขั้นตอนคนในชุมชนสามารถเรียนรู้และทำได้ รวมถึงนักเรียน นักศึกษาก็ทำได้

นวัตกรรมจัดการขยะชุมชน เปลี่ยนขยะเป็นวัสดุก่อสร้าง

ส่วนเครื่องจักรของวิสาหกิจชุมชนก็คือ เครื่องจักรที่ต้นทุนหลักแสน โดยวิธีใช้เท้าเหยียบแบบเปิดเครื่องแล้วสั่นเขย่า แล้วอัดขึ้นรูป หลังจากนั้นนำไปผึ่งอากาศปกติให้แห้ง ตรงนี้ใช้คนงานเพียง 2 คนเท่านั้นสามารถผลิตได้วันละ 500 ก้อน ซึ่งชุมชนสามารถตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนขนาดกลางและขนาดย่อมทำออกขายได้ ต้นทุนไม่เกิน 500,000 บาท จะมีเครื่องบด, เครื่องผสม, เครื่องอัด ส่วนใหญ่อยู่ที่ประมาณ 300,000 บาท

นวัตกรรมจัดการขยะชุมชน เปลี่ยนขยะเป็นวัสดุก่อสร้าง

เครื่องจักรขนาดใหญ่ กับเครื่องจักรขนาดกลาง จะต่างกันที่อัตราส่วนของน้ำที่ใส่เข้าไป ส่วนใหญ่เครื่องจักรที่ใหญ่มากๆ นั้น จะใส่น้ำที่น้อยที่สุด จริงๆ แล้ว เครื่องที่ออกแบบมาจะเหมาะกับวิสาหกิจชุมชน เพราะพลาสติกเวลาผสมกับคอนกรีตจะต้องการน้ำที่มากขึ้นกว่าปกติ ฉะนั้นการที่จะนำไปเข้าโรงงานขนาดใหญ่จำเป็นต้องปรับเครื่องมือเยอะพอสมควร

คุณสมบัติของวัสดุที่ออกมา เทียบเท่ากับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม อิฐบล็อกก็เทียบมาตรฐานของอิฐบล็อก อิฐปูพื้นก็เทียบมาตรฐานอิฐปูพื้น ต้องควบคุมให้ได้ผ่านมาตรฐาน มอก. แล้วไปจำหน่ายเชิงพาณิชย์ได้

ราคาตามท้องตลาด อย่าง อิฐปูพื้น ขนาด 30x30 เซนติเมตร หนา 5-6 เซนติเมตร ที่ใช้กันทั่วไป ราคาขายจะอยู่ที่ 30-40 บาท แต่ถ้าเป็นรูปดอกไม้หรือรูปอื่นๆ ที่สวยงาม ก็จะขายก้อนละ 70 บาท ซึ่งเป็นการนำขยะมาสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากขึ้นพอสมควรเลยทีเดียว

นวัตกรรมจัดการขยะชุมชน เปลี่ยนขยะเป็นวัสดุก่อสร้าง

ในแง่ของความแข็งแรงคงทนนั้น มีการควบคุมส่วนผสม โดยใส่ขยะพลาสติกไปประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ หากเกินนั้นจะทำให้ไม่ได้มาตรฐาน มอก. แต่จริงๆ แล้วสามารถปรับสูตรส่วนผสมได้ เพราะ มอก. คือ มาตรฐานแนะนำ ไม่ใช่มาตรฐานบังคับ อย่าง ขอบคันหิน หรือที่เราเรียกกันว่า เขื่อนไซส์ ข้างถนนที่เราไว้กันฟุตพาท ตัวนี้สามารถใส่ได้เกินกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ เพราะไม่มีมาตรฐาน มอก. กำกับ

ชุมชนเมืองจัง สามารถประยุกต์นำขอบคันหินมาทำเป็นขอบแปลงปลูกผักอินทรีย์ได้ คือการนำขยะพลาสติกมาแปลงให้เป็นวัสดุก่อสร้าง โดยสามารถเพิ่มมูลค่าได้มหาศาล

นวัตกรรมจัดการขยะชุมชน เปลี่ยนขยะเป็นวัสดุก่อสร้าง

วัสดุที่นำมาใช้ล้วนขยะชุมชน เป็นขยะพลาสติกที่มาจากคนในชุมชนเอง ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นขวดน้ำพลาสติกเป็นหลัก ขยะพลาสติกอื่นๆ ก็สามารถใช้ได้เช่นกัน ส่วนปูนก็หาได้ตามโรงงานทั่วไปใกล้บ้าน ส่วนหินฝุ่น ชาวบ้านเมืองจังมีแหล่งหินฝุ่นอยู่ จึงทำให้ได้ต้นทุนที่ถูกว่าที่อื่น ประหยัดเพิ่มมากขึ้นไปอีกขั้น

ส่วนขยะอิเล็กทรอนิกส์ จากงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยเทคโลยีราชมงคลธัญบุรีได้เคยทำมา ทั้งที่เป็นโลหะและพลาสติก แผงวงจรต่างๆ สามารถนำมาบดให้ละเอียดแล้วนำมาแทนปูน ใส่แทนคอนกรีตได้บางส่วนเช่นกัน

นวัตกรรมจัดการขยะชุมชน เปลี่ยนขยะเป็นวัสดุก่อสร้าง

อาจารย์ประชุม ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า จากที่มาให้ความรู้แก่ชาวบ้านในพื้นที่ พบว่าชุมชนเมืองจังเป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งมาก ชาวบ้านสามารถจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนที่เกี่ยวกับวัสดุก่อสร้างได้เลย ประกอบกับทาง อบต.เมืองจัง ต้องการส่งเสริมให้มีวิสาหกิจชุมชนอยู่แล้ว เพื่อให้ชาวบ้านมีรายได้เป็นการพัฒนาความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น อีกทั้งยังต้องการให้ขยะชุมชน อย่าง ขยะพลาสติกเป็นศูนย์ให้ได้

"หากวันใดวันหนึ่งที่ขยะพลาสติกหมดไป เราดีใจนะที่มันหมดไปเสียได้ เราแก้ไขโดยเพียงแค่หาขยะที่เป็นวัสดุอื่น อย่าง เศษแก้ว, กระดาษ เป็นต้น" อาจารย์ประชุมกล่าว

ในอนาคต ถ้าวิสาหกิจชุมชนนี้เข้มแข็ง สร้างรายได้เข้ามา สามารถที่จะขยายฐานการผลิตได้ รวมถึงขายส่งไปทั่วภาคเหนือต่อไปได้ ชุมชนเมืองจังก็จะเป็นชุมชนต้นแบบให้แก่ชุมชนอื่นได้ จากที่ได้ไปให้ความรู้แก่ชุมชนอื่นมา ชุมชนเมืองจังถือเป็นชุมชนแรกที่คิดว่าตื่นตัวมากที่สุดก็ว่าได้

นวัตกรรมจัดการขยะชุมชน เปลี่ยนขยะเป็นวัสดุก่อสร้าง

ในแง่ของความยั่งยืนของโครงการนำขยะชุมชนมาเป็นวัสดุก่อสร้างนั้น ถือเป็นความยั่งยืนถึง 100 เปอร์เซ็นต์ ที่ผ่านมา มีงานวิจัยหลายๆ โครงการ พอทำได้แล้วก็หายไป เป็นเพราะ มันทำยาก แต่โครงการนี้เป็นโครงการที่ชุมชนทำได้ง่าย สิ่งที่เพิ่มมาจากขั้นตอนปกติเลยคือ การนำเอาขยะพลาสติกมาบด ส่วนผสมต่างๆ ก็ผสมมือในกระบะ ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่อง ชาวบ้านก็จะประหยัดเงินลงไปได้อีก สามารถทำได้ง่ายอีกด้วย

หลังจากนั้นก็นำมาขึ้นรูป ซึ่งก็อยู่ที่อยากขึ้นรูปเป็นอะไร ก็คงต้องแล้วแต่แม่พิมพ์ จะเป็นอิฐบล็อก หรือ อิฐปูพื้น ก็สามารถทำได้ง่าย

ข้อได้เปรียบในปัจจุบันของชุมชนเลยก็คือ บริษัทใหญ่ที่ผลิตวัสดุก่อสร้าง จะเน้นที่แผ่นสำเร็จ อาคารสำเร็จรูป จะไม่ค่อยได้ทำพวกนี้เท่าไหร่ ฉะนั้นคู่แข่งจากบริษัทใหญ่จะหายไป จะเหลือที่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่ยังคงทำอยู่เท่านั้น ในจังหวัดถ้าจะหาก็จะมาหาผ่านชุมชน ค่าจัดส่งก็จะถูกลง เพราะไม่ได้จัดส่งไกล ฉะนั้น จะเป็นตลาดที่จะอยู่ได้ยาวนานและกว้างมาก จึงถือเป็นโมเดลธุรกิจที่ยั่งยืนในอนาคต

นวัตกรรมจัดการขยะชุมชน เปลี่ยนขยะเป็นวัสดุก่อสร้าง

นวัตกรรมจัดการขยะชุมชน เปลี่ยนขยะเป็นวัสดุก่อสร้าง

 

related