svasdssvasds

จับตาสนช.พิจารณาร่างกม.ไซเบอร์ 22 ก.พ. ดันอำนาจไม่ต้องขออนุญาตจาก "ศาล"

จับตาสนช.พิจารณาร่างกม.ไซเบอร์ 22 ก.พ. ดันอำนาจไม่ต้องขออนุญาตจาก "ศาล"

ติดตามข่าวสารwได้ที่ https://www.springnews.co.th

นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) อนุมัติให้บรรจุร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ... ซึ่ง คณะกรรมาธิการ (กมธ.)ฯ ได้พิจารณาแล้วเสร็จ ​ไว้ในวาระการประชุม สนช.​วันที่ 22 กุมภาพันธ์ นี้ เพื่อให้ที่ประชุมพิจารณาวาระสองและวาระสามก่อนประกาศใช้เป็นกฎหมาย

ทั้งนี้ในร่างพ.ร.บ.ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ที่กมธ. พิจารณาและแก้ไขมีสาระสำคัญ อาทิ กำหนดให้คณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) มีหน้าที่กำหนดนโยบายให้หน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ รวมถึงนโยบายการบริหารจัดการที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน นอกจากนี้ ยังให้คณะกรรมการกำกับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (กกม.) โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานกรรมการ

ขณะที่อำนาจหน้าที่ กำหนดไว้ว่า เมื่อเกิดกรณีที่ปรากฎว่าเกิดหรือคาดว่าจะเกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับร้ายแรงให้ กกม. ออกคำสั่งให้สำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ดำเนินการได้หลายประการ. อาทิ ร่างมาตรา 60 กำหนดให้ รวบรวมข้อมูล หรือพยานเอกสาร พยานบุคคล พยานวัตถุที่เกี่ยวข้องเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์และประเมินผลกระทบจากภัยคุมคามทางไซเบอร์ เป็นต้น

"สำหรับการดำเนินการตามร่างมาตรา 60 ระบุด้วยว่าเพื่อประเมินผลกระทบจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ให้เลขาธิการคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ สั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการได้หลายประการ ที่เขียนไว้ในร่างมาตรา61 อาทิ การเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์หรือสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องหรือคาดว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ของบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยได้รับความยินยอมจากผู้ครอบครองสถานที่นั้น" ร่างพ.ร.บ.ไซเบอร์ ระบุ

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า  ในร่างมาตรา 62 กำหนดให้ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ให้กกม.มีคำสั่งให้หน่วยงานของรัฐให้ข้อมูลสนับสนุนบุคลากรในสังกัด หรือใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ในความครอบครองที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดย กกม.ต้องดูแลมิให้มีการใช้ข้อมูลที่ได้มาในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียาหาย และในกรณีที่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วนและเป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับวิกฤติ

ร่างมาตรา 67 ให้ กมช.มอบหมายให้เลขาธิการฯมีอำนาจดำเนินการได้ทันทีเท่าที่จำเป็นเพื่อป้องกันและเยียวยาความเสียหายล่วงหน้าได้ โดยไม่ต้องยื่นคำร้องต่อศาล  และในกรณีเกิดประเด็นร้ายแรงหรือวิกฤติ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและลดความเสี่ยง ให้เลขาธิการ กมช.​โดยความเห็นชอบของ กกม. มีอำนาจขอข้อมูลที่เป็นปัจจุบันและต่อเนื่องจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยผู้นั้นต้องให้ความร่วมมือและให้ความสะดวแก่คณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือ กกม.โดยเร็ว.​​