svasdssvasds

คุยกันอย่างไรให้สัมพันธ์แนบแน่น

คุยกันอย่างไรให้สัมพันธ์แนบแน่น

เวลาที่คุยกันว่าจะทำอย่างไรให้ความสัมพันธ์ของคนสองคนประสบความสำเร็จ ราบรื่น คำที่ถูกนึกถึงเสมอคือ ซื่อสัตย์ ความเชื่อมั่น การเปิดใจ และความสนุก แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือการสื่อสารถึงกันและกัน มาดูกันว่ามีวิธีสื่อสารอย่างไรให้ความสัมพันธ์นั้นราบรื่น หวานชื่น

ลองคิดว่าการสื่อสารเหมือนบัญชีธนาคาร

คุณจะออมหรือจะถอนเงินจากบัญชีธนาคาร คล้ายๆกัน คุณสามารถที่จะออมหรือใช้คำอะไร ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ไม่มีใครชอบถูกวิพากษ์วิจารณ์ และการที่คำเหล่านั้นมาจากคนรัก ย่อมยิ่งเจ็บปวดกว่าธรรมดา ถ้ารู้สึกว่าจำเป็นต้องวิจารณ์ ให้นึกถึงความสัมพันธ์ว่าเหมือนเป็นบัญชีธนาคาร ให้ออมคำวิจารณ์ และให้ฝากคำชม เมื่อมันเป็นบัญชีธนาคาร แน่นอนว่าควรต้องฝาก(คำชม, ความใจดี, การแสดงความยอมรับ ฯลฯ) มากกว่าถอน(วิจารณ์) ไม่อย่างนั้นบัญชีคงติดตัวแดง เมื่อคำชมในบัญชีของคุณมีมากกว่าคำติ เมื่อถึงเวลาที่คุณต้องแสดงความไม่พอใจ หรือไม่เห็นด้วย จะมีโอกาสที่อีกฝ่ายจะยอมรับมากขึ้นมาก

อย่าเริ่มบทสนทนาด้วยการตั้งแง่

แน่นอนว่าคุณไม่ต้องการถูกกล่าวโทษหรือต้องขอโทษทันทีถ้าคุณไม่ใช่ฝ่ายผิด แต่การที่พยายามหาความจริงจากทั้งสองฝ่าย แตกต่างกับการตั้งแง่ป้องกันตัวเอง เมื่อคุณต้องโต้เถียงกัน ควรจะนึกถึงก่อนว่า “เราจะทำอย่างไรร่วมกันที่จะทำให้ชีวิตเราเดินหน้า” แทนที่จะมาใช้พลังงานพยายามบอกอีกฝ่ายว่าทำไมตัวเองถึงเป็นฝ่ายถูก และทำไมอีกฝ่ายผิด

เมื่อคุณเป็นฝ่ายผิด ต้องยอมรับผิด

เมื่อคุณเป็นฝ่ายผิด อย่ามัวเหนียมแล้วคิดว่าเรื่องจะหายไปเอง แสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น จริงใจ และพยายามทำให้อีกฝ่ายรู้ว่าความรู้สึกของเขามีส่วนสำคัญ และให้ความมั่นใจว่าคุณจะพยายามทำให้ดีขึ้น ไม่มีใครในโลกนี้ที่เพอร์เฟ็ค แต่การสารภาพผิดจะไม่ยากเลยเมื่อเป็นคู่ที่มีการสื่อสารกันอย่าดี ไม่ใช่เรื่องที่น่าละอายที่คุณทำอะไรผิดพลาด สิ่งที่ควรจะอาย คือเมื่อคุณเอาตัวเองเป็นใหญ่จนทำให้คุณทั้งสองคนไม่สามารถก้าวต่อไปได้อย่างสร้างสรรค์

ถามคำถามปลายเปิด

คำถามปลายปิดที่จำกัดคำตอบเพียง “ใช่” และ “ไม่ใช่” หรือคำตอบสั้นๆอย่าง “วันนี้” หรือ “พรุ่งนี้” สร้างความแตกต่างจากคำถามปลายเปิดที่เปิดโอกาสให้การพูดคุยกันธรรมดาเป็นบทสนทนาที่น่าสนใจ เป็นการแสดงให้คู่ของคุณเป็นว่าคุณมีความสนใจเขาอย่างจริงใจ และสร้างความใกล้ชิดมากขึ้น

ให้ความสนใจทีละประเด็น

สมมุติว่าคู่ของคุณลืมล้างจาน ทำให้คุณหงุดหงิด คุณเริ่มบ่นเรื่องล้างจาน แล้วเลยเถิดไปเรื่องที่กลับมาทานมื้อค่ำดึกเกินไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หรือลืมพาสุนัขไปเดินเล่นเมื่อวานนี้ หรืออะไรก็ตาม แม้ว่าจะมีหลายเรื่องที่กวนใจคุณอยู่ และคุณรู้สึกว่าต้องบอกให้คู่ของคุณรู้ว่ารู้สึกอย่างไร ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าให้ยกมาคุยได้มากที่สุดครั้งละ 1 เรื่องเท่านั้น ไม่อย่างนั้นอีกฝ่ายอาจ “ปิดสวิตช์” ทางอารมณ์เมื่อถูกถล่มด้วยคำติเตียน และกลายเป็นไม่ได้ยินอะไรที่คุณพูดเลย ดังนั้น อย่าออกนอกประเด็น อย่าเกินเลยไปจากเรื่องที่ทำให้คุณหงุดหงิด ณ เวลานั้น

ฟังก่อนพูด

แทนที่จะพูดอะไรที่นึกได้ทันที ลองหยุดสักนิดแล้วฟังว่าคู่ของคุณกำลังพูดอะไร ฃดยที่ไม่ขัดจังหวะจนกว่าอีกฝ่ายจะพูดจบ และเมื่อนั้น คุณถึงคำณวนการตอบโต้ ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า เมื่อคนเรากำลังอยู่ในบทสนทนาที่มีเดิมพันสูง ก็มักจะได้ยินแต่สิ่งที่ต้องการจะตอบโต้และกลายเป็นหยุดฟังอะไรอย่างอื่นที่อีกฝ่ายพูด

คุยกันอย่างไรให้สัมพันธ์แนบแน่น

อย่ากะเทาะอดีต

การทะเลาะกันในอดีต ก็ควรที่จะเป็นอดีต หลายๆคู่ชอบดึงเอาอดีตมาใช้เป็นเหตุผลจุดยืนของตัวเองในปัจจุบัน การให้อภัยและการที่สามารถปล่อยให้เรื่องเก่าๆผ่านไป จะช่วยให้ความสัมพันธ์ของคุณมีชีวิตชีวา แน่นอนว่าคนอยู่ด้วยกันย่อมมีกระทบกระทั่ง ก็ควรต้องคุยกันให้จบ และปล่อยให้มันเป็นอดีต เพื่อที่จะทำให้ทั้งคู่สามารถก้าวต่อไปได้ทุกวันเหมือยเริ่มต้นใหม่

เก็บไว้คุยวันอื่น

ถ้าดูเหมือนว่าผิดเวลา อย่างเช่นแม่สามีหรือแม่ภรรยามาเยี่ยม หรือกำลังจะมีประชุมสำคัญ ... เก็บความรู้สึกคุณไว้ก่อน ค่อยคุยก่อนเมื่ออยู่กันสองต่อสองในพื้นที่สงบที่ทั้งสองคนสามารถคุยกันได้อย่างใส่ใจละมีเหตุผล เพียงแค่คุณไม่พอใจบางอย่าง คุณอยากจะบอกคู่ของคุณถึงเรื่องที่กำลังกวนใจจริงๆ ไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องพูดออกมา ณ นาทีนั้น

อย่าสุดโต่ง

วลีที่บอกว่าอีกฝ่ายทำอย่างโน้นอย่าง “เสมอ” หรืออีกฝ่าย “ไม่เคย” ทำโน่นทำนี่เลย เป็นสิ่งที่บั่นทอนความสัมพันธ์ ทำให้คู่ของคุณรู้สึกเป็นศูนย์ ชีวิตไม่ใช่ขาวดำ คู่ที่สื่อสารกันได้ดี มักพยายามหลีกเลี่ยงวลีที่เกินจริงหรือสุดโต่ง คุณควรตำหนิอย่างเจาะจง หลีกเลี่ยงความเสียหายที่อาจเกิดจากการเหมารวม การไม่สุดโต่งจะช่วยให้อีกฝ่ายยังพยายามฟังสิ่งที่คุณพูด และจูงใจให้เขาหรือเธอพยายามมากขึ้นในอนาคต

พยายามใช้ “ฉัน” มากกว่า “เธอ”

ไม่มีใครอยากถูกแปะยี่ห้อในทางลบ หรือให้อีกฝ่ายบอกว่าตัวเองควรรู้สึกอย่างไร แทนที่จะบอกว่าอีกฝ่ายไม่ดีอย่างไร คุณลองบอกความรู้สึกของตัวเองให้อีกฝ่ายรู้ อีกฝ่ายจะรับฟังมากกว่า บอกให้เขารู้ถึงความรู้สึกละความต้องการของคุณ โดยเฉพาะความรู้สึกที่ทำให้คุณอึดอัด

อย่าเหมาว่าอีกฝ่ายรู้ว่าคุณรู้สึกอย่างไร

ไม่มีใครอ่านใจคนออก ดังนั้นเมื่อมีอะไรกวนใจคุณ อย่าเหมาว่าอีกฝ่ายจะรู้โดยที่คุณไม่ต้องบอก คนชอบคิดว่าตัวเองอ่านใจคนอื่นออก แต่คู่รักมักมีปัญหาเมื่อเขาตีความสีหน้าท่าทางของอีกฝ่ายเอง อย่าหงุดหงิดใส่กันเพราะความไม่เข้าใจว่าอีกคนคิดอะไรอยู่