svasdssvasds

สาเหตุของอาการปวดหัวที่คุณอาจคาดไม่ถึง

สาเหตุของอาการปวดหัวที่คุณอาจคาดไม่ถึง

ติดตามข่าวสารwได้ที่ https://www.springnews.co.th

คุณมีอาการปวดหัวบ้างหรือไม่ ปวดหัวแบบเล็กๆน้อยๆโดยไม่รู้สาเหตุ แต่ก็เกิดขึ้นบ่อยจนเหมือนจะเป็นอาการเรื้อรัง และเพราะอาการยังไม่รุนแรง คุณเลยไม่คิดแก้ไข เดี๋ยวก็หายไปเอง หรือไม่คุณก็นึกโทษเรื่องราวในชีวิตประจำวัน ที่ทำให้ต้องวุ่นวายและอารมณ์เสีย จนต้องมานั่งปวดหัวอย่างนี้

ในความเป็นจริงแล้ว หากไม่ค้นหาสาเหตุ อาการปวดหัวอาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ขึ้นมาได้ โชคดีที่ว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดหัวหลายข้อ เป็นสิ่งที่แก้ไขได้ง่ายๆ ลองมาดูสาเหตุเหล่านี้และรับฟังคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญกัน

โทรศัพท์มือถือ

การหนีบโทรศัพท์มือถือระหว่างหูและไหล่ในช่วงคุยเป็นเวลานานกว่า 2-3 นาที ทำให้คอเคล็ดและนำไปสู่การปวดหัวแบบตึงเครียด ดังนั้นจงหันมาใช้อุปกรณ์หูฟังช่วยจะดีที่สุด

เก้าอี้นั่งทำงาน

เก้าอี้นั่งทำงานส่วนใหญ่ออกแบบสำหรับคนที่สูงเฉลี่ย 170 เซนติเมตรขึ้นไป ถ้าเก้าอี้ของคุณมีขนาดใหญ่เกินไป คุณอาจมีอาการปวดหลัง และอาจนำไปสู่การปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและปวดหัว ดังนั้นจึงควรหาหมอนอิงมาช่วยหนุนหลังไม่ให้นั่งหลังงอจนเกินไป

กาแฟ

การดื่มกาแฟขนาด 8 ออนซ์มากกว่า 2 แก้วต่อวัน ทำให้คุณมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการปวดหัว หากคุณไม่ได้ดื่มในปริมาณมากเท่าที่เคยดื่ม การแก้ปัญหาคือค่อยๆลดการดื่มกาแฟลงเหลือเพียงวันละ 1 แก้ว หรือการเปลี่ยนเป็นดื่มกาแฟที่มีคาเฟอีนน้อยก็พอจะช่วยได้

คอมพิวเตอร์

หน้าจอคอมพิวเตอร์แบบทั่วไปทำให้ตาของคุณล้า และนำไปสู่อาการปวดหัว ควรซื้อแผ่นกันแสงมาติดหน้าจอ และหันเหสายตาออกไปมองวัตถุที่ไกลจากคุณประมาณ 20 ฟุตเป็นครั้งคราว

วันหยุดสุดสัปดาห์ที่แสนขี้เกียจ

การที่คุณตื่นนอนสายกว่าเดิมไป 2-3 ชั่วโมงในวันหยุด เป็นการเปลี่ยนจังหวะชีวิตประจำวัน และมีผลต่อระดับสารเคมีในสมอง จนอาจทำให้ปวดหัวไมเกรนได้ ดังนั้น จงตื่นนอนตามเวลาปกติ ถึงแม้จะเป็นวันสุดสัปดาห์ก็ตาม

กระเป๋าถือ

ลองชั่งน้ำหนักกระเป๋าถือของคุณดู หากกระเป๋าหนักกว่า 4.5 กิโลกรัม กระเป๋าถือของคุณอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้คอเคล็ดและปวดหัว คุณควรลดน้ำหนักกระเป๋าถือลง หรือแบ่งของไปใส่ในกระเป๋าหูหิ้ว และหิ้วกระเป๋าถือและกระเป๋าหูหิ้วด้วยมืออย่างละข้าง เพื่อให้ไหล่สมดุลกัน

หากคุณลองทำวิธีง่ายๆเหล่านี้ แต่ยังมีอาการปวดหัวอยู่ ก็จงอย่ารีรอที่จะปรึกษากับแพทย์ เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างถูกจุด และไม่ต้องทรมานกับอาการปวดหัวจุกจิกอีกต่อไป

ข้อมูลจาก https://www.health.com/