svasdssvasds

5 มาตรการคุมเข้ม ป้องกันสุขภาพประชาชนจาก ฝุ่น PM2.5

5 มาตรการคุมเข้ม ป้องกันสุขภาพประชาชนจาก ฝุ่น PM2.5

กระทรวงสาธารณสุข เผยค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ยังคงต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง แนะ 5 มาตรการสำคัญให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเฝ้าระวังในการป้องกันและลดผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน พร้อมแนะนำการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันตนเอง

สถานการณ์ค่า ฝุ่น PM 2.5 หรือฝุ่นละอองขนาดเล็ก ในช่วงเวลานี้ยังคงต้องมีการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในทุกพื้นที่ โดยดำเนินการภายใต้ 5 มาตรการสำคัญ ได้แก่

1) เฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัย ผ่านศูนย์อำนวยการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข โดยขณะนี้มีหน่วยงานสาธารณสุขในระดับจังหวัดและเขตสุขภาพ 3 แห่ง คือ สมุทรสงคราม ลำปาง และแพร่ เปิดศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (Public Health Emergency Operation Center หรือ PHEOC) เพื่อเฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์ ประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพและประสานงานกับศูนย์ปฏิบัติการระดับจังหวัดเพื่อแก่ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน

2) เฝ้าระวังการเจ็บป่วย ได้แก่ โรคระบบทางเดินหายใจ, ระบบหัวใจและหลอดเลือด, ระบบผิวหนัง, ระบบตาและอื่นๆ รวมทั้งผลกระทบในระยะยาว เช่น โรคมะเร็ง รวมถึงเฝ้าระวังและตอบโต้ข่าวที่เป็นเท็จ

3) สื่อสาร สร้างความรอบรู้แก่ประชาชน โดยจัดทำชุดความรู้และสื่อสารชุดความรู้ผ่านช่องทางต่างๆ ในทุกระดับ พัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่สาธารณสุข แกนนำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และอาสาสมัครสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร (ออส.) รวมถึงผู้ดูแลผู้สูงอายุและผู้ดูแลเด็กเล็กในระดับพื้นที่ พร้อมลงพื้นที่ให้ความรู้แก่ประชาชนในการดูแลสุขภาพและการป้องกันตนเอง

4) ดูแลสุขภาพและจัดระบบบริการสาธารณสุข โดยสนับสนุนหน้ากากอนามัย 400,000 ชิ้น และเปิดคลินิกมลพิษในพื้นที่เสี่ยงครอบคลุมทั้ง 13 เขตสุขภาพ รวมทั้งจัดทำห้องปลอดฝุ่นจำนวน 83 แห่ง แบ่งเป็นในพื้นที่หมอกควัน ภาคเหนือจำนวน 82 แห่ง จังหวัดนนทบุรี 1 แห่ง นอกจากนี้ กรุงเทพมหานครได้จัดตั้งมุมคลินิกมลพิษ ที่ศูนย์บริการสาธารณสุขสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 68 แห่ง

5) มาตรการกฎหมาย โดยเฉพาะมาตรการห้ามเผาในที่โล่ง ซึ่งองค์กรปกครองท้องถิ่นได้มีการประกาศกำหนดพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดกำแพงเพชรและกรุงเทพมหานคร  รวมทั้งประสานผ่านกลไกคณะกรรมการสาธารณสุขจังหวัด ขอความร่วมมือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เสี่ยงควบคุมแหล่งกำเนิดฝุ่นละอองในพื้นที่ภายใต้พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

[caption id="attachment_604610" align="alignnone" width="840"] 5 มาตรการคุมเข้ม ป้องกันสุขภาพประชาชนจาก ฝุ่น PM2.5 แพทย์หญิง พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กรมอนามัยได้ออกประกาศเรื่องค่าเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดเล็กในบรรยากาศ ซึ่งเป็นปัญหามลพิษที่มีความรุนแรง โดยเฉพาะ ฝุ่น PM2.5 หรือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ซึ่งระดับของผลกระทบต่อสุขภาพได้ใช้สีเป็นสัญลักษณ์เปรียบเทียบ แบ่งเป็น 5 ระดับ ได้แก่[/caption]

สีฟ้า 0–25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

สีเขียว 26–38 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

สีเหลือง 38–50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

สีส้ม 51–90 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

สีแดง 91 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรขึ้นไป

โดยหากพบค่า ฝุ่น PM2.5 ตั้งแต่ระดับสีเหลืองขึ้นไป ประชาชนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์, เด็ก, ผู้สูงอายุ, กลุ่มผู้ป่วย, ผู้มีโรคประจำตัว และผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ทั้งนี้ ประชาชนสามารถติดตามสถานการณ์คุณภาพอากาศได้จากเฟซบุ๊กเพจ คนรักอนามัย ใส่ใจอากาศ PM 2.5