svasdssvasds

วิธีการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19

วิธีการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19

การระบาดของโควิด 19 เป็นภาวะเร่งด่วนระดับโลก การพยายามค้นหาผู้ติดเชื้อ เพื่อควบคุมการแพร่กระจายเชื้อเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงเปิดห้องปฏิบัติการสหเวชศาสตร์เพื่อสนับสนุนการทำงานของโรงพยาบาล ระดมทรัพยากรช่วยตรวจเชื้อไวรัสโคโรนา เพื่อช่วยชาติสู้ภัยโควิด รู้ผลภายใน 6 ชั่วโมง

รศ.พญ.นันตรา สุวันทารัตน์ อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงวิธีการตรวจเชื้อไวรัสโควิด 19 ในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 2 วิธีหลัก นั่นคือ RT-PCR (Realtime PCR) และ Rapid Test (Antibody Test)

การตรวจด้วยวิธี RT-PCR

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รับรองการตรวจแบบ RT-PCR เป็นหลัก ซึ่งในประเทศไทยสามารถทำการส่งตรวจในแล็บได้ 44 แห่งทั้งประเทศ ซึ่งไม่ใช่ทุกห้องแล็บที่สามารถตรวจได้

ข้อดีของวิธี RT-PCR คือ มีความไวที่สุด และ มีความแม่นยำมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป แต่ก็มีข้อเสียเช่นกัน นั่นคือ การตรวจวิธีนี้ค่อนข้างมีราคาที่สูง รวมถึงต้องใช้วิธีทดสอบที่ยุ่งยาก จึงทำใช้เวลาในการทดสอบและรอผลจากห้องแล็บ 4-6 ชั่วโมง

การตรวจด้วยวิธี Rapid Test

วิธีนี้เป็นการทดสอบแบบนี้เป็นการตรวจ ภูมิต้านทานของคนไข้ ข้อดีก็คือ ถูกลงกว่าวิธีแรก ทำได้เยอะ สามารถทำได้ในทุกห้องแล็บเลยก็ว่าได้ วิธีทำค่อนข้างรวดเร็ว สามารถทราบผลภายในไม่เกิน 1 ชั่วโมง

ข้อเสียของวิธีนี้ คือ ผู้ป่วยในระยะแรกๆ อาจจะยังไม่สร้างภูมิคุ้มกันออกมา ทำให้ผลตรวจเป็นลบ ซึ่งเป็นจุดสำคัญมาก เพราะ หากคนไข้ตรวจแล้วทราบผลเป็นลบอาจทำให้เข้าใจว่าตนไม่ติดเชื้อ แล้วไปในที่ชุมชน นั่นอาจแพร่กระจายเชื้อโรคให้ผู้อื่นได้ ปัจจุบันวิธีนี้ในประเทศไทยทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์อนุมัติมา 2 บริษัทที่จะใช้วิธีนี้ได้

คำถามที่พบบ่อยก็คือ ในประเทศไทยต่อไปแนวทางการตรวจจะเป็นอย่างไร

รศ.พญ.นันตรา ตอบว่า ในประเทศไทยจะยังคงตรวจอยู่ใน 2 รูปแบบนี้ แต่อาจมีการปรับมากขึ้น อย่าง RT-PCR จะมีการปรับทำเป็นชุดสำเร็จ มีราคาแพงกว่า แต่ก็มีความจำเพาะต่างๆ เช่น ในอเมริกามีที่ได้รับการอนุมัติจาก FDA อเมริกาแล้ว ส่วน Rapid Test มีมากขึ้น แต่ต้องมีคำแนะนำในการใช้ให้แปลผลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ