svasdssvasds

Work From Home ก็เสี่ยงเป็น โรคออฟฟิศซินโดรม ได้

Work From Home ก็เสี่ยงเป็น โรคออฟฟิศซินโดรม ได้

ติดตามข่าวสารwได้ที่ https://www.springnews.co.th

สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ท่ามกลางอากาศร้อนของเดือนเมษายน ยังคงมีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น หลายหน่วยงานพร้อมใจลดความเสี่ยงด้วยการให้พนักงาน Work From Home อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ ถึงเราจะไม่ได้เข้าไปนั่งทำงานในออฟฟิศ ก็ไม่ควรละเลยความเสี่ยงในการนั่งทำงานที่บ้าน เพราะหากปฏิบัติตนไม่ถูกต้องอาจจะส่งผลให้เราป่วยเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม ได้โดยไม่รู้ตัว

Work From Home ก็เสี่ยงเป็น โรคออฟฟิศซินโดรม ได้

โรคออฟฟิศซินโดรม ไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจส่งผลให้เกิดอาการปวดเรื้อรัง กระทบต่อประสิทธิภาพและความสุขในการทำงานได้

นายแพทย์เฉลิมพล ชีวีวัฒน์ เเพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ประจำศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ได้ให้ข้อมูลว่า ออฟฟิศซินโดรม เป็นกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด พบได้บ่อยในผู้ที่นั่งทำงานในออฟฟิศ เกิดจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น ท่าทางการทำงาน ท่านั่งทำงาน การวางมือหรือข้อศอกบนโต๊ะทำงานที่ไม่ถูกต้อง การใช้ข้อมือซ้ำๆ ทำให้เกิดการอักเสบของเอ็นบริเวณข้อมือหรือพังผืดเส้นประสาทบริเวณข้อมือได้ รวมไปถึงการจัดสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น ลักษณะโต๊ะทำงาน หน้าจอคอมพิวเตอร์ แสงสว่างในห้องทำงาน เป็นต้น

 

Work From Home ก็เสี่ยงเป็น โรคออฟฟิศซินโดรม ได้

 

อาการบ่งชี้เสี่ยงเป็นออฟฟิศซินโดรม

อาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด โดยเฉพาะบริเวณคอ บ่า สะบัก การอักเสบของเส้นเอ็นบริเวณข้อศอก ข้อมือ นิ้วมือ เช่น การอักเสบของเอ็นโคนนิ้วโป้ง นิ้วล็อค การกดทับปลายประสาท ทำให้เกิดอาการชา รวมถึงอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ

แบบประเมินตนเองอย่างง่ายๆ เพื่อดูความเสี่ยงว่าเข้าเกณฑ์ออฟฟิศซินโดรมหรือไม่

  • คุณเป็นคนที่นั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์อย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อวันหรือไม่?
  • ระหว่างทำงาน คุณมักจะรู้สึกปวดเมื่อยบริเวณต้นคอ ไหล่ หลัง เอว อยู่เสมอหรือไม่?
  • ระหว่างทำงาน คุณรู้สึกปวดเมื่อยจนบางครั้งต้องกินยาแก้ปวด หรือไปนวดเพื่อให้หายปวดหรือไม่?
  • คุณรู้สึกตาพร่ามัว อ่านหน้าจอไม่ชัด ระหว่างทำงานเป็นบางครั้งหรือไม่?

หากคำตอบส่วนใหญ่คือ ใช่ แสดงว่าคุณเริ่มมีความเสี่ยงกับโรคนี้ เบื้องต้นควรรีบปรับพฤติกรรม หรือ ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อไม่ให้ส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว

Work From Home ก็เสี่ยงเป็น โรคออฟฟิศซินโดรม ได้

วิธีแก้ไข

  • ปรับท่าทางในการทำงานให้ถูกต้อง ด้วยการนั่งหลังตรง ฝ่าเท้าสองข้างแนบสนิทพื้น ไหล่ผ่อนคลาย ศอก สะโพก และเข่า งอประมาณ 90 องศา ข้อมือควรอยู่ในท่าตรง ไม่กระดก หรืองอมากเกินไป
  • ในระหว่างทำงานควรมีการยืดกล้ามเนื้อ พักสายตาอย่างน้อยทุกชั่วโมง
  • ปรับสิ่งแวดล้อมและอุปกรณ์ในการทำงานที่เหมาะสม โต๊ะทำงานควรมีลิ้นชักแยกไว้วางคีย์บอร์ด เก้าอี้นั่งต้องมั่นคง ปรับระดับสูงต่ำได้ จอคอมพิวเตอร์ขอบบนจออยู่ระดับสายตา

ในเบื้องต้นหากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและจัดสิ่งแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสมแล้ว ยังคงมีอาการปวดรุนแรงอยู่ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยแยกโรคและพิจารณาการรักษาที่เหมาะสม 

Work From Home ก็เสี่ยงเป็น โรคออฟฟิศซินโดรม ได้

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคออฟฟิศซินโดรม หรือเรื่องสุขภาพอื่นๆ สามารถขอคำปรึกษาจาก ทีมแพทย์โรงพยาบาลในเครือบริษัท พริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จำกัด ได้ทั้ง 9 แห่ง ใน 8 จังหวัด ได้แก่ โรงพยาบาล พริ้นซ์ สุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ, โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ 1, โรงพยาบาล พริ้นซ์ ปากน้ำโพ 2 จังหวัดนครสวรรค์, โรงพยาบาลพริ้นซ์ อุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี, โรงพยาบาลพิษณุเวช จังหวัดพิษณุโลก, โรงพยาบาลพิษณุเวช อุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์, โรงพยาบาลพิษณุเวช พิจิตร จังหวัดพิจิตร, โรงพยาบาลศิริเวชลำพูน จังหวัดลำพูน และโรงพยาบาลวิรัชศิลป์ จังหวัดชุมพร

สามารถติดตามสาระดีๆ เกี่ยวกับการแพทย์ได้ที่เฟซบุ๊ก Principal Healthcare Company

 

เรื่องน่ารู้จาก COVID-19

อ่านข่าวแนะนำ >>>

https://www.springnews.co.th/alive/lifestyle/630786

อ่านข่าวแนะนำ >>>

https://www.springnews.co.th/alive/lifestyle/631471

อ่านข่าวแนะนำ >>>

https://www.springnews.co.th/alive/lifestyle/634538

อ่านข่าวแนะนำ >>>

https://www.springnews.co.th/alive/lifestyle/635009

อ่านข่าวแนะนำ >>>

https://www.springnews.co.th/alive/edutainment-alive/636779