svasdssvasds

ก้างปลาติดคอ กับความเชื่อและวิธีการผิดๆ ที่อาจทำให้เกิดอันตรายยิ่งกว่าเดิมได้

ก้างปลาติดคอ กับความเชื่อและวิธีการผิดๆ ที่อาจทำให้เกิดอันตรายยิ่งกว่าเดิมได้

เมื่อ ก้างปลาติดคอ การปั้นข้าวเหนียว การรับประทานกล้วย หรือมาร์ชเมลโล แล้วกลืนเพื่อดันก้างปลาให้หลุด หรือการใช้นิ้วล้วงคอ ถือเป็นความเชื่อและวิธีการที่ผิด

ก้างปลาติดคอ เป็นประสบการณ์อันแสนเจ็บปวดที่อาจเกิดขึ้นได้กับผู้ที่รับประทานปลา โดยเฉพาะปลาหลายๆ ชนิดที่มีก้างฝอยแหลมเล็กๆ แทรกอยู่ตามเนื้อ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอาการระคายเคือง หรืออาการเจ็บๆ แสบๆ เกิดขึ้น หากว่ามันทิ่มลงในบริเวณลำคอที่เป็นเนื้ออ่อน ก้างปลาเหล่านี้บางครั้งก็หลุดออกไปได้เอง แต่ก็มีบางครั้งที่มันไม่ยอมหลุด จนก่อให้เกิดความรำคาญ และหากใครที่เคยพบเจอประสบการณ์นี้ อาจจะเข็ดกับการรับประทานปลาไปอีกนาน เพราะมันทั้งเจ็บคอและสร้างความทรมานอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว

นายแพทย์ ปวิชญ์ วิรัชศิลป์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวิรัชศิลป์ จังหวัดชุมพร กล่าวถึงเคสก้างปลา และเคสวัตถุแปลกปลอมติดคอ เป็นสถิติในปี 2562 พบว่า เฉลี่ยแล้วพบเคสดังกล่าวกว่า 144 เคสต่อปี หรือเฉลี่ยสัปดาห์ละประมาณ 3 - 4 เคสเลยทีเดียว อาการเมื่อมีก้างปลาติดคอ ส่วนใหญ่มักจะมีอาการเจ็บจี๊ดเฉียบพลัน กลืนน้ำลายแล้วเจ็บ รวมทั้งสามารถบอกตำแหน่งได้ว่ามีสิ่งแปลกปลอมติดอยู่บริเวณใด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

4 สัญญาณเตือนเสี่ยงเป็นโรค ต้อกระจก รู้เท่าทัน รีบป้องกันก่อนตาบอด

ไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก โรคระบาดช่วงหน้าฝนในเด็กเล็ก

Work From Home ก็เสี่ยงเป็น โรคออฟฟิศซินโดรม ได้

 

ก้างปลาอาจติดได้ตั้งแต่เพดานอ่อน ต่อม ทอนซิล ผนังคอหอย โคนลิ้น ฝาปิดกล่องเสียง หรือติดในหลอดอาหารก็ได้ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บบริเวณที่ก้างตำ และยิ่งกลืนยิ่งเจ็บ ถ้าก้างติดอยู่นานวันเข้า อาจมีอาการอักเสบ ติดเชื้อ เป็นหนอง และมีไข้ได้ รวมทั้งอาจมีเลือดออกมาปนกับน้ำลายได้ด้วย ปกติแล้ว ก้างปลาติดคอไม่ค่อยมีผลทำให้เสียงเปลี่ยน เว้นเสียแต่ว่า อาการอักเสบลุกลามไปที่กล่องเสียง ก็จะทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาของ การออกเสียง และปัญหาของการหายใจตามมาได้

 

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อมีก้างปลาติดคอ

 

สำหรับวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น สามารถดื่มน้ำแล้วกลั้วคอแรงๆ หากเป็นก้างปลาขนาดเล็ก จะสามารถหลุดออกเองได้ แต่หากยังไม่หลุด ควรมาพบแพทย์ทันที

 

ความเชื่อผิดๆ เมื่อมีก้างปลาติดคอ

 

หลายคนคงเคยได้ยินความเชื่อ และสารพัดวิธีการปฏิบัติหากมี ก้างปลาติดคอ ไม่ว่าจะเป็น การปั้นข้าวเหนียว การรับประทานกล้วย หรือมาร์ชเมลโล แล้วกลืนเพื่อดันก้างปลาให้หลุด หรือการใช้นิ้วล้วงคอ ซึ่งนับว่าเป็นความเชื่อและวิธีการที่ผิด

ในความเป็นจริงแล้ว ก้างปลาที่ใหญ่จะไม่สามารถหลุดออกได้ และการรับประทานอาหารดังกล่าวลงไป หรือแม้แต่การใช้นิ้วล้วงคอ การกลืนอาหารแข็งๆ เหนียวๆ คำใหญ่เพื่อให้ก้างหลุดนั้น บางครั้งอาจทำให้ก้างตำลึกลงไปในเนื้อเยื่อนั้นๆ ได้มากขึ้นด้วย และยังทำให้เกิดแผลอีกด้วย ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้ทำเช่นความเชื่อที่กล่าวมาข้างต้น

นอกจากนี้ ความเชื่อว่าการดื่มน้ำมะนาวแล้วจะทำให้ก้างปลาอ่อนนุ่มลงก็ไม่เป็นความจริง เพราะน้ำมะนาวไม่สามารถทำให้ก้างปลาละลาย และหลุดหายไปเองได้ อีกทั้ง ยิ่งดื่มน้ำมะนาวในปริมาณมาก อาจทำให้เกิดการระคายเคืองในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย

 

ก้างปลาติดคอ

 

 

การรักษาด้วยวิธีการส่องกล้อง หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

 

สำหรับแนวทางการตรวจและรักษาเมื่อมีอาการก้างปลาติดคอนั้น แพทย์จะทำการซักประวัติก่อนว่า ทานปลาชนิดใด และก้างปลาติดคอมานานแค่ไหนแล้ว มีอาการเจ็บที่บริเวณตำแหน่งไหนบ้าง โดยการตรวจเบื้องต้นจะใช้ไฟฉายคาดบริเวณศีรษะ ใช้ไหมกดลิ้นเพื่อหาเศษก้างปลาในบริเวณที่มักพบบ่อยๆ ในกรณีเคสที่หาก้างปลาไม่เจอ หรือเคสที่ก้างปลาติดในตำแหน่งลึก อาจจำเป็นต้องใช้กล้องขนาดเล็กส่องผ่านเข้าทางจมูกลงไปในบริเวณลำคอ หรือใช้ฟิล์มเอกซเรย์ เพื่อช่วยให้มองเห็นตำแหน่งที่แน่ชัด แล้วใช้ที่คีบทำการคีบก้างปลาออกมา หากใช้วิธีดังกล่าวแล้วยังหาไม่เจอ และมีอาการเจ็บมาก หรือมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ อาจต้องทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) เพื่อรักษาต่อไป

ปัจจุบัน โรงพยาบาลวิรัชศิลป์ จ.ชุมพร มีบริการนำก้างปลาติดคอออกให้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ตั้งแต่วันนี้ - 30 กันยายน 2563 ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งในโครงการแพทย์ผู้ให้ เพื่อร่วมสร้างสังคมและชุมชนแห่งการให้อย่างแท้จริง

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพอื่นๆ สามารถขอคำปรึกษาจาก ทีมแพทย์ โรงพยาบาลในเครือบริษัท พริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จำกัด ได้ทั้ง 9 แห่ง ใน 8 จังหวัด ได้แก่ โรงพยาบาล พริ้นซ์ สุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ 1 และโรงพยาบาล พริ้นซ์ ปากน้ำโพ 2 จังหวัดนครสวรรค์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ อุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี โรงพยาบาลพิษณุเวช จังหวัดพิษณุโลก โรงพยาบาลพิษณุเวช อุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ โรงพยาบาลพิษณุเวช พิจิตร จังหวัดพิจิตร โรงพยาบาล ศิริเวชลำพูน จังหวัดลำพูน และโรงพยาบาลวิรัชศิลป์ จังหวัดชุมพร และสามารถติดตามสาระดีดีเกี่ยวกับการแพทย์ได้ที่เฟซบุ๊ก Principal Healthcare Company

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

 

 

 

 

พริ้นซิเพิล แคปิตอล ลุยอีสาน ซื้อกิจการโรงพยาบาลสรรพสิทธิ์อินเตอร์

เช็กตัวเอง เสี่ยงจะเป็น โรคโลหิตจาง หรือไม่