svasdssvasds

กราฟฟิตี้ นิทรรศการศิลปะนอกกรอบของศิลปินนอกคอกผู้ล่วงลับ: Crossing Line

กราฟฟิตี้ นิทรรศการศิลปะนอกกรอบของศิลปินนอกคอกผู้ล่วงลับ: Crossing Line

นิทรรศการศิลปะ ผลงานร่วมของ 2 ศิลปิน Keith Haring & Jean-Michel Basquiat Crossing Line : Virtual Exhibition กับงาน กราฟฟิตี้ เพื่อเรียกร้องสิทธิ การแสดงออกซึ่งความเกรี้ยวกราด การวิพากษ์วิจารณ์ และการสะท้อนสังคม

กราฟฟิตี้  นิทรรศการศิลปะ นอกกรอบ

นิทรรศการศิลปะที่แสดงผลงานที่ถูกเรียกว่า นอกคอก นอกกฎหมาย นอกสถาบัน และนอกวงการศิลปะ ที่เกิดจากการขีดเขียนหรือการขูดขีดไปบนผนัง มักปรากฎบนพื้นที่สาธารณะ โดยไม่ได้รับอนุญาต กราฟฟิตี้ ไม่ใช่แค่เพียงการพ่นสีตามการพ่นสีตามกำแพง หากเป็นวิวัฒนาการของศิลปะที่เกิดจากการเรียกร้องสิทธิ การวิพากษ์วิจารณ์และการสะท้อนสังคม รวมไปถึง การปลดปล่อยทางอารมณ์ของผู้สร้างสรรค์ผลงาน เปรียบได้กับสัญลักษณ์ของความเป็น ขบถ

อีกมุมหนึ่ง งานศิลปะประเภทนี้ ไม่ต่างอะไรกับการแสดงออกของผู้ไร้อำนาจ ไม่มีปากมีเสียงในสังคม และเป็นการท้าทายอำนาจรัฐในอีกรูปแบบหนึ่ง การแสดงออกซึ่งความเกรี้ยวกราดผ่านสีสเปรย์ ภาพผู้คน หรือตัวอักษรที่ขีดเขียนขึ้นตามความรู้สึก หรือเหตุการณ์บางอย่างในแต่ละช่วงเวลาที่สังคมได้พบเจอ ณ ขณะนั้น บางครั้งผลงานเหล่านั้นนุ่มนวลแต่แฝงไปด้วยนัยยะต่างๆ การเสียดสี ประชดประชัน หรืออาจไม่มีคำตอบเลยก็ตาม

นิทรรศการร่วม 2 ศิลปิน

นิทรรศการร่วม 2 ศิลปิน Keith Haring และ Jean - Michel Basquiat Crossing Line : Virtual Exhibition ถูกนำมาจัดแสดงร่วมกัน แม้ทั้งสองจะมีสไตล์งานที่แตกต่างกัน แต่การแสดงออกของผลงานนั้น ออกมาจากห้วงอารมณ์ที่อยู่ภายในของผู้สร้างผลงาน ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกซึ่งตัวตนและรสนิยมทางเพศของแฮร์ริ่ง หรือ การเรียกร้องสิทธิของบาสเกีย

Introduction : Both Artis ทางเข้าสีขาวเรียบง่าย ช่วงแรก จะเป็นกระบวนการขณะกำลังการสร้างงานบนกำแพงของบาสเกียและแฮรริ่ง เดินเข้าไปอีกนิดจะเป็นผนังสีขาวที่มีงานกราฟฟิตี้ของศิลปินทั้งสองที่สร้างขึ้นในช่วงแรกๆของการเป็นศิลปิน แสดงอยู่ สังเกตุจุดวงกลมแดง เมื่อคลิ้กเข้าไปจะขึ้นคำบรรยายของงานชิ้นนั้นๆ

ภายใน นิทรรศการศิลปะ เต็มไปด้วยงานของบาสเกียและคีท ในขณะที่เรากำลังเดินเข้าไปด้วยสายตา ไม่น่าเชื่อว่าเพียงช่วงเวลาแสนสั้นบนโลกนี้ ทั้งสองได้สร้างผลงานกราฟฟิตี้ไว้มากมายมหาศาล ส่วนจัดแสดงเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ไม่นับภายนอกอันเป็นสถานที่สาธารณะที่ทั้งสอง แอบบุกรุกไปสร้างงานไว้อีกนับร้อยนับพันชิ้น หากได้เห็นของจริงสัมผัสงานด้วยสายตาจริงๆ คงมีความสุขไม่น้อย สำหรับผู้ที่ชื่นชอบงานศิลปะประเภทนี้

ส่วนที่ทำให้ตื่นตาตื่นใจมากที่สุด เป็นห้องจัดแสดงวัตถุที่บาสเกียและแฮร์ริ่ง ขีดเขียนผลงานลงไปในวัตถุเหล่านั้น มีจอวีดีโออาร์ตขนาดใหญ่ฉายภาพของบาสเกียและแฮร์ริ่งขณะที่ทั้งสองมีชีวิตอยู่ และการแสดง Perfomance Art ที่มี มาดอนน่า และ เดวิด โบวี่ ศิลปินนักร้องระดับตำนาน สวมใส่เครื่องประดับที่แฮร์ริ่งออกแบบขณะกำลังขึ้นแสดงอยู่ด้วย

เป็นนิทรรศการที่ทำให้การกดคอมพ์ไม่น่าเบื่อจนเกินไปนัก ในวันที่พิพิธภัณฑ์ต่างๆยังไม่เปิดเต็มตัว แต่ก็ทำให้ได้รู้ว่าความคิดถึงการออกไปข้างนอกและการเสพสุนทรียะจากศิลปะและแวดล้อม ยังคงสำคัญกับชีวิต ซึ่งจะเป็นแรงบันดาลใจต่อไป

Keith Haring

คีท แฮริ่ง Keith Haring นัก Doodle ที่ใช้ชอล์กวาดงานในสถานีรถไฟใต้ดิน และกลายเป็นศิลปิน กราฟฟิตี้ สตรีทแห่งเมืองนิวยอร์กที่ ผลงานส่วนใหญ่ของเขามักจะพาดพิงองค์ประกอบของสังคม ไม่ว่าจะเป็น เซ็กส์ ความรัก ความรุนแรง กระทั่งการเมือง เมื่อจำนวนมากขึ้นและรูปแบบของงานที่หลากหลายมากขึ้น ผลงานของเขาจึงเป็นที่สนใจในวงสังคมอย่างมากในช่วงยุค 1980s

[caption id="attachment_665522" align="alignleft" width="2792"] Keith-Haring Keith Haring (1958-1990)[/caption]

 

 

 

 

 

 

 

 

สัญลักษณ์ที่เราคุ้นตาของคีท คือ The Radiant Baby และเป็นจุดเริ่มต้นที่นำพาเขาไปยังงานศิลปะระดับโลกในเวลาต่อมา

[caption id="attachment_665483" align="alignnone" width="945"] กราฟฟิตี้ นิทรรศการศิลปะนอกกรอบของศิลปินนอกคอกผู้ล่วงลับ: Crossing Line The Radiant Baby 1990[/caption]

Jean-Michel Basquiat

ฌอง-มิเชล บาสเกีย Jean-Michel Basquiat ศิลปินชาวอเมริกันเชื้อสายเฮติและเปอร์โตริโก ผู้ปลุกกระแสศิลปะ กราฟฟิตี้ และเพลงฮิปฮอป มีชีวิตจัดเต็มในทุกด้าน เคยเป็นแฟนกับราชินีเพลงป็อปอย่างมาดอนนา เริ่มทำงานกราฟฟิตี้ในย่านบรองซ์ร่วมกับเพื่อนในนาม SAMO© (เป็นตัวย่อของคำว่า “same old shit”) ที่วิพากษ์วิจารณ์สังคมอย่างแสบสันผ่านผลงานของเขา

ศิลปะของบาสเกีย ส่วนใหญ่ จิกกัดการเมืองและปัญหาสังคม ไม่ว่าจะเป็นความยากจน การแบ่งแยก การเหยียดเผ่าพันธ์ุและชนชั้น

[caption id="attachment_665521" align="alignnone" width="4000"] Keith-Haring Jean-Michel-Basquiat (1960-1988)[/caption]

ทั้งสอง คือศิลปินที่ถูกยี่ห้อเสื้อผ้าชื่อดังสัญชาติญี่ปุ่น ซื้อลิขสิทธิ์ผลงานเพื่อผลิตออกสู่อุตสาหกรรมเสื้อผ้าและแฟชั่น ยิ่งเป็นการสร้างความรู้จักในวงกว้างที่เข้าถึงทุกผู้คน ที่อาจมองแค่มันสวยดี แต่ก็เป็นเรื่องดี ที่กราฟฟิตี้เข้าไปอยู่ในวิถีชีวิตของผู้คนโดยไม่รู้ตัว แม้ว่าทั้งสองศิลปิน จะไม่อยู่บนโลกนี้แล้วก็ตาม

2020 ช่วงเวลาที่มีโรคระบาด และเกิดการปิดพื้นที่และการเดินทาง พิพิธภัณฑ์หลายแห่งบนโลกต่างต้องปรับตัวและยังคงอัพเดตกิจกรรมเสมอ โดยผ่านเทคโนโลยี Virtual Tour ซึ่งสามารถพาชมงานของศิลปิน และเลือกจุดที่สนใจ ตามแปลนของนิทรรศการได้ ทั้งในมุมสูง หรือเลือกเดินเข้าไปในห้อง ทีละจุดของงานแสดงได้เสมือนจริง

 

KEITH HARING | JEAN-MICHEL BASQUIAT: CROSSING LINES

Matterport 3D Showcase

//cdn.embedly.com/widgets/platform.js

ที่มา : my.matterport.com, haring.com, basquiat.com

related